นบี (ศ) ได้พบถึงลักษณะของคนสองมาตราฐานไว้ว่า
“เมื่อพูดก็โกหก เมื่อสัญญาก็บิดพริ้ว และเมื่อได้รับความไว้วางใจก็หักหลัง” (หะดีษบุคคอรี)
ลักษณะดังกล่าวข้างต้นนี้ หาได้ง่ายในหมู่นักการเมือง และผู้มีตำแหน่งอำนาจที่ต้องรักษาผลประโยชน์ของตนเป็นหลัก
ท่านนบีได้รับการแต่งตั้งจากอัลเลาะฮฺให้เป็นผู้นำมนุษยชาติโดยได้รับแนวทางการนำไว้ดังนี้
· มีความเมตตา
· มีความสุภาพอ่อนโยน
· ไม่มีพฤติกรรมหยาบช้า
· ไม่มีจิตใจแข็งกระด้าง
· มีความพร้อมในการให้อภัย
· ขอการอภัยโทษจากอัลเลาะฮฺให้แก่ผู้ร่วมงาน
· ปรึกษาหารือกับผู้ร่วมงานในกิจการสำคัญ
· มีความเด็ดขาดในการตัดสินใจ
· และมอบหมายความสำเร็จในกิจการที่ทำต่ออัลเลาะฮฺหลังจากผ่านขั้นตอนข้างต้น (3,59)
แน่นอนการเป็นผู้นำจะต้องระมัดระวังตัวในการแสดงออก ไม่ว่าจะเป็นคำพูดหรือพฤติกรรมเพราะจะเป็นผลสะท้อนกลับมายังตัวเองเสมอ
อัลเลาะฮฺได้ทรงกำชับพวกเราไว้ดังนี้
ความว่า “พวกเจ้าจงเจรจากับเพื่อนมนุษย์โดยดี และจงดำรงการละหมาดและจ่ายซะกาต” (2,83)
ท่านนบี (ศ) จะสอนพวกเราอยู่เสมอต้องพูดดีสร้างสรร แต่ถ้าพูดดีไม่ได้ให้นิ่งเงียบเสียหากรู้ว่าการพูดนั้น
· อาจทำให้เกิดการแตกแยก
· อาจทำให้ขัดใจกัน
· อาจทำให้กลายเป็นศัตรูกัน
แม้แต่ท่านนบีมูซาและฮารูน เมื่อได้รับคำสั่งให้ไปพบฟิรเอาว์น ผู้อหังกา แต่ทั้งสองถูกใช้ให้ “พูดจากับฟิรเอาว์น ด้วยคำพูดที่อ่อนโยน เพื่อที่เขาจะได้ใคร่ครวญ และเกรงกลัว (การลงโทษของอัลเลาะฮฺ) (สรุปจาก 20,44)
แล้วปิยะวาจาคืออะไร? มันคือ
· คำพูดที่ไม่หยาบคาย
· คำพูดที่สุภาพอ่อนโยน
· คำพูดที่แสดงความนอบน้อม
· คำพูดที่ไม่โอ้อวด
· คำพูดที่ไม่ยกตนข่มท่าน
· คำพูดที่ฟังแล้วไม่บาดหู
· คำพูดทีไม่ใช่การยกยอปอปั้น
· คำพูดที่ไม่ใช่การนินทาใส่ร้าย
· คำพูดที่ไม่สร้างความแตกแยก
· คำพูดที่เป็นกุศโลบายแม้ว่าจะเป็นเท็จก็ตาม เช่น
- ในการทำสงคราม
- ในการทำให้คนดีกัน
- ในการทำให้ภรรยา (สามี) พอใจ
คนปากไม่ดีไม่ได้ถูกมองในทางลบในโลกนี้เท่านั้น แต่ในโลกหน้ายังมีตำแหน่งต่ำเพราะคนเกลียดปาก
อย่าอ้างว่าคนเกลียดเพราะพูดตรง แต่ให้รู้มันมาจากสันดานเดิมมากกว่า
อ.วิทยา วิเศษรัดน์