วิธีการให้กำลังใจตัวเองในการทำงาน
บทความโดย: ดร.สมสิทธิ์ มีแสงนิล นิตยสารงานวันนี้ ภาพจาก: sanook.com
คุณรู้หรือไม่ครับว่าความเคร่งเครียดจะนำมาสู่การมีทัศนคติแง่ลบกับงานที่คุณทำ ไม่ว่าคุณเจออุปสรรค์เล็กหรือใหญ่ คุณก็จะมองว่ามันใหญ่โต เกินกว่าที่คุณจะรับมือได้ สุดท้ายคุณก็จะเป็นฝ่ายพ่ายแพ้ไปในที่สุด จริง ๆ แล้วหากเรามองให้ดี ๆ จะพบว่า อะไรกันแน่ที่เป็นสาเหตุที่ทำให้เราพบความล้มเหลว ตัวเราเอง หรือคนอื่น หรือสภาพแวดล้อมอื่น ในวันนี้ ผมอยากบอกท่านผู้อ่านทุกท่านว่า ไม่มีอะไรที่จะมาทำร้ายเราได้ นอกจากเราจะทำร้ายตัวเราเอง ดังนั้น ก่อนที่เราจะแก้ปัญหาความเคร่งเครียดด้วยสาเหตุอื่น ๆ เรามาปรับทัศนคติให้ดีขึ้นกันดีกว่านะครับ เรามาดูกันครับว่ามีอะไรบ้าง 1. ไม่เป็นไร ผิดพลาดกันได้ ไม่ใช่เรื่องใหญ่ คุณทำงานผิดพลาดแล้วยังจะมานั่งโทษตัวเองให้เหนื่อยทำไมให้กำลังใจตัวเองเพื่อทำงานชิ้นต่อไปดีกว่านะครับ ยิ่งมัวจมกับความผิดพลาดเดิม ๆ เราก็จะทำงานอื่นต่อไม่ได้ สู้เอาความผิดพลาดมาทำให้ถูกต้องในงานชิ้นใหม่ดีกว่า สัจธรรมของชีวิตที่ต้องจำไว้อย่างหนึ่งคือ ไม่มีใครจำเรื่องของคนอื่นนานหรอก ถึงใครจะว่าเรามากมายแค่ไหน แต่พอเดินพ้นหน้าเราไปเขาก็ต้องคิดเรื่องอื่นแทน แล้วเราจะมาลงโทษตัวเองอยู่ทำไม 2. งานไม่ได้หนักทุกวันสักหน่อย เดี๋ยวก็ได้พักแล้ว เวลางานล้นมือเราอาจท้อ แต่ท้อไปงานก็ไม่เสร็จลุกมาทุ่มเททำให้เสร็จ ๆ ไปดีกว่า เหนื่อยแค่ไหนเดี๋ยวก็ได้พักและสิ่งที่ต้องทำเมื่องานเยอะคือ จัดระเบียบเส้นตายของงานแต่ละชิ้น เจรจาต่อรองถ้าคิดว่าจะไม่เสร็จตรงเวลา แล้วค่อย ๆ ทำไปทีละงาน เดี๋ยวดีเองครับ 3. ถึงจะไม่เก่งงานนี้ แต่เราก็พยายามเต็มที่แล้ว บ่อยครั้งที่เราได้รับมอบหมายงานที่ไม่ถนัด ก็คิดเสียว่าไม่เป็นไร ทำให้เต็มที่ แต่ก่อนทำก็บอกคนที่มอบหมายหน่อยว่าไม่ค่อยถนัดนะ แต่จะทำเต็มที่ ผิดพลาดอะไรบอกได้ เขาจะได้ไม่คาดหวังมาก แต่ถ้าทำออกมาแล้วดีก็ถือเป็นกำไร อย่าเสียใจที่ทำงานบางประเภทไม่เก่ง เพราะเราอาจจะเก่งในงานประเภทอื่นก็ได้ จำไว้ว่าปลาอาจจะว่ายน้ำเก่งกว่าลูกสุนัข แต่ปลาวิ่งไม่ได้เหมือนกันถ้าปลาตัวหนึ่งจะโดดขึ้นมาบนบกแล้วคืบคลานจนถลอกปอกเปิกก็คงไม่มีใครว่าอะไร เพราะมันเป็นปลาจริงไหมคะ 