“จัมพ์แบต”เรื่องง่ายๆที่ทำ(ไม่)ยาก

uttaradit profile image uttaradit
“จัมพ์แบต”เรื่องง่ายๆที่ทำ(ไม่)ยาก

เวลาขับรถบนท้องถนน ความปลอดภัยในการเดินทางเป็นสิ่งสำคัญมากที่สุด แต่บ่อยครั้งก็มักเกิดปัญหาไม่คาดคิดโดยเฉพาะปัญหาแบตเตอรี่หมด ที่ทำให้ระบบเครื่องยนต์หยุดชะงัก และเป็นปัญหาที่ต้องรีบแก้ไขเฉพาะหน้า ด้วยวิธีการต่อสายพ่วงแบตเตอรี่ หรือที่เรียกกันติดปากว่า “จัมพ์แบตเตอรี่” เพื่อให้เกิดกำลังไฟเพียงพอที่จะทำให้ระบบต่างๆ ของเครื่องยนต์ทำงาน และสามารถเดินรถต่อไปได้ในช่วงระยะเวลาสั้นๆ

            นายประกาสิทธิ์ พรประภา กรรมการ บริษัท สยามยีเอส แบตเตอรี่ จำกัด และบริษัท สยามยีเอสเซลส์ จำกัด ผู้ผลิตและผู้จัดจำหน่ายแบตเตอรี่สำหรับยานยนต์ ภายใต้แบรนด์ “GS แบตเตอรี่” ให้คำแนะนำว่าปัญหาของแบตเตอรี่หมดระหว่างการขับรถบนท้องถนนอาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ ทั้งสายต่อไดชาร์จหลวม น้ำกลั่นหมด แบตเตอรี่เสื่อมสภาพ หรือกำลังไฟของแบตเตอรี่มีไม่เพียงพอ การจัมพ์แบตเตอรี่เป็นวิธีการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า โดยจะต้องมีสายพ่วงแบตเตอรี่เป็นอุปกรณ์เสริม และต่อสายพ่วงกับรถยนต์อีกคันหนึ่งในการชาร์จไฟ เพื่อให้ระบบได้ทำงาน หลังจากนั้นจึงนำรถยนต์ไปเปลี่ยนแบตเตอรี่ และเช็คสภาพความพร้อมของเครื่องยนต์จากช่างผู้เชี่ยวชาญอีกครั้งหนึ่ง

       “การจัมพ์แบตเตอรี่สามารถทำได้เอง แต่ต้องระมัดระวัง เพราะแบตเตอรี่ มีส่วนประกอบหลัก คือ น้ำกรดที่มีคุณสมบัติเป็นตัวการกัดกร่อนพื้นผิว ซึ่งขณะที่แบตเตอรี่กำลังทำงานจะเกิดก๊าซไฮโดรเจนสะสมในตัวแบตเตอรี่ จึงควรระวังในเรื่องประกายไฟ เพราะอาจเกิดอันตรายระหว่างจัมพ์แบตเตอรี่ได้”
       
       **วิธีการ ‘จัมพ์แบตเตอรี่’**
       
       เมื่อแบตเตอรี่หมดให้ปิดสวิตช์กุญแจและอุปกรณ์ไฟฟ้าทั้งหมดของรถและขอความช่วยเหลือจากรถยนต์ที่มีแบตเตอรี่ เพื่อต่อสายพ่วงแบตเตอรี่ นำหัวสายพ่วงของสายพ่วงสีแดงซึ่งเป็นสายขั้วบวกมาต่อกับขั้วบวก (+) ของรถยนต์ที่แบตเตอรี่หมด หลังจากนั้นนำหัวต่ออีกข้างต่อเข้ากับขั้วบวก (+) ของแบตเตอรี่รถยนต์อีกคัน นำหัวสายพ่วงของสายพ่วงสีเขียวหรือสีดำซึ่งเป็นสายขั้วลบมาต่อกับขั้วลบ (-) ของแบตเตอรี่รถยนต์อีกคัน ควรตรวจเช็คให้แน่ใจว่าสายพ่วงต่อแน่นหนา

            ต่อจากนั้นนำสายหัวต่อที่เหลือต่อเข้ากับส่วนที่เป็นโลหะของเครื่องยนต์หรือตัวถังรถยนต์ของรถยนต์ที่แบตเตอรี่หมด โดยควรต่อให้ห่างจากแบตเตอรี่มากที่สุด จากนั้นสตาร์ทเครื่องยนต์คันที่แบตเตอรี่มีไฟ ทิ้งไว้ประมาณ 3 นาที แล้วเร่งเครื่องยนต์เล็กน้อยเพื่อให้แบตเตอรี่มีการไหลเวียนของประจุไฟฟ้า หลังจากนั้น เริ่มสตาร์ทเครื่องยนต์คันที่แบตเตอรี่หมด จากนั้นเร่งเครื่องยนต์ประมาณ 1,500 - 2,000 รอบ/นาที เพื่อเช็คดูว่าประจุไฟเข้าหลังจากการชาร์จหรือไม่ ซึ่งถ้าเครื่องยนต์ไม่ดับแสดงว่าการชาร์จไฟเข้าแบตเตอรี่สำเร็จ
       
