รวมเกมและกิจกรรมเชิงสร้างสรรค์กลุ่มสาระอื่นๆ

krukrub profile image krukrub
กิจกรรมที่ 1 : โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง "ไฟฟ้ากระตุ้นการเจริญเติบโตของพืช"

นำกระถางมาเพาะปลูกต้นไม้ชนิดต่างๆ เช่น ข้าวโพด ผักบุ้ง  ผักกวางตุ้ง  คะน้า  ใช้กระบะถ่านไฟฉายกับสายไฟที่ต่อจากทั้งสองขั้วปักลงไปในดินเพื่อเป็นการกระตุ้นประจุไฟฟ้าลงไปในดิน  พบว่า  พืชที่ได้รับการกระตุ้นจะงอกงามเจริญเติบโตได้เร็วกว่าพืชที่ไม่ได้รับการกระตุ้น  ทำเป็นสามกระถาง  คือ  กระถางควบคุม (ไม่ได้รับการกระตุ้นเลย)  กระถางที่ได้รับการกระตุ้นจากถ่านหนึ่งก้อน และกระถางที่ได้รับการกระตุ้นจากถ่านสองก้อน 

จากการทดลองพบว่าพืชที่ไม่ได้รับการกระตุ้นแต่เจริญงอกงามได้ดีกว่ากระถางที่ถูกกระตุ้นได้แก่  ข้าวโพด นอกจากนั้นเป็นแบบแรกคือกระตุ้นแล้วเจริญเติบโตเร็วกว่า
 ใช้กระถางเล็กหว่านเมล็ดให้เต็มกระถางสังเกตและจดบันทึกทุกระยะ  อย่าลืมรดน้ำ  สาเหตุที่กระถางที่ถูกไฟฟ้ากระตุ้นเติบโตดีกว่าเพราะไฟฟ้าทำปฏิกิริยากับน้ำได้เป็นออกซิเจนที่ช่วยในการเจริญเติบโตของพืช


รวมเกมและกิจกรรมเชิงสร้างสรรค์กลุ่มสาระอื่นๆ

ความคิดเห็น
krukrub profile krukrub

กิจกรรมที่ 2 : กิจกรรมการสอนศิลปะ

1.  การวาดรูปคนอิริยาบถต่างๆ โดยใช้เส้นก้างปลา 

2. สอนเรื่องรูปร่างแตกต่างจากรูปทรงอย่างไร  เช่น ให้วาดรูปตู้ไปรษณีย์ทั้งแบบรูปร่างและรูปทรง  , การนำรูปร่างต่างๆ เช่น  สี่เหลี่ยม  สามเหลี่ยม  วงกลม มาจัดองค์ประกอบแล้วระบายสี  โดยใช้ทั้งขนาดเล็กและใหญ่ 

3. การทำกิจกรรมการเขียนชื่อตนเองเป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษแล้วนำมาตกแต่งให้สวยงาม  อาจจะทำลักษณะแบบลวดลายโมเสทก็ได้  รวมไปถึงการใช้สีร้อนสีเย็น (โทน , วรรณะ)

krukrub profile krukrub

กิจกรรมที่ 3 : การแสดงบทบาทสมมติ เรื่อง "การสังเคราะห์แสงของพืช"

วัสดุอุปกรณ์  คือ สายรัดศีรษะที่มีรูปติดอยู่นั่นคือ ตัวอักษร C  H  O  (แต่ละตัวทำตัวละสีอย่าให้ซ้ำกัน เช่น C-สีเขียว  H-สีแดง  O-สีฟ้า และพระอาทิตย์)

การแสดงบทบาทสมมติเรื่องการสังเคราะห์แสงของพืช  แบ่งนักเรียนเล่นเป็นบทบาทพระอาทิตย์ , คลอโรฟิลด์ ,  (คาร์บอน) , H (ไฮโดรเจน) , O (ออกซิเจน)  หลังสังเคราะห์แสงเสร็จได้เป็น  C6 H12 O6  ยืนเรียงกันเป็นแถวหน้ากระดานตามจำนวนนักเรียน  6 คน , H 12 คน , O 6 คน


krukrub profile krukrub

กิจกรรมที่ 4 : เทคนิคการสอนวิชาวิทยาศาสตร์ ช่วงชั้นที่ 2-4

1.  ให้นักเรียนดูภาพยนตร์แนววิทยาศาสตร์  สารคดี  รายการโทรทัศน์เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์เพื่อกระตุ้นจินตนาการทำให้เกิดความคิดสร้างสรรค์

2.  ควรให้นักเรียนอ่านนิตยสารหรือวารสารวิทยาศาสตร์ เช่น วารสาร อพวช. , นิตยสาร Go Genius ฯลฯ 

3.  ส่งเสริมให้ทดลอง เพราะถ้าให้นักเรียนนั่งฟังครูบรรยาย  นั่งจด  จะทำให้เกิดความเบื่อหน่ายนักเรียนไม่ชอบ

4.  นิยายบางเรื่องมีวิทยาศาสตร์สอดแทรก เช่น เรื่องแฮรี่  พ๊อตเตอร์  สามารถนำมาใช้ในการกระตุ้นจินตนาการของนักเรียนได้


ประกาศล่าสุดในบอร์ดเดียวกัน

1 ปีที่ผ่านมา
premphurish Icon Merris  เมอร์ริส น้ำดื่มอารมณ์ดี 1 อ่าน 519 3 ปีที่ผ่านมา
3 ปีที่ผ่านมา
3 ปีที่ผ่านมา
4 ปีที่ผ่านมา
4 ปีที่ผ่านมา
4 ปีที่ผ่านมา
4 ปีที่ผ่านมา
4 ปีที่ผ่านมา
porngaroon Icon ดูแลสุขภาพด้วยอาหาร 6 สี 1 อ่าน 731 4 ปีที่ผ่านมา
4 ปีที่ผ่านมา
porngaroon Icon เรียนออนไลน์ ปลอดภัยจาก Covid-19 1 อ่าน 705 4 ปีที่ผ่านมา
4 ปีที่ผ่านมา
4 ปีที่ผ่านมา
porngaroon Icon วิธีป้องกัน ไวรัสโควิด 19 (Covid-19) อ่าน 655 4 ปีที่ผ่านมา
4 ปีที่ผ่านมา
4 ปีที่ผ่านมา