อัตราค่าโดยสารรถโดยสารประจำทาง
--------------------------------------
ประเภทรถ หมวด 1 | ค่าโดยสาร (บาท) | มติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ครั้งที่ , วันที่ |
1. รถโดยสารธรรมดา |
|
|
1.1. รถมาตรฐาน 3 [รถโดยสารธรรมดา] (รถขสมก.) | ไม่เกิน 7.00 | 22/2551, 16 ธันวาคม 2551 |
1.2 รถมาตรฐาน 3 [รถโดยสารธรรมดา] (รถร่วม ขสมก.) | ไม่เกิน 8.00 | 22/2551, 16 ธันวาคม 2551 |
1.3 รถมาตรฐาน 3 จ [รถโดยสารธรรมดาที่มีจำนวนที่นั่งตั้งแต่ 13 ถึง 24 ที่นั่ง] | 8.00 | 3/2555, 25 เมษายน 2555 |
ค่าธรรมเนียมเพิ่ม |
|
|
รถวิ่งบนทางด่วน | เพิ่มค่าบริการ 2 บาท | 22/2526 , 31 พฤษภาคม 2526 |
รถวิ่งกลางคืน(23.00 – 05.00 น.) | เพิ่มค่าบริการ 1.50 บาท | 34/2527 , 4 ธันวาคม 2527 |
รถด่วน | เพิ่มค่าบริการ 1 บาท | 9/2528 26 มีนาคม 2528 |
2. รถโดยสารปรับอากาศ |
|
|
2.1. รถมาตรฐาน 2 (รถโดยสารปรับอากาศธรรมดา) | 0 - 8 กม. ค่าโดยสารไม่เกิน 11.00 บาท 8 - 12 กม. ค่าโดยสารไม่เกิน 13.00 บาท 12 - 16 กม. ค่าโดยสารไม่เกิน 15.00 บาท 16 - 20 กม. ค่าโดยสารไม่เกิน 17.00 บาท 20 ก.ม.ขึ้นไป ค่าโดยสารไม่เกิน 19.00 บาท | 22/2551, 16 ธันวาคม 2551 |
2.2 รถมาตรฐาน 2 (รถโดยสารปรับอากาศมาตรฐาน EURO หรือเทียบเท่า) | 0 – 4 ก.ม. ค่าโดยสารไม่เกิน 12.00 บาท 4 - 8 กม. ค่าโดยสารไม่เกิน 14.00 บาท 8 - 12 กม. ค่าโดยสารไม่เกิน 16.00 บาท 12 - 16 กม. ค่าโดยสารไม่เกิน 18.00 บาท 16 - 20 กม. ค่าโดยสารไม่เกิน 20.00 บาท 20 – 24 ก.ม. ค่าโดยสารไม่เกิน 22.00 บาท 24 ก.ม.ขึ้นไป ค่าโดยสารไม่เกิน 24.00 บาท | 22/2551, 16 ธันวาคม 2551 |
2.3 รถไมโครบัส | 1. รถมาตรฐาน 2 จ. แบบประกันที่นั่ง ให้จัดเก็บค่าโดยสารไม่เกิน 40 บาทต่อคนต่อเที่ยว 2. รถมาตรฐาน 2 ค. แบบประกันที่นั่ง ให้จัดเก็บค่าโดยสารไม่เกิน 30 บาทต่อคนต่อเที่ยว 3. รถมาตรฐาน 2 ง. แบบไม่ประกันที่นั่ง (มีที่ยืน) ให้จัดเก็บค่าโดยสารไม่เกิน 20 บาทต่อคนต่อเที่ยว | 7/2551 22 เมษายน 2551 |
2.4 รถตู้โดยสารปรับอากาศ | 1. ระยะ 10 กม.แรก กม.ละไม่ เกิน 1 บาท ส่วนที่เกิน 10 กม. กม.ละไม่เกิน 0.60 บาท รวมกับ ค่าทางด่วน (สำหรับเส้นทางที่ ใช้ทางด่วน) ไม่เกิน 5 บาทต่อ คนต่อเที่ยว 2. ให้ปรับอัตราค่าโดยสารตามข้อ 1 เพิ่มขึ้น 2 บาทต่อคนต่อเที่ยวทุกเส้นทาง | 4/2549, 1 กุมภาพันธ์ 2549 |
ตารางแสดงอัตราค่าโดยสาร สำหรับรถหมวด 4 ในเขตกรุงเทพมหานคร
