เงื่อนไขในการบริจาคอวัยวะ

guest profile image guest

เงื่อนไขในการบริจาคอวัยวะ

คำถาม 

อิสลามมีหลักการอย่างไรเกี่ยวกับการบริจาคอวัยวะให้กับผู้ที่มีความต้องการ  เมื่อเราได้เสียชีวิตไปแล้ว

บรรดาการสรรเสริญเป็นเอกสิทธิ์แด่พระองค์อัลลอฮฺ


คำตอบ


          จากคำตอบของคำถามหมายเลข 49711 นั้น ได้กล่าวถึงมุมมองของนักวิชาการที่อนุญาตให้ทำการบริจาคอวัยวะได้  ตราบใดที่การบริจาคอวัยวะนั้นไม่ได้ทำให้ผู้บริจาคถึงแก่การเสียชีวิต

          ซึ่งเป็นคำตอบที่นำมาจากประชุมหารือกันขององค์กร Islamic Fiqh Council of the Organization  อันประกอบไปด้วยผู้เชี่ยวชาญทางด้านสาขาฟิกฮฺ การแพทย์ และผู้เชี่ยวชาญพิเศษ  จำนวนมาก  และได้นำผลการประชุมทั้งหมดจากองค์กรดังกล่าว  มาตอบคำถามนี้ด้วย เนื่องจากมีข้อมูลที่ประกอบไปด้วยข้อมูลด้านการแพทย์และด้านชารีอะ

          และจากบทความหมายเลขที่ 26 (ในวาระการประชุมของคณะกรรมการ Islamic Fiqh Council ณ เมือง เจดดาฮฺ ราชอาณาจักรซาอุดิอาระเบีย เมื่อวันที่ 6-11 ก.พ. คศ. 1988) ซึ่งกล่าวถึงบุคคลที่ได้รับประโยชน์จากการได้รับการบริจาคอวัยวะ  จากทั้งผู้ที่มีชีวิตอยู่และได้เสียชีวิตไปแล้ว  ว่า 

 

     อันดับแรก  ได้ กำหนดคำนิยามของคำว่า อวัยวะ  ว่า คือทุกส่วนของร่างกาย  ไม่ว่าจะเป็นเนื้อเยื่อ เซลล์ เลือด หรืออย่างอื่นเช่น กระจกตา  ไม่ว่าสิ่งนั้นจะคงติดอยู่หรือได้แยกออกจากร่างกายไปแล้ว 

     อันดับที่สอง  ได้ กำหนดคำว่า  “การใช้หรือการได้รับประโยชน์จากการรับบริจาคอวัยวะนั้น”  จะอยู่ภายใต้ข้อตกลงที่ว่า ผลประโยชน์ที่ได้รับนั้นเป็นไปตามความจำเป็น  เพื่อเป็นการรักษาชีวิตไว้หรือเพื่อทำให้อวัยวะต่าง ๆ ของร่างกายสามารถทำงานต่อไปได้  เช่น ความสามารถในการมองเห็นหรืออื่น ๆ โดยที่ผู้ขอรับบริจาคอวัยวะนั้นจะต้องอยู่ในเงื่อนไขของกฎชารีอะฮฺ

     อันดับที่สาม  คือการกล่าวถึงประเภทของผลประโยชน์ที่ผู้รับบริจาคอวัยวะจะได้รับ  ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ประเภทคือ

ประเภทที่ 1 คือ การได้รับการปลูกถ่ายอวัยวะจากผู้ที่ยังมีชีวิตอยู่
ประเภทที่ 2 คือ การได้รับการปลูกถ่ายอวัยวะจากผู้ที่เสียชีวิตไปแล้ว
ประเภทที่ 3 คือ การได้รับการปลูกถ่ายอวัยวะจากทารก (ตัวอ่อน)


     ขยายความจากประเภทที่ 1 คือ การได้รับการปลูกถ่ายอวัยวะจากผู้ที่ยังมีชีวิตอยู่นั้น  มีรายละเอียดดังนี้

-  แบบแรกคือ  การปลูกถ่ายอวัยวะจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง  ซึ่งเกิดในผู้ป่วยคนเดียวกัน  เช่น การปลูกถ่ายผิวหนัง  กระดูกอ่อน  กระดูก  เส้นเลือด  เลือด และอื่น ๆ
-  แบบที่สองคือ  การปลูกถ่ายอวัยวะจากร่างกายของคนหนึ่ง  ไปยังร่างกายของอีกคนหนึ่ง