4. ใครจะว่าอะไรก็ช่าง ถ้าเราไม่ได้เป็นอย่างนั้นก็พอแล้ว เคยได้ยินคนพูดเรื่องการติดฉลากไหม การติดฉลากคือการประทับตราว่าสิ่งนั้นเป็นอะไร เพื่อให้ง่ายต่อการจัดประเภท ทีนี้ปัญหาอยู่ที่ว่าถ้าติดฉลากถูกก็ดีไป แต่ถ้าเมื่อไรติดฉลากผิด สิ่งนั้นจะไม่ใช่สิ่งที่เป็นตามฉลากก็เท่านั้น ในหลักการเดียวกัน ถ้าใครมาว่าคุณสารพัดเรื่อง แต่ถ้าคุณไม่ได้เป็นอย่างเขาบอกก็ไม่เห็นจะต้องคิดมากกับฉลากที่เขาเอามาติดไว้ ถ้าคุณเป็นน้ำตาล แล้วเขาเอาฉลากน้ำปลามาติดให้ก็ไม่ใช่ปัญหาของคุณ เขาเองต่างหากที่คิดผิด 5. ให้เกียรติงานที่ทำด้วยการทุ่มเททำงานอย่างเต็มที่ อย่าบ่นว่าไม่ชอบงาน นึกถึงกระเป๋ารถเมล์ที่ยิ้มแย้มแจ่มใสสิครับ แล้วเปรียบเทียบกับเราที่นั่งบ่นอยู่นั่นแล้วว่าเหนื่อย ไม่สนุกถามว่างานหรือเปล่าที่ทำให้เราทุกข์ จริง ๆ แล้ว เราต่างหากที่ทำให้ตัวเองเป็นทุกข์ เพราะนั่งพร่ำบ่นกับสิ่งที่ไม่ได้ดั่งใจ ถ้าใครได้ทำงานที่ชอบก็ดีไป แต่อย่าลืมว่างานที่ชอบก็มีด้านที่ทำให้เราเหนื่อยได้เหมือนกัน ใช่ว่าหนทางการทำงานจะปูด้วยกลีบกุหลาบเสมอไป สิ่งที่เราควรคิดคือ งานคือสิ่งที่ทำให้เราใช้ชีวิตอย่างคุ้มค่า อย่าดูถูกงานของตัวเอง ไม่เช่นนั้นเราก็ดูถูกตัวเองด้วยที่เลือกทำงานนั้น อย่าลืมว่าเราต่างหากที่เป็นคนเลือกที่จะทำหรือไม่ทำ ดังนั้นทำงานที่เราเลือกในเวลานั้น ๆ
การบริหารกล้ามเนื้อตาแบบง่ายๆ การบริหารกล้ามเนื้อตา เป็นการออกกำลังกล้ามเนื้อตา เพื่อช่วยลดความตึงเครียดของดวงตา อาการเพลียตา หรือปวดตา เนื่องจากการใช้สายตามาก โดยมีวิธีปฏิบัติดังนี้ | กรอกตาขึ้น-ลงช้าๆ 6 ครั้ง : โดยเหลือบตาขึ้นสูงสุดและลงต่ำสุด ในระหว่างการบริหารอย่างเกร็งลูกตา | | กลอกตาไปข้างขวาและซ้ายสลับกัน : โดยกลอกตาไปให้ขวาสุด และซ้ายสุด ทำซ้ำ 2 - 3 ครั้ง | | ชูนิ้วชี้ขึ้นมาให้อยู่ในระดับสายตา : ห่าง จากสายตาประมาณ 8 นิ้ว แล้วจองมองไปที่ระยะไกลๆ ประมาณ 10 ฟุต สลับกับใช้ตามองระยะใกล้ที่นิ้วมือ ใช้เวลามองแต่ละที่ประมาณ 2 - 3 วินาที ทำสลับไปมาเช่นนี้ประมาณ 10 ครั้ง แล้วหยุดพัก 1 วินาที ทำประมาณ 2 - 3 รอบ | | กลอกตาเป็นวงกลมช้าๆ : โดยเริ่มกลอกตาตามเข้มนาฬิกาก่อน แล้วกลอกตาทวนเข็มนาฬิกา ทำประมาณ 10 ครั้ง แล้วหยุดพัก 1 วินาที ทำประมาณ 2 - 3 รอบ
| | |
|
|