อะไรคือสาเหตุที่ทำให้มุสลิมแตกแยก
ทั้งๆที่ อิสลามเรียกร้องให้มีเอกภาพ
ไม่มีผู้ใดปฏิเสธได้ว่า ขณะนี้ประเทศมุสลิมทุกประเทศขาดความสามัคคี อย่างไรก็ดีเหตุการดังกล่าวนี้เป็นเพียงขั้นตอนหนึ่งในประวัติศาสตร์ของชาติ มุสลิมทั้งหลาย และทุกประเทศก็เคยมีประสบการณ์ ถึงแนวทางที่ปรากฏในประวัติศาสตร์ของตนว่าไม่เป็นเรื่องถาวร บรรดาประเทศยุโรปครั้งหนึ่งเคยมีสภาพที่ไร้ความสามัคคี เป็นผลทำให้เกิดสงครามโลกถึงสองครั้งในศตวรรษที่ 20 ดังนั้นบรรดาประเทศมุสลิมจะสามารถขจัดปัญหาและข้อขัดแย้งของตนโดยการสร้าง ระบบที่มีการให้ความร่วมมืออย่างมีผล ทั้งนี้เพื่อสวัสดิการของสังคมมุสลิมทั้งปวง
ได้มีความพยายามอันต่อเนื่องในเรื่องดังกล่าว จนถึงขณะนี้แม้ผลลัพธ์ที่ปรากฏออกมานั้นยังมีน้อยก็ตาม ดังจะเห็นได้จากองค์การประชุมอิสลาม ซึ่งประเทศมุสลิมทุกประเทศเป็นสมาชิก อย่างไรก็ดียังเป็นไปได้ที่จะส่งเสริมและพัฒนาองค์การดังกล่าว ตลอดจนองค์การมุสลิมอื่นๆ ให้มีบทบาทยิ่งขึ้น เพื่อที่จะบรรลุขั้นตอนที่พัฒนาไปไกลในเรื่องของความร่วมมือระหว่างประเทศ มุสลิมด้วยกัน ดังนั้นหลักการและคำสั่งสอนต่างๆของอิสลามที่เกี่ยวกับเอกภาพความร่วมมือ ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ย่อมเป็นหลักประกันว่าความเพียรพยายามทั้งหลาย ที่จะให้เป็นไปตามนั้นย่อมจะบังเกิดผลในอนาคตอันใกล้
แหล่งกำเนิดหลักการของอิสลาม ซึ่งได้แก่คัมภีร์อัลกุรอานและซุนนะฮ์ของศาสดามุฮัมมัด เรียก ร้องให้มีการสามัคคีร่วมมือกัน มีเมตตาระหว่างกัน และเห็นอกเห็นใจผู้อื่น ในขณะเดียวกันก็ตักเตือนไม่ให้มีความแตกแยก ทะเลาะวิวาทกัน ซึ่งเรื่องดังกล่าวนั้นปรากฏในอัลกุรอาน ซูเราะฮ์ อาลาอิมรอน โองการที่ 103 ความว่า
"และพวกเจ้าจงยึดสายเชือกแห่งอัลลอฮ์โดยพร้อมกันทั้งหมดและจงอย่าแตกแยกกัน"
และในซูเราะฮ์ อัลอันฟาล โองการที่ 10 ความว่า
"และจงเชื่อฟังอัลลอฮ์ และเราะซูลของพระองค์เถิด และอย่าขัดแย้งกัน จะทำให้พวกเจ้าย่อท้อ และความเข้มแข็งของพวกเจ้าหมดไป และจงอดทนเถิด แท้จริงอัลลอฮ์นั้นทรงร่วมอยู่กับผู้ที่อดทนทั้งหลาย"
อิสลามเรียกร้องให้มีความเห็นใจผู้อื่น และบรรเทาความเจ็บปวดของผู้อื่นด้วย โดยกล่าวว่า ประชาชาติอิสลามทั้งหมดนั้นเสมือนเรือนร่างเดียวกัน โดยศาสดาได้กล่าวว่า
"หากส่วนหนึ่งของร่างกายได้รับความเจ็บป่วยหรือไม่สบาย ส่วนอื่นๆของร่างกายก็จะมีปฏิกิริยาให้เห็นใจ โดยการเป็นไข้ และไม่สามารถนอนหลับ"
อิสลามเห็นว่า มุสลิมทุกคนเป็นพี่น้องกัน ดังปรากฏหลักฐานใน อัลกุรอาน ซูเราะฮ์ อัลหุจรอจญ์ โองการที่ 10 ความว่า
