เปิดภาพความเสียหาย ไฟไหม้ภูกระดึง กว่า 3400 ไร่

guest profile image guest

จากกรณีเกิดเหตุไฟไหม้ป่าที่อุทยานแห่งชาติภูกระดึง โดยไฟลุกไหม้บริเวณหลังแป โดยไหม้จากขอบหน้าผาเข้ามายังที่ทำการวังกวาง เหลืออีกเพียงประมาณ 1 กิโลเมตร จะเข้าที่ทำการ และยังลุกลามไปเกือบถึงลานพระพุทธเมตตาบนยอดภูกระดึง เหตุเกิดเมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา เจ้าหน้าที่ กว่า 100 คน ช่วยกันดับจนถึงเวลาตี 2 ของอีกวันไฟป่าจึงสงบ และเฝ้าระวังการปะทุไฟขึ้นอีก ทำให้การสูญเสียผืนป่า 3400 กว่าไร่ หนักสุดในรอบ 17 ปีตามที่เสนอข่าวไปนั้น

ความคืบหน้า เมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ นายชัยวัฒน์ ชื่นโกสุม ผู้ว่าราชการจังหวัดเลย นายสมบัติ พิมพ์ประสิทธิ์ หัวหน้าอุทยานแห่งชาติภูกระดึง หลังร่วมกันประชุมมีข้อตกในเรื่องการป้องกันไฟป่า และแนวการการฟื้นฟูป่าบนอุทยานภูกระดึง โดยทำหนังสือถึง กองทัพบกของความอนุเคราะห์นำเครื่องบินขนรถแทรกเตอร์จำนวน 2 คัน ขึ้นภูกระดึง เพื่อนำไปทำแนวกันไฟ และในส่วนการฟื้นฟูให้เป็นเรื่องของธรรมชาติที่จะฟื้นฟูตัวมันเอง

นายชัยวัฒน์ ชื่นโกสุม ผู้ว่าราชการจังหวัดเลย เปิดเผยว่า ขณะนี้เจ้าหน้าที่ควบคุมเพลิงไว้หมดแล้ว แต่ที่จะต้องดูแลคือแนวดำหรือแนวไฟที่ไหม้ไปแล้ว อย่าให้เกิดการปะทุขึ้นมาอีก ส่วนในระยะต่อไปควรจะมีเครื่องไม้เครื่องมือมาช่วย เรามีบทเรียนแล้วว่า 24 ชั่วโมง เราใช้แรงงานคนแทบไม่ได้นอนกัน จึงคิดการมีเครื่องจักรใช้เป็นเรื่องสำคัญ โดยวางแผนอยากได้รถแทรกเตอร์ประมาณ 2 คัน นำขึ้นข้างบนและรถปิคอัพอีก 1 คัน เพื่อเวลาลาดตระเวนและส่งกำลังบำรุง และน้ำมันอีก 5000 ลิตร

ทั้งนี้ ในเรื่องนี้ทางปลัดกระทรวงมหาดไทย แนะนำว่าให้ประสานกับทางกองทัพบก ทางกองทัพบกก็ระบุมาว่า น่าจะใช้เครื่องบินรุ่น MI 17 โดยทางกองทัพให้ถ่ายรูป เครื่องจักรที่เรามีอยู่ พร้อมสเปคและน้ำหนักไปให้ เพื่อจะไปวิเคราะห์ที่จะนำเครื่องมือที่จะลำเลียงขนขึ้นไปข้างบน เรื่องเหล่านี้เป็นการร้องขอ ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องจำเป็น ถ้าได้เครื่องมือเหล่านี้ ขึ้นไปเจ้าหน้าที่จะทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

ด้าน นายสมบัติ พิมพ์ประสิทธิ์ หัวหน้าที่อุทยานแห่งชาติภูกระดึง กล่าวว่า แต่เดิมป่าที่ถูกไฟไหม้ในรอบนี้เป็นทุ่งหญ้าตอนหลังมากันไฟ ทำให้ต้นสนขึ้นเป็นจำนวนมาก แต่ยังมีขนาดต้นยังเล็ก สรุปความเสียหายครั้งนี้พอสมควร แต่ในอนาคตการฟื้นฟูส่วนตัวเห็นว่าน่าจะให้ทำธรรมชาติดูแลตนเอง เราต้องไม่ปลูกเสริมอะไรในพื้นที่ จะให้เกิดเป็นสภาพของทุ่งหญ้า ซึ่งทุ่งหญ้าเองมีความสำคัญในเรื่องของสัตว์ป่าที่จะออกมาหากิน

ส่วนในเรื่องของสัตว์ป่าที่ได้รับผลกระทบกับไฟฟ่าครั้งนี้ ขณะนี้เรายังไม่ได้เข้าไปสำรวจในพื้นที่ด้านใน เราดูแต่รอบนอกแต่เรายังไม่พบซากสัตว์ป่าแต่อย่างใด แต่ก็คงน่าจะมีบ้างสัตว์ที่วิ่งออกมาทันอาจมีตายบ้าง แต่ส่วนใหญ่จะออกมาทัน เพราะว่ายังมีป่าที่อยู่ข้างๆ กัน

ในส่วนของนักท่องเที่ยวยังคงเปิดบริการเหมือนเดิม แต่ถ้าไม่ใช่เสาร์หรืออาทิตย์ ก็จะมีนักท่องเที่ยวไม่ถึง 100 คนต่อวัน แต่ขณะนี้ปัญหาในเรื่องของภัยแล้ง น้ำดื่ม น้ำใช้ ด้านบนเริ่มมีปัญหาแล้ว แต่คิดว่าน่าพ้นผ่านฤดูการท่องเที่ยวปีนี้ไปได้

ขอบคุณเนื้อหา และสามารถติดตามเพิ่มเติมได้ที่: https://www.siamnews.com
ความคิดเห็น

ประกาศล่าสุดในบอร์ดเดียวกัน

4 ปีที่ผ่านมา
4 ปีที่ผ่านมา