คุณสมบัติพิเศษของกล้วยน้ำว้า

uttaradit profile image uttaradit
กล้วยน้ำว้าเป็นผลไม้ที่ใกล้ชิดคนไทยที่สุด เด็กไทยสมัยก่อนโตมากับกล้วยน้ำว้ากันทั้งนั้น นอกจาก ข้าวสุกบดแล้ว ก็มีกล้วยน้ำว้าเป็นเหมือนอาหารเสริมประจำที่ไม่ต้องซื้อหาเพราะทุกครัวเรือนมีกล้วยปลูกไว้สำหรับเป็นผลไม้ เป็นอาหารและสารพัดขนมกินกันได้ตลอดทั้งปี 
        
กล้วยน้ำว้าใช้ทำยาได้ทั้งดิบและสุก กล้วยดิบมีสารฝาดสมานชื่อแทนนิน ซึ่งช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย ช่วยป้องกันผนังกระเพาะลำไส้ไม่ให้เชื้อโรคและของรสเผ็ดจัด เช่น พริก เข้าไปทำลายผนังกระเพาะลำไส้ ช่วยแก้ท้องเสีย กล้วยที่เพิ่งเริ่มสุก เปลือกยังสีเขียวอยู่ประปราย เป็นทั้งยาและอาหารที่ดีมากสำหรับคนท้องเสีย เพราะนอกจากจะช่วยแก้ท้องเสียแล้วยังช่วยหล่อลื่นลำไส้ ช่วยเพิ่มกากเวลาถ่าย กล้วยกึ่งดิบกึ่งสุกยังมีธาตุโพแทสเซียมสูงมาก ดังนั้นเวลาใช้กล้วย แก้ท้องเสีย ก็เท่ากับให้ธาตุโพแทสเซียมไปในตัวด้วย ตามธรรมดาคนไข้มักสูญเสียธาตุโพแทสเซียมในเวลาท้องร่วง การกล้วยห่ามจึงเป็นการชดเชยธาตุโพแทสเซียมที่เสียไป เพราะถ้าร่างกายสูญเสียธาตุโพแทสเซียมไปมากๆ ขณะท้องร่วง จะทำให้การเต้นของหัวใจผิดปกติในคนชราอาจทำให้หัวใจวายตายได้ ยิ่งไปกว่านั้นกล้วยที่เริ่มสุกจะมีสารเซโรโทนินอยู่มาก ช่วยออกฤทธิ์ กระตุ้นให้ผนังกระเพาะอาหารสร้างเยื่อเมือกมากขึ้น ช่วยเคลือบแผลในกระเพาะอาหาร แต่ไม่ช่วยลดการหลั่งกรดในกระเพาะอาหาร
        
วิธีการกินกล้วยเป็นยาก็ไม่ใช่เรื่องกล้วยๆเช่นกัน โดยเฉพาะเมื่อกินเป็นยาแก้โรคกระเพาะ ควรนำกล้วยดิบมาฝานเป็นแว่นบางๆ แล้วอบให้แห้งที่อุณหภูมิ 50 องศาเซลเซียส ห้ามใช้ความร้อนสูงกว่านี้เด็ดขาด เพราะสารในกล้วยมีฤทธิ์รักษาโรคกระเพาะนั้นจะสูญเสียไปหรือหมดฤทธิ์ไปเลยก็ได้ ถ้าโดนความร้อนสูงมากเกินไป กล้วยดิบที่ผ่านการอบอุณหภูมิต่ำแล้ว ให้นำมาบดเป็นผง กินครั้งละ 1 ช้อนชา จะผสมกับน้ำผึ้งหรือไม่ก็ได้ กิน 3 ครั้งก่อนอาหาร กล้วยดิบๆมีฤทธิ์ทั้งป้องกันและรักษาโรคกระเพาะ ส่วนยาแผนปัจจุบันทุกขนานที่ช่วยลดกรดในกระเพาะอาหารนั้นมีฤทธิ์เพียงป้องกันแต่ไม่ช่วบรักษา กล้วยจึงเป็นยารักษาโรคกระเพาะที่มีราคาถูกที่สุด และหาง่ายที่สุด
        
