อินโดนีเซียได้ออกกฏหมายเพื่อให้มีการประกันแบบ “ซุกูก” หรือพันธบัตรอิสลามเป็นครั้งแรกในประเทศที่มีประชาชนมุสลิมหนาแน่นเพื่อแก้ไข
· ความเคราะห์ร้ายทางเศรษฐกิจ
· หนี้สินหลายรูปแบบ
· และการดึงดูดการลงทุนแบบอิสลาม
รัฐมนตรีคลังได้กล่าวว่า “เราพิจารณาทั้งภายในและต่างประเทศตามสภาพแวดล้อม เมื่อตัดสินใจว่าซุกูกควรเป็นสถาบันและนานาชาติส่วนใหญ่ หรือเป็นการขายปลีกภายในประเทศ”
รัฐสภาเตรียมพร้อมที่จะผ่านกฏหมายนี้ ซึ่งรัฐบาลได้เตรียมงานมาสองปีแล้วที่อนุญาตให้ขายพันธบัตรอิสลามในประเทศ และต่างงประเทศ รัฐบาลตั้งเป้าที่จะออกพันธบัตรอิสลามคือ 1.6 บิลเลี่ยน ในไตรมาสสองของปีนี้ เมื่อกฏหมายถูกประกาศใช้
ส่วนทางการหวังว่าซุกูกจะทำให้เกิดแหล่งลงทุนใหม่สำหรับรัฐบาล และบริษัทต่างชาติด้วยการดึงดูดนักลงทุนจากตะวันออกกลางซึ่งส่วนใหญ่จะเน้น เรื่องผลิตภัณฑ์อิสลาม พวกเขายังเชื่ออีกว่าซุกูกจะช่วยลบล้างงบประมาณที่ขาดดุล ความต้องการของ อินโดนีเซียเกี่ยวกับทางเลือกในการระดมงบทุนได้เพิ่มขึ้นโดยการขยายงบกลาง อีก 27 %
ซุกูกก็ไม่ได้ต่างไปจากการเงินแบบอิสลามอื่นๆ ที่ไม่ได้รับความสนใจแม้กระทั่งจากมุสลิมเองเพราะมีความรัดกุมโปร่งใส และ กำไรน้อยไม่มีรายได้คงตัวเหมือนกับดอกเบี้ย แต่เป็นเรื่องของการมีส่วนร่วม ในกำไรหรือการเช่าซื้อ บริษัทที่ออกพันธบัตรอิสลามจ่ายเงินให้นักลงทุนโดย ใช้หลักการร่วมในกำไร จากธุรกิจที่ถูกกำหนดไว้ในสัญญาแทนการจ่ายผลของดอกเบี้ย
รัฐบาลหวังว่าการทำธุระกรรมแบบซุกูกจะทำให้ธุรกิจขยายตัวสู่ตลาดโลก และ อินโดนีเซียมีความสามารถที่จะแข่งขันระดับโลกได้ บริษัทต่างๆ พร้อมที่จะปฏิบัติการ รอเพียงแต่การเริ่มนำของรัฐบาลเท่านั้น
นักการธนาคารเช่นกันที่มองในแง่ดีว่าซุกูกจะนำข่าวดีมาสู่อินโดนีเซีย ด้วยการเติมเต็มงบประมาณชาติที่ยังบกพร่องอยู่ และเงินเฟ้อที่สูงขึ้น ประธานธนาคารใหญ่ในอินโดนีเซียมีความเห็นว่า การออกกฏหมายให้ทำธุระกรรมแบบซุกูกถือว่ามีผลเป็นบวกค่อนข้างสูง กฏหมายจะทำให้รัฐบาลและประเทศได้มีเงินทุนเพิ่มขึ้น
ซุกูกเริ่มเป็นที่รู้จักมักคุ้นมากยิ่งขึ้น และตลาดซุกูกขยายตัวไปทั่วโลกใน ระยะนี้ และตลาดซุกูกที่ใหญ่ที่สุดคือประเทศมาเลเซีย
ธุระกรรมแบบซุกูกำลังเจริญงอกงามอยู่ใน
· อเมริกา
· อังกฤษ
· และญี่ปุ่น
รัฐบาลอังกฤษได้ทุ่มเทอย่างเต็มที่ในการศึกษาความเป็นไปได้สำหรับรัฐบาล จะออกพันธบัตรอิสลามเพื่อเปิดโอกาสให้ลอนดอนเป็นศูนย์กลางการเงินแบบอิสลาม
แล้วประเทศเศรษฐีมุสลิมอยู่ตรงไหนที่ยังปล่อยให้ระบบการเงินจมปลักอยู่กับ ดอกเบี้ยทั้งๆ ที่รู้ว่าโทษของมันหนักหนาขนาดไหนหรือจะให้ล้มสลายเหมือนกับอิรัก ไม่ว่า
· ด้านการเมือง
· ด้านเศรษฐกิจ
· ด้านการศึกษา
· ด้านศาสนา
· ด้านสังคม และทุกๆ ด้าน
ไม่คิดทบทวนตัวเองดูบ้างหรือ หากเราไม่ชั่ว แล้วคนชั่วอย่างบุช จะมีโอกาสได้เหยียบย่ำพวกเราหรือ?
ซัยฎอนมันเบื่อที่จะทำให้เราเลิกละหมาด แต่มันไม่เบื่อที่จะทำให้มุสลิมทะเลาะกัน พวกมันชนะแล้วใช่ใหม?
อ. วิทยา วิเศษรัตน์
http://www.cicot.or.th