ประเภทรถ หมวด 4 | ค่าโดยสาร (บาท) | มติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ครั้งที่ , วันที่ |
1. รถโดยสารธรรมดา |
|
|
1.1 รถมาตรฐาน 3 [รถโดยสารธรรมดา] | ไม่เกิน 8.00 | 22/2551, 16 ธันวาคม 2551 |
1.2 รถมาตรฐาน 3 [รถโดยสารธรรมดาเดิมและหรือรถโดยสารสองแถว] | 7.00 | 3/2555, 25 เมษายน 2555 |
2. รถโดยสารปรับอากาศ |
|
|
2.1 รถมาตรฐาน 2 (รถโดยสารปรับอากาศ) | 0 - 8 กม. ค่าโดยสารไม่เกิน 9.00 บาท 8 - 12 กม. ค่าโดยสารไม่เกิน 11.00 บาท 12 - 16 กม. ค่าโดยสารไม่เกิน 13.00 บาท 16 - 20 กม. ค่าโดยสารไม่เกิน 15.00 บาท 20 -24 ก.ม. ค่าโดยสารไม่เกิน 17.00 บาท | 22/2551, 16 ธันวาคม 2551 |
2.2 รถมาตรฐาน 2 (รถโดยสารปรับอากาศมาตรฐาน EURO หรือเทียบเท่า) | 0 – 4 ก.ม. ค่าโดยสารไม่เกิน 12.00 บาท 4 - 8 กม. ค่าโดยสารไม่เกิน 14.00 บาท 8 - 12 กม. ค่าโดยสารไม่เกิน 16.00 บาท 12 - 16 กม. ค่าโดยสารไม่เกิน 18.00 บาท 16 - 20 กม. ค่าโดยสารไม่เกิน 20.00 บาท 20 – 24 ก.ม. ค่าโดยสารไม่เกิน 22.00 บาท 24 ก.ม.ขึ้นไป ค่าโดยสารไม่เกิน 24.00 บาท | 22/2551, 16 ธันวาคม 2551 |
ค่าธรรมเนียมเพิ่มรถวิ่งกลางคืน(22.00 – 05.00 น.) |
เพิ่มค่าบริการ 2.00 บาทตลอดสาย |
3/2555, 25 เมษายน 2555 |
2. อัตราค่าโดยสารรถโดยสารประจำทางหมวด 2 หมวด 3
2.1 รถหมวด 2 หมายถึง เส้นทางซึ่งมีจุดเริ่มต้นจากสถานีขนส่งกรุงเทพฯ และไปสิ้นสุดเส้นทางในจังหวัดต่างๆ ในส่วนภูมิภาค เช่น กรุงเทพฯ - เชียงใหม่ และ กรุงเทพฯ - หาดใหญ่ เป็นต้น
2.2 รถหมวด 3 หมายถึง เส้นทางซึ่งมีจุดเริ่มต้นในจังหวัดหนึ่ง และไปสิ้นสุดเส้นทางในอีกจังหวัดหนึ่งในส่วนภูมิภาค ระหว่างกลางเส้นทางอาจจะผ่านเขตจังหวัดต่างๆ จังหวัดเดียวหรือหลายจังหวัดก็ได้ เช่น สระบุรี - หล่มสัก และ เชียงใหม่ - ตาก เป็นต้น
การคำนวณค่าโดยสารรถประจำทางหมวด 2 หมวด 3 คิดเป็นอัตราต่อกิโลเมตร โดยคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางได้กำหนดอัตราค่าโดยสาร ในการประชุมครั้งที่ 3/2555 เมื่อวันที่ 25 เมษายน 2555 ได้อนุมัติให้ใช้อัตราดังนี้
อัตรา | อัตรา ก. | อัตรา ข. | อัตรา ค. |
ระยะทาง | |||
40 กม.แรก กม.ละ | 0.55 | 0.60 | 0.65 |
ระยะทาง 40 - 100 กม.ๆ ละ | 0.50 | 0.55 | 0.60 |
ระยะทาง 100 - 200 กม.ๆ ละ | 0.46 | 0.51 | 0.56 |
ระยะทาง 200 กม. ขึ้นไป กม.ๆ ละ | 0.42 | 0.47 | 0.52 |