ส่วยกล้วยน้ำว้าสุกนั้นกลับมีสรรพคุณ ตรงกันข้ามกับกล้วยดิบ คือกล้วยสุกกลับเป็นยาระบายแก้ท้องผูก เพราะมีสาร เพ็กติน อยู่มาก ช่วยเพิ่มกากในลำไส้ กล้วยที่สุกงอมมากๆจะมีฤทธิ์ระบายสูง เพราะมีสารเพ็กติน มากขึ้นนั่นเอง ฤทธิ์ระบายของกล้วยน้ำว้าสุกไม่รุนแรงมากต้องกินเป็นประจำวันละ 5-6 ลูก จึงจะเห็นผล อุจจาระที่ออกมาเป็นสีเหลือง ไม่มีกลิ่นเหม็น การกินกล้วยสุกก็ต้องเคี้ยวให้ละเอียด นานๆ เพราะกล้วยเป็นผลไม้ที่มีแป้งอยู่ถึง 20 -25 % ของเนื้อกล้วย จึงสามารถนำมาเป็นอาหารเสริมให้เด็กเล็กได้ ตามปกติ กระเพาะมีเอนไซม์ย่อยแป้งน้อย การเคี้ยวกล้วยให้แหลกละเอียดจะช่วยแป้งได้มากก่อนกลืนลงกระเพาะ หากกินกล้วยโดยเคี้ยวหยาบๆ จะทำให้ท้องอืด จุกแน่น โดยเฉพาะในเด็กเล็ก ควรเริ่มให้กินกล้วยสุกเมื่อเด็กเริ่มกินข้าวบดได้ อายุราว 3 เดือน โดยขูดเนื้อกล้วยสุก ( ไม่เอาไส้กล้วยเพราะจะทำให้เด็กท้องผูก ) ให้กินคราวละน้อยๆ ไม่ควรเกินครึ่งช้อนชา วันละครั้ง เพราะเด็กยังมีน้ำย่อยแป้งไม่พออาจเกิดอาการท้องอืดได้ เด็กอายุครบขวบกินกล้วยครั้งละ 1 ลูก วันละครั้งก็พอ
       
 นอกจากนี้ เด็กที่มีผิวหนังเป็นตุ่มคันจากยุงกัด มดกัด หรือเป็นผื่นคันเนื่องจากลมพิษ สามารถใช้เปลือกกล้วยน้ำว้าสุกด้านใน ทาถูบริเวณนั้นสักครึ่งนาที รับรองว่าอาการคันจะหายเป็นปลิดทิ้ง
        
นี่เป็นเคล็ดลับภูมิปัญญาไทยที่ใช้กล้วยน้ำว้าเป็นยาสามัญประจำครัวเรือน กล้วยน้ำว้ามีประโยชน์มากมายมหาศาล นอกจากกล้วยที่เป็นผลไม้ อาหาร และสารพัดขนม ใบตองกล้วยยังใช้ทำกระทงใส่ข้าว ของคาว ของหวานแทนถ้วยชาม กาบกล้วยใช้ทำเชือก ซึ่งไม่เคยก่อปัญหาภาวะต่อสิ่งแวดล้อม คนไทยในยุคน้ำมันแพง น่าจะหันกลับมาสร้างค่านิยมปอกกล้วยเข้าปาก เพื่อสุขภาพพลานามัยที่ดีในราคาประหยัด สุดคุ้มเหมือนในยุคปู่ย่า ตายายของเรา
บรรดากล้วยทั้งหมดกล้วยน้ำว้าจะให้วิตามินสูงที่สุด ได้ทั้งแคลเซียม โปรตีนและกากใยอาหาร กินกล้วยทุกวัน อย่างน้อยวันละ1 ลูก เพื่อสุขภาพที่ดี

กล้วยสุกช่วยไม่ให้ท้องผูก ระบบขับถ่ายจะดี ช่วยบรรเทาอาการเจ็บคอและเจ็บหน้าอก ที่มีอาการ ไอแห้งร่วมอยู่ด้วยได้ ให้กินวันละ 5-6 ลูก ถ้าท้องเสียให้กินกล้วยดิบ หรือกล้วยห่ามครั้งละครึ่งถึงหนึ่งลูก

คุณสมบัติพิเศษของกล้วยน้ำว้า 

ถ้าต้องการ ไม่ให้มีกลิ่นปากและผิวพรรณดี ให้กินกล้วยน้ำว้า หลังตื่นนอนแล้วค่อยแปรงฟัน ทำอย่างนี้ 1 สัปดาห์ กลิ่นปากจะหายไปผิวพรรณก็ดีขึ้น

เป็นยาอายุวัฒนะโดยใช้กล้วยน้ำว้าสุกงอมปอกเปลือกแช่ในน้ำผึ้งอย่างน้อย 1 สัปดาห์ กินวันละ 1-2 ผล ทุกวัน