       จากนั้นถอดสายพ่วงสีเขียว หรือสายขั้วลบ (-) ออกจากตัวถังรถคันที่แบตเตอรี่หมด และตามด้วยหัวต่อขั้วลบของแบตเตอรี่ที่มีไฟ จากนั้นจึงถอดสายสีแดงหรือสายขั้วบวก (+) จากรถคันที่แบตเตอรี่หมด และถอดหัวสายพ่วงจากแบตเตอรี่ที่มีไฟ ปิดฝาช่องเติมน้ำกลั่นให้ครบทุกช่องและควรสตาร์ทเครื่องยนต์ทิ้งไว้ประมาณ 30 นาที หรือขับรถไปเข้าศูนย์บริการเพื่อตรวจเช็คเครื่องยนต์และเปลี่ยนแบตเตอรี่ใหม่

            **ปลอดภัยเวลา “จัมพ์แบตเตอรี่”**
       

       - ไม่สตาร์ทเครื่องยนต์ระหว่างต่อสายพ่วงแบตเตอรี่
       - เวลาต่อสายพ่วงแบตเตอรี่ อย่าสูบบุหรี่หรือทำสิ่งใดๆ และระวังอย่าให้สายพ่วงแบตเตอรี่สัมผัสกัน เพราะอาจทำให้เกิดประกายไฟได้
       - ทำความสะอาดขั้วแบตเตอรี่ทั้งขั้วบวกและขั้วลบ โดยใช้น้ำร้อนราดที่ขั้วแบตเตอรี่ทั้ง 2 ขั้ว เพื่อขจัดคราบเกลือที่เกาะติดอยู่
       - ตรวจเช็คกำลังไฟของแบตเตอรี่ก่อน เพราะแบตเตอรี่ขนาด 6 โวลต์ หรือ 24 โวตล์ ไม่สามารถนำมาพ่วงกับแบตเตอรี่ขนาด 12 โวลต์ได้ เพราะอาจทำให้แบตเตอรี่เกิดการระเบิดขึ้นได้
       - ตรวจเช็คสภาพแบตเตอรี่ก่อนทุกครั้ง โดยดูจากที่วัดของแบตเตอรี่ หรือใช้ที่วัดความถ่วงจำเพาะ(HYDROMETER) บริเวณด้านข้างของแบตเตอรี่ ซึ่งสามารถสังเกตได้ง่ายๆ เช่น สีเขียว = ประจุไฟฟ้าเต็ม สีน้ำตาลหรือสีดำ = ประจุไฟหมด สีเหลือง=แบตเตอรี่หมดอายุการใช้งาน

     


ขั้นตอนที่ 1 ต่อหัวสายพ่วงสีแดงเข้ากับขั้วบวกแบตเตอรี่ที่ไม่มีไฟ

 
ขั้นตอนที่ 2 ต่อหัวสายพ่วงสีแดงอีกด้านเข้ากับขั้วบวกแบตเตอรี่รถที่มีไฟ

 
ขั้นตอนที่ 3 ต่อหัวสายพ่วงสีดำหรือเขียวเข้ากับขั้วลบแบตเตอรี่ที่มีไฟ

 
ขั้นตอนที่ 4 ต่อหัวสายพ่วงสีดำหรือเขียวเข้ากับตัวถังรถคันที่แบตเตอรี่ที่ไม่มีไฟ

 
ขั้นตอนที่ 5 สตาร์ทเครื่องยนต์เริ่มจากรถที่แบตเตอรี่มีไฟก่อน

ที่มา : www.manager.co.th

“จัมพ์แบต”เรื่องง่ายๆที่ทำ(ไม่)ยาก

ความคิดเห็น

ประกาศล่าสุดในบอร์ดเดียวกัน

uttaradit Icon GPS ตามที่กรมการขนส่งกำหนด อ่าน 1,004 8 ปีที่ผ่านมา
8 ปีที่ผ่านมา
8 ปีที่ผ่านมา
8 ปีที่ผ่านมา
8 ปีที่ผ่านมา
8 ปีที่ผ่านมา
8 ปีที่ผ่านมา
8 ปีที่ผ่านมา
8 ปีที่ผ่านมา