ใครบ้างที่มีโอกาสเสี่ยงเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ ปัจจุบันพบภาวะนี้อยู่ในผู้มีอายุน้อยลงเรื่อย ๆ อาจเป็นเพราะสถานการณ์ทุกวันนี้มีความเครียดสูง มีการแข่งขันกันมาก การเร่งรีบ พฤติกรรมการบริโภคที่เปลี่ยนไป ส่งผลเร่งให้เกิดความเสื่อมของหลอดเลือดแดงเร็วขึ้น จึงไม่แปลกเลยที่พบเห็นผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจตายฉับพลันในอายุ 30 ปีกว่า ๆ มากขึ้น บางคนมี Heart Attack เสียชีวิตระหว่างขับรถในขณะที่อายุ 48-49 ปีเท่านั้น ปัจจัยเสี่ยงของอาการหลอดเลือดหัวใจตีบ หรืออาการเตือนเส้นเลือดหัวใจตีบ
ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ และอาการเตือนเส้นเลือดหัวใจตีบที่ควรรู้ ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ มีทั้งปัจจัยเสี่ยงที่ควบคุมไม่ได้ เช่น เพศ อายุ เชื้อชาติ และพันธุกรรม โดยมักจะเกิดในกลุ่มผู้สูงอายุ โดยเฉพาะเพศชาย แต่หากเพศหญิงหมดประจำเดือนก็มีโอกาสเสี่ยงที่จะเป็นโรคเช่นกัน แล้วถ้ายิ่งสมาชิกในครอบครัวมีประวัติการป่วยที่เกี่ยวข้องกับโรคนี้มาก่อน ก็ยิ่งเพิ่มโอกาสเสี่ยงมากขึ้น
ส่วนปัจจัยเสี่ยงที่สามารถควบคุมได้ มักเป็นปัจจัยเสี่ยงเกิดจากพฤติกรรมของตนเอง ซึ่งโรคหลอดเลือดหัวใจตีบจะเกิดขึ้นเมื่อมีอาการและพฤติกรรม ดังต่อไปนี้
- มีภาวะอ้วนหรือน้ำหนักเกิน
- เป็นโรคเบาหวาน
- มีความดันโลหิตสูง
- มีภาวะไขมันในเลือดผิดปกติ
- มีความเครียดสะสม
- ไม่ค่อยออกกำลังกาย
- ไม่ค่อยกินผักและผลไม้
- สูบบุหรี่จัด
ซึ่งอาการเตือนเส้นเลือดหัวใจตีบเหล่านี้สามารถลดปัจจัยเสี่ยงได้ เพียงแค่เราปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตให้ดีขึ้น อาการปวด แน่น จุกเสียดหน้าอก หายใจไม่สะดวก มึนศีรษะหรืออาการแขนขาอ่อนแรง ลิ้นชา พูดไม่ชัด ตามัว กลืนอาหารลำบาก หรือเดินเซเหมือนคนเมาเหล้า จึงค่อยๆ ทุเลาลง หรืออาจหายไปได้ในที่สุด รู้จักโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ ปัจจัยเสี่ยง อาการ วิธีบำบัดของการแพทย์จีน