          อวัยวะในที่นี้นั้น  ยังอาจแบ่งได้เป็นอวัยวะที่มีความจำเป็นอย่างมากต่อร่างกาย  ซึ่งจะหมายถึงอวัยวะที่ร่ายกายมีเพียงชิ้นเดียว  เช่น หัวใจและตับ  ส่วนอวัยวะอีกประเภทหนึ่งคือ  อวัยวะที่ประกอบด้วยกันมากกว่าหนึ่งชิ้น เช่น ไตและปอด  ซึ่งถือว่ามีความสำคัญรองลงมาเมื่อเทียบกับแบบแรก  อวัยวะประเภทนี้นั้นบางส่วนมีหน้าที่ควบคุมการทำงานพื้นฐานให้กับร่างกายและ บางส่วนก็ไม่ได้ทำหน้าที่นั้น  บางส่วนสามารถเกิดขึ้นมาใหม่ได้โดยธรรมชาติ เช่น เลือด  แต่บางส่วนก็เกิดขึ้นมาใหม่เองไม่ได้  โดยอวัยวะบางอย่างอาจมีอิทธิพลต่อผู้สืบสกุลหรือพันธุกรรมของแต่ละบุคคล เช่น  ลูกอัณฑะ รังไข่ หรือเซลล์ต่าง ๆ ของระบบประสาท  แต่อวัยวะบางอย่างก็ไม่ได้มีอิทธิพลใด ๆ ต่อพันธุ์กรรมหรือระบบประสาทเลย

     ขยายความจากประเภทที่ 2 คือ การรับการปลูกถ่ายอวัยวะจากผู้ที่เสียชีวิตไปแล้ว  มีรายละเอียดดังนี้

  คำว่าผู้ที่เสียชีวิตไปแล้วนั้น  ยังแบ่งออกได้เป็น 2 แบบ คือ

1. ผู้ที่สมองตายไปแล้ว  อันส่งผลให้อวัยวะทุกส่วนในร่างกายไม่ทำงานอีกต่อไปแล้วและไม่สามารถรักษาให้กลับมามีสภาพเดิมได้อีก
2.  ผู้ที่หัวใจและกระบวนการหายใจไม่ทำงานอีกแล้วและไม่สามารถรักษาให้กลับมามีสภาพเดิมได้อีก

(ซึ่งมติสำหรับผู้ที่เสียชีวิตทั้ง 2 ประเภทนี้ได้มีข้อตัดสินตกลงจากคณะกรรมการในวาระที่ 3 ของการประชุม)

     ขยายความจากประเภทที่ 3 คือ การรับการปลูกถ่ายอวัยวะจากทารก (ตัวอ่อน)

ทารกในที่นี้  แบ่งออกเป็น 3 ประเภท

1. ทารกที่เกิดมาจากการแท้งเองโดยธรรมชาติ
2. ทารกที่เกิดมาจากการแท้งเนื่องมาจากความจำเป็นทางการแพทย์หรือทางกฎหมาย
3. ทารกที่เกิดมาจากผสมน้ำเชื้อภายนอกมดลูก


ตามกฎชารีอะแล้ว  การปลูกถ่ายอวัยวะจะอธิบายได้ดังนี้

          1. เป็น ที่อนุมัติสำหรับการปลูกถ่ายอวัยวะจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง  เมื่อการปลูกถ่ายอวัยวะนั้น  เป็นการปลูกถ่ายบนร่างกายของผู้ป่วยคนเดียวกัน  แต่ต้องแน่ใจว่าการปลูกถ่ายอวัยวะนี้จะให้ประโยชน์มากกว่าเมื่อเทียบกับผล เสียที่ผู้ป่วยจะได้รับ  เมื่อจะต้องมีการสูญเสียหรือการซ่อมแซมอวัยวะในส่วนต่าง ๆ   จากสภาพเดิม  หรือเป็นการเปลี่ยนแปลงอวัยวะบางส่วนที่มีความพิการ  ซึ่งอาจจะมีผลข้างเคียงที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพจิตและร่างกาย

          2. เป็นที่อนุมัติสำหรับการปลูกถ่ายอวัยวะจากจากร่างกายของคนหนึ่ง  ไปยังร่างกายของอีกคนหนึ่ง  ถ้าอวัยวะเหล่านั้น  ร่างกายสามารถสร้างใหม่ได้เองโดยธรรมชาติ เช่น เลือด หรือผิวหนัง  แต่ผู้บริจาคนั้นจะต้องคุณสมบัติที่เหมาะสมและเป็นไปตามเงื่อนไขของกฎชารีอะ