กล้วยน้ำว้านอกจากจะช่วยในเรื่องของผิวพรรณแล้ว ยังมีเคล็ดลับอีกอย่างหนึ่งมาบอกให้ทราบกันคือ เมื่อกินกล้วยน้ำว้าแล้วเปลือกอย่าทิ้งนะค่ะ นำมาขัดรองเท้าโดยเฉพาะรองเท้าหนังสีดำ หลังจากนั้นก็ใช้กระดาษหนังสือพิมพ์เช็ดออกรับรองค่ะว่ารองเท้ามันวาวแน่นอน

ต่อไปเรื่องของกล้วยคงจะไม่ใช่กล้วยๆ แล้วนะ กินก็ได้รักษาโรคก็ดี แถมทุกส่วนยังใช้ประโยชน์ได้ดีแม้กระทั่งเปลือกของมันค่ะ
๑.   แก้บิดมูกเลือด บำรุงโลหิต   ใช้น้ำคั้นจากหัวปลี

๒.   ขับพยาธิ  ใช้หยวกกล้วยเผาไฟ รับประทานขับพยาธิ

๓.   สูญเสียน้ำหลังการออกกำลังกายหรืออบตัว  รับประทาน กล้วย หอมสุกทดแทน เพราะมีโปแตสเซี่ยมมาก

๔.   ทาแก้ส้นเท้าแตก   เปลือกกล้วยหอมสุก เอาด้านในทาส้นเท้า แตก

๕.   แก้เบาหวาน  ใช้หัวปลีย่างไฟรับประทานเป็นประจำ

๖.   บำรุงน้ำนม  ทำแกงเลียงหัวปลีทานบ่อยๆ ช่วยเพิ่มน้ำหนักนม มารดา คลอดบุตรใหม่ๆ หรือจิ้มน้ำพริกกินบ่อยๆ

๗.   แก้ท้องผูกได้ชะงัด  ในกล้วยสุกจริงๆ ไม่ถึงกับดำ จะมีสาร เพ็คติน (Pectin) ซึ่งเป็นเส้นใยอ่อนนุ่ม สามารถกระตุ้นให้เกิดการ ขับถ่ายอย่างดี เพ็คติน จะช่วยเพิ่มกากอาหารในลำไส้ เมื่อกากอาหารมี มาก ก็จะไปดันผนังลำไส้ ทำให้เกิดอาการปวดถ่ายขึ้นมา

๘.   แก้ท้องเสีย  ใช้กล้วยดิบหั่นเป็นแว่นบางๆ ตากแดดให้แห้ง นำมา บดเป็นผง รับประทานครั้งละ ๑ ช้อนกาแฟ เมื่อมีอาการท้องเสีย กล้วย ดิบมีสารแทนนิน (Tanin) มากช่วยฝาดสมานลำไส้ ลดอาการท้องเสีย ได้ดี

๙.   แผลมีเลือดออก  ใช้ยางจากก้านใบ นำมาทาแผลสด ที่มีเลือด ไหล ทำให้เลือดหยุด แผลหายเร็ว

๑๐.  โรคกระเพาะ  ใช้ผงกล้วย ๑-๒ ช้อนโต๊ะ ผสมน้ำผึ้งเล็กน้อย พอ อุ่น แล้วดื่ม ก่อนอาหาร เช้า-เย็น

๑๑.  ถ่ายเป็นบิดมูกเลือด   ใช้น้ำคั้นจากหัวปลีดื่ม

๑๒.  แก้ผดผื่นคัน  ใช้ใบกล้วยต้มอาบ

๑๓.  แก้คอพอก  ใช้รากกล้วยน้ำว้า ตากแห้งบดเป็นผง ปั้นเป็นเม็ด เท่าเม็ดพุทรา กินครั้งละ ๓ เม็ดก่อนอาหาร เช้า-เย็น

[hr]

อ้างอิงจาก สารศิลปยาไทย ฉบับที่ ๒๘ สมาคมผู้ประกอบโรคศิลปแผนไทย  เชียงใหม่


คุณสมบัติพิเศษของกล้วยน้ำว้า

ความคิดเห็น

ประกาศล่าสุดในบอร์ดเดียวกัน

uttaradit Icon GPS ตามที่กรมการขนส่งกำหนด อ่าน 1,002 8 ปีที่ผ่านมา
8 ปีที่ผ่านมา
8 ปีที่ผ่านมา
8 ปีที่ผ่านมา
8 ปีที่ผ่านมา
8 ปีที่ผ่านมา
8 ปีที่ผ่านมา
8 ปีที่ผ่านมา
8 ปีที่ผ่านมา