ความสัจจริง และ ความซื่อสัตย์
ความสัจจริง ตรงข้ามกับการ"มุสา" คือการไม่โกหก เป็นการแสดงออกถงจริยธรรมที่ดีงาม อันจะทำให้สังคมเต็มไปด้วยความจริงใจ ไว้เนื้อเชื่อใจกัน ถ้าบุคคลที่อยู่ในสังคมนั้นต่างพูดแต่ความจริง ไม่โกหกกัน อัลลอฮ์ได้ตรัสใช้ให้มุสลิมยืนหยัดอยู่กับการพูดความจริง ว่า
"โอ้ผู้ศรัทธาแล้วทั้งหลาย พวกเจ้าทั้งหลายจงยำเกรงอัลลอฮ์ และจงเป็นบุคคลในบรรดาผู้ที่สัจจริง" (อัตเตาบะฮ์ 119)
ผลดีของการสัจจริง
การพูดจริงทำจริงก่อให้เกิดผลดีต่อสังคมโดยรวมอย่างมากมายกล่าวคือ
ขอบเขตของความสัจจริง
ขอบเขตของความสัจจริง มีมากมายกว้าขวางเช่น
ความซื่อสัตย์
ความซื่อสัตย์ ผูกพันกับคำว่า "อามานะฮ์" หมายถึงการรับผิดชอบ การไว้วางใจ เป็นต้น
ท่านเราะซูล กล่าวว่า
"ไม่มีความศรัทธา (อีหม่าน) สำหรับผู้ที่ไม่มีความซื่อสัตย์ และไมศาสนาสำหรับผู้ที่ไม่รักษาสัญญา" (บันทึกโดย อะหมัด)
ท่านอัดดารุกุฏนีย์ ได้รายงานฮะดิษว่า
"ท่านทั้งหลายจงมีความซื่อสัตย์ ต่อผู้ที่ไว้วางใจต่อท่าน และท่านจงอย่าบิดพลิ้วต่อผู้ที่บิดพลิ้วท่าน"
ประเภทของความซื่อสัตย์
ความซื่อสัตย์แบ่งออกเป็นประเภทต่างๆได้มากมาย กล่าวคือ
(1) ความซื่อสัตย์ทางวิชาการ ผู้ที่มีความจำเป็นจะต้องรักษาความซื่อสัตย์ประเภทนี้ไว้คือ
(2) ความซื่อสัตย์ทางด้านการปฏิบัติ และการประกอบอาชีพ อิสลามใช้ให้ทุกคนปฏิบัติงานอย่างซือตรง ตรงต่อเวลา ไม่บิดพลิ้ว หลีกเลี่ยง คดโกง ทุจริต ในการปฏิบัติงาน
ท่านเราะซูล กล่าวว่า
"ผู้ใดที่คดโกงเรา เขาก็ไม่ใช่พวกเรา" (บันทึกโดย บุคอรีย์)
(3) ความซื่อสัตย์ต่อตัวเอง มุสลิมจะต้องดูแลรักษาสุขภาพของเขาให้มีความแข็งแร็ง กระปรี่กระเปร่ามีความสุขทั้งกายและใจ โดยเหตุนี้อิสลามจึงใช้ให้มุสลิมรับประทานอาหาร และเครื่องดื่มที่ดีเป็นที่อนุมัติ (หะล้าล) ห้ามรับประทานอาหารเครื่องดื่มที่ต้องห้าม(หะรอม) และเป็นอันตรายต่อสุขภาพ เช่น ซากสัตว์ที่ตายเอง สุรา ยาเสพติด นอกจากนี้สิ่งที่เป็นกรรมสิทธิ์ หรือผู้ที่อยู่ภายใต้การรับผิดชอบ เช่น ทรัพย์สิน ตระกูล สามี ภรรยา พ่อแม่ จำเป็นต้องเอาใจใส่ดูแลเขาเหล่านั้นด้วย
(4) ความซื่อสัตย์ต่ออัลลอฮ์ จำเป็นที่มุสลิมผู้ปฏิญาณว่า ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮ์ จะต้องซื่อสัตย์ต่อคำปฏิญาณของเขา คือจะต้องเคารพภักดีต่ออัลลอฮ์องค์เดียว และจะต้องปฏิบัติในสิ่งที่พระองค์ทรงใช้ และละเว้นในสิ่งที่พระองค์ทรงห้าม
"ชมรมผู้บริหารมัสยิดหนองจอก"