          3. เป็น ที่อนุมัติในการรับอวัยวะจากบุคคลอื่น  เมื่อผู้บริจาคอวัยวะนั้นมีความเจ็บป่วย  เช่นการรับกระจกตามาจากผู้ป่วยที่มีความจำเป็นจะต้องเอาดวงตาออก  ซึ่งมีผลมาจากการเป็นโรคหรือความเจ็บป่วยของเขา

          4. ไม่เป็นที่อนุมัติในการปลูกถ่ายอวัยวะหรือรับอวัยวะ  เมื่ออวัยวะนั้นเป็นสิ่งที่มีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อร่างกายของผู้ที่มี ชีวิตอยู่หรือจากบุคคลอื่น (เช่น หัวใจ)

          5. ไม่เป็นที่อนุมัติในการปลูกถ่ายอวัยวะจากคนที่มีชีวิตอยู่  เมื่อการย้ายอวัยวะนั้นจะส่งผลให้การทำงานที่จำเป็นของร่ายกายสูญเสียไป  แม้ว่าชีวิตของเขาไม่มีความจำเป็นจะต้องใช้อวัยวะส่วนนั้นก็ตาม  เช่นการนำกระจกตาออกจากดวงตาทั้งสองข้าง  แต่ถ้าเขายังคงมีอวัยวะส่วนอื่นทำงานได้  ภายหลังจากสูญเสียอวัยวะไปแล้ว  ในกรณีนี้ให้พิจารณาข้อตกลงจากที่ประชุมที่จะได้กล่าวเอาไว้ในวาระที่ 8

          6. เป็นที่อนุมัติในการรับอวัยวะมาจากผู้ที่เสียชีวิตแล้ว  มาให้กับผู้ที่ยังมีชีวิตอยู่เมื่ออวัยวะนั้นมีความจำเป็นต่อชีวิตหรือร่าง กายของผู้ป่วย (จำเป็นต่อหน้าที่การทำงานพื้นฐานหลัก ๆของร่างกาย) ซึ่งเงื่อนไขในการการรับอวัยวะจากผู้ที่เสียชีวิตนั้น  จะต้องได้รับการเห็นชอบหรือการยินยอมจากผู้บริจาคก่อนที่เขาจะเสียชีวิต  หรือเป็นการยินยอมจากทายาทของผู้ตาย หรือเป็นการยินยอมจากผู้ที่มีอำนาจจากผู้ที่ดูแลคนในชุมชนของมุสลิมในกรณี ที่ไม่สามารถระบุได้ว่าผู้เสียชีวิตนั้นคือใคร หรือในกรณีที่ผู้เสียชีวิตนั้นไม่มีทายาท

          7. นอกนี้การปลูกถ่ายอวัยวะนั้นเป็นที่อนุมัติในข้างต้นนั้น  จะต้องไม่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายอวัยวะ  เพราะไม่เป็นการอนุมัติในการที่จะค้าอวัยวะของมนุษย์  ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลกรณีใด ๆ ก็ตาม 

ส่วนในกรณีที่ผู้รับ อวัยวะจะใช้เงินเพื่อให้ได้รับอวัยวะมานั้น  ในกรณีที่มีความจำเป็นหรือเป็นการจ่ายเงินเพื่อเป็นค่าทดแทนหรือเป็นการให้ เกียรติแก่ผู้บริจาคอวัยวะนั้น  ในกรณีนี้จะเกี่ยวข้องกับกฎหมายของอิสลามซึ่งจะต้องทำการพิจารณาต่อไปอีก

          8. ในกรณีอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการรับปลูกถ่ายอวัยวะนี้  จะได้มีการศึกษาพิจารณากันต่อไปในการประชุมครั้งหน้าภายใต้หัวข้อของข้อมูล ทางวิทยาการทางการแพทย์และกฎชารีอะ  (the light of medical data and shar’i rulings)

สามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมได้จากคำตอบของคำถามหมายเลข 2159

และพระองค์อัลลอฮฺ เป็นผู้ทรงรอบรู้ยิ่ง

 

ที่มา http://www.islamqa.com/en/ref/107690/deceased%20donation

แปลโดย  นูรุ้ลนิซาอฺ

ความคิดเห็น

ประกาศล่าสุดในบอร์ดเดียวกัน

PariSaha Icon เขียน resume แบบไหนแล้วไปไม่รอด อ่าน 531 7 ปีที่ผ่านมา
7 ปีที่ผ่านมา
7 ปีที่ผ่านมา
7 ปีที่ผ่านมา
7 ปีที่ผ่านมา
7 ปีที่ผ่านมา
7 ปีที่ผ่านมา
8 ปีที่ผ่านมา
8 ปีที่ผ่านมา
8 ปีที่ผ่านมา
8 ปีที่ผ่านมา
8 ปีที่ผ่านมา