ในกรณีที่คำนวณค่าโดยสารได้ต่ำกว่า 8 บาท ให้คิดค่าโดยสารเท่ากับ 8 บาท |
ค่าโดยสารตามลักษณะถนน
อัตราค่าโดยสารข้างต้นเป็นอัตราสำหรับถนนลาดยาง (อัตรา ก.) สำหรับถนนอื่น ๆ ค่าโดยสารจะเพิ่มขึ้น ดังนี้
1. ถนนถนนลูกรัง (อัตรา ข.) หรือทางขึ้นลงเขาซึ่งมีความลาดชันตั้งแต่ร้อยละ 4 ขึ้นไป เป็นระยะทางไม่น้อยกว่าร้อยละ 25 ของช่วงทางขึ้นลงเขานั้น ให้ค่าโดยสารเพิ่มขึ้นอีก ก.ม. ละ 0.05 บาท เฉพาะระยะทางที่เป็นลูกรังหรือทางขึ้นลงเขา
2. ทางชั่วคราว (อัตรา ค.) หรือทางขึ้นลงเขา ซึ่งมีความลาดชันตั้งแต่ร้อยละ 4 ขึ้นไป เป็นระยะทางไม่น้อยกว่าร้อยละ 45 ของช่วงทางขึ้นลงเขานั้น ให้ค่าโดยสารเพิ่มขึ้นอีก ก.ม. ละ 0.10 บาท เฉพาะระยะทางที่เป็นลูกรังหรือทางขึ้นลงเขา
ค่าธรรมเนียมรถปรับอากาศ
อัตราค่าโดยสารดังกล่าวเป็นอัตราค่าโดยสารของรถโดยสารประจำทางธรรมดา (ไม่ปรับอากาศ) สำหรับรถปรับอากาศ ให้คิดค่าธรรมเนียมสำหรับรถปรับอากาศตาที่กำหนดไว้เดิม คือ
อัตราค่าโดยสารรถประจำทางหมวด 1 หมวด 4 และรถขนาดเล็ก ส่วนภูมิภาค
3.1 รถหมวด 1 ส่วนภูมิภาค หมายถึง เส้นทางรถโดยสารประจำทาง ซึ่งมีระยะทางส่วนใหญ่อยู่ภายในเขตเทศบาลใดเทศบาลหนึ่ง เพื่อบริการประชาชนในเขตเทศบาลและพื้นที่ใกล้เคียง
3.2 รถหมวด 4 ส่วนภูมิภาค หมายถึง เส้นทางรถโดยสารประจำทางที่มีจุดต้นทางปลายทางอยู่ระหว่างจังหวัดกับอำเภอในจังหวัดเดียวกัน หรือระหว่างอำเภอกับอำเภอภายในจังหวัดเดียวกัน
3.3 รถขนาดเล็ก หมายถึง การขนส่งคนและสิ่งของด้วยรถที่มีน้ำหนักรถและน้ำหนักบรรทุกรวมกันไม่เกิน 4,000 ก.ก.
คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางในการประชุมครั้งที่ 18/2546 เมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน 2546 อนุมัติการกระจายอำนาจให้คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัด พิจารณากำหนดอัตราค่าโดยสาร รถโดยสารประจำทางหมวด 1 ส่วนภูมิภาค หมวด 4 ส่วนภูมิภาค รถขนาดเล็ก และรถโดยสารไม่ประจำทางเพื่อการรับจ้างที่บรรทุกผู้โดยสารได้เกิน 7 คน แต่ไม่เกิน 9 คนภายในจังหวัด พร้อมทั้งกำหนดหลักเกณฑ์ในการพิจารณากำหนดอัตราค่าโดยสารไว้ด้วย โดยให้ถือว่าอัตราค่าโดยสารที่คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดพิจารณากำหนดตามหลักเกณฑ์ดังกล่าวเป็นอัตราค่าโดยสารที่ได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางแล้ว ดังนั้น ปัจจุบันอัตราค่าโดยสารสำหรับรถโดยสารประจำทางