เมื่อสภาวะการณ์เปลียนแปลงไป วิถึ การทำงาน นโยบาย การวางระบบ จุดเปลี่ยนแห่งการทำงาน พัฒนาองค์กร สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ และหน่วยบริการต้องมีการปรับเปลี่ยนองค์กรอย่างไร เพื่อที่จะทำให้องค์กรเหล่านี้ มั่นคงและยั่งยืน ต่อสนองต่อการดูแลสุขภาพประชาชน และคนในองค์กรให้มีความสุข ปัจจุบัน นโยบาย การเมือง เศษฐกิจ และกระแสการพัฒนา ระบบข้อมูลข่าวสาร ในช่วงที่เศรษฐกิจเข้าสู่ยุค VUCA BANI สังคมมีความเปราะบางและเกิดปัญหาความเชื่อมั่น ผันผวนในตลาดการเงิน ระบบเศรฐกิจทั่วโลก รวมทั้งในประเทศ การพัฒนาองค์กรเพื่อก้าวผ่าน วิกฤตินี้ให้ไม่ศูนย์เปล่าด้วยการปรับเปลี่ยนองค์กร Jack Welch, อดีต CEO ของ GE ได้กล่าวไว้ว่า “Change before you have to” มุมมอง คิด ว่าอะไรที่ต้องมีการปรับเปลี่ยนเป็นอันดันแรก เพื่อให้เกิดความยั่งยืนและทำให้องค์กรกลับมาแข็งแกร่ง 5 สิ่งที่ต้องออกแบบ “คิด” และ “มือทำ” เพื่อให้เกิดได้จริง เพื่อลด ช่องว่าง S.P.A.C.E. Structure การเปลี่ยนแปลงที่ดีต้องมีโครงสร้างที่รองรับกลยุทธ์ใหม่ โครงสร้างที่เปลี่ยนไปต้องทำงานร่วมกับสิ่งที่ต้องการจะเปลี่ยนท้้งโครงสร้างองค์กร ศักยภาพของหน่วยบริการ การพัฒนาขีดความสามารถที่ต้องการมีเป็นระดับพื้นฐาน การพัฒนาปรับเปลี่ยน จะทำให้เกิดแรงสั่นสะเทือนในทุกระดับ ตั้งแต่บนลงล่าง และล่างขึ้นบน เช่นการลดจำนวนผู้บริหารระดับสูง ลดความซ้ำซ้อนในการทำงานให้เป็น End-to-End People – การพัฒนาศักยภาพ บุคคล ให้ไปต่อในโครงสร้างใหม่ “choose who will be on your bus?” ไม่ใช่ทุกคนได้ไปต่อในความเร็ว และวิสัยทัศน์ใหม่ขององค์กร การเลือกคนที่ เข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนา องค์กร จึงมีความสำคัญ สิ่งที่ผู้นำต้องคำนึงคือ ความผิดพลาดที่คนส่วนใหญ่มี ก็คือการไม่ยอมเปลี่ยนมุมคิด เปลียนบุคคล ประเด็นคำถามที่ควรถามให้มาก ก็คือเราปรับโครงสร้างการทำงาน ให้เข้ากับคนบริบทที่มี หรือ หาคนมาทำให้โครงสร้างนั้นสมบูรณ์ ถ้าความเกรงใจทำให้คุณต้องแก้โครงสร้างให้คนที่มีทำงานได้ แปลว่าการเปลี่ยนแปลงนั้นไม่ดีพอนั่นเอง(หมายถึงไม่เปลี่ยนคน) Action Control - เมื่อปรับโครงสร้างและมีบุคคลากร ที่ใช่แล้ว การที่เรามี การทบทวนยุทธศาสตร์ องค์กรStrategic Review ทุกๆเดือนและไตรมาสจึงมีความสำคัญเพื่อให้คุณแน่ใจว่ากลยุทธ์ใหม่ทำงานได้ผลอย่างที่ตั้งใจไว้ ปรับแผนเมื่อไม่ได้ตามที่คาด การที่คุณมีข้อมูลและตัวเลขประเมินผลงานแบบตรงไปตรงมาจะทำให้เราเดินตามกลยุทธ์ องค์กรได้ผลสัมฤทธิ์ ตามที่ได้วางไว้ การตัดสินใจ การประเมิน ถอดบทเรียน จะตอบได้ว่าใช้ แต่ Sense ที่ทำตามกลยุทธ์ได้อย่างสม่ำเสมอจนเคยชินและเป็น Common Sense ได้นั่นเอง Culture – การสร้างวัฒนธรรมองค์กรจึงเป็นส่วนที่สำคัญไม่แพ้องค์ประกอบอื่น ถึงแม้น บางส่วนในองค์กร จะไม่มีการขับเคลื่อน ซีงหลายๆ องค์กร ก็พบได้เช่นกัน ไม่ใช่ แต่องค์การ หน่วยงานด้านสาธารณสุข เพราะการสร้างวัฒนธรรมที่ดีจะเป็นตัวขับเคลื่อนให้การเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นได้ และทำให้ บุคลากรทุกคนเดินไปในทิศทางเดียวกัน วัฒนธรรมที่เปิดกว้าง ให้อำนาจการตัดสินใจ และให้ความสำคัญกับการปรับตัวและการเรียนรู้ จะช่วยให้องค์กรสามารถยืดหยุ่นและรับมือกับการเปลี่ยนแปลงได้ดี Peter Drucker กล่าวว่า “Culture eats strategy for breakfast (lunch and dinner..:-))” คือ วัฒนธรรมขององค์กร จะกัดกร่อน ทำลายระบบทีม ทำลายกลยุทธ์ของ หน่วยงาน นั่นเอง Execution – การนำกลยุทธ์และแผนการเปลี่ยนแปลง ไปสู่การปฏิบัติอย่างเป็นระบบ แบบแผน มีประสิทธิภาพเป็นสิ่งสำคัญที่สุด ต้องมีการสื่อสารกระบวนการ ขั้นตอนที่ชัดเจน สร้างความมุ่งมั่น แบ่งปันทรัพยากรที่เพียงพอ มีประสิทธิภาพ ใช้งบประมาณ อย่างสมเหตุสมผล มีการติดตามและปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้การเปลี่ยนแปลงสามารถดำเนินไปได้อย่างราบรื่น มีส่วนร่วมและยั่งยืน “Execution is the only strategy that consumers see” แม้ว่ากลยุทธ์จะสวยหรู ก็ไร้ค่าเมื่อการลงมือทำให้เกิดขึ้นขององค์กรยังไม่ดีพอ! กระบวนการนำ 5 องค์ประกอบนี้ S.P.A.C.E. - โครงสร้าง (Structure), คน (People), ตรวจสอบการปฏิบัติ (Action Control), วัฒนธรรม (Culture), และการนำไปปฏิบัติ (Execution) - ไปปฏิบัติ องค์กรจะสามารถเปลี่ยนแปลงตัวเองให้มั่นคง ยั่งยืน และการมีส่วนร่วมของทุกคนในองค์กร .ภาสกร กิติศรีวรพันธุ์ นวก.สาธารณสุขชำนาญการ