"แท้จริงบรรดาผู้
ครั้งเมื่อศาสดาอพยพมาจากมักกะฮ์ ไปยังมะดีนะฮ์นั้น ผู้ที่ร่วมเดินทางอพยพพร้อมกับศาสดา และชาวเมืองมะดีนะฮ์ที่ให้แหล่งพักพิงนั้น มีความรักใคร่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน โดยมีความหวังและความเศร้าร่วมกัน เรื่องดังกล่าวได้ปรากฏในอัลกุรอาน และฮะดิษหลายตอนด้วยกัน
มีปัจจัยภายนอกหลายประการที่อยู่นอกขอบเขตของประเทศในปัจจุบัน ได้นำไปสู่กรณีพิพาทและความแตกแยกระหว่างประเทศมุสลิมด้วยกันเอง ปัจจัยต่างๆดังกล่าวนั้นมาจากสมัยที่ประเทศมุสลิมได้ถูกปกครองโดยนักล่าอณา นิคมตะวันตก และแม้ว่าการยึดครองประเทศเหล่านั้น จะหมดสิ้นไปแล้วก็ตาม แต่ปัญหาต่างๆยังเกิดขึ้น เช่น ปัญหาเขตแดนระหว่างรัฐต่างๆ นโยบายที่นักล่าอณานิคมได้ใช้ในการปกครองคือ "แบ่งแยกการปกครอง"ซึ่งหลักการนี้ทำให้มีการแบ่งแยกเชื้อชาติหลายเผ่า หลายภาษาด้วยกัน ยิ่ง กว่านั้นนักล่าอณานิคมได้ขูดรีดและเอารัดเอาเปรียบประเทศที่ตนปกครองอยู่ ทำให้ประเทศเหล่านั้นยากจนและล้าหลัง ซึ่งผลดังกล่าวยังมีให้เห็นตราบเท่าทุกวันนี้ แท้จริงแล้วประเทศมุสลิมส่วนใหญ่ ซึ่งครั้งหนึ่งเคยตกเป็นเมืองขึ้น ยังต้องได้รับทุกข์จากผลของอณานิคม และการปกครองโดยต่างชาติ โดยปัญหาเหล่านั้นยังฝังลึกอยู่กระทั่งปัจจุบัน
ประเทศมุสลิมที่เคยตกเป็นเมืองขึ้นมาก่อนได้มุ่งที่จะแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับ การที่ต่างชาติมาปกครอง และได้ละเลยที่จะปฏิบัติตามหลักการของศาสนาอิสลาม ที่เรียกร้องและสนับสนุนให้มีเอกภาพและความร่วมมือ อย่างไรก็ดี ประเทศ มุสลิมยังคงใช้ความเพียรพยายามที่จะให้ประเทศมุสลิมทั้งหลายมีความผาสุข มุสลิมทุกคนไม่ว่าจะอยู่ในประเทศไหนก็ตาม ย่อมมีความเห็นอกเห็นใจพี่น้องมุสลิมที่ไม่ได้รับความเป็นธรรม หรือตกอยู่ในความทุกข์ ความรู้สึกเช่นนี้อาจจะนำไปสู่การจัดตั้งพื้น ฐานที่ส่งเสริมให้มีความสามัคคีประสานงานกัน และความร่วมมือระหว่างรัฐกับมุสลิมด้วยกัน ความเพียรพยายามร่วมกันในทางวัฒนธรรม เศรษฐศาสตร์การเมืองและความมั่นคง ตลอดจนการแลกเปลี่ยนผู้เชี่ยวชาญ สิ่งต่างๆเหล่านี้ย่อมจะเกิดประโยชน์แก่โลกมุสลิม ซึ่งจะช่วยให้ประเทศเหล่านั้นมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผลมากยิ่งขึ้นในอันที่จะมีบทบาทในทางบวก และสร้างสรรค์ในการสถาปนาหลักการแห่งสันติภาพและความมั่นคงของโลกต่อไป
ศาสตราจารย์ ดร. มะห์มูด ฮัมดี ซักซูก
د. محمود حمدي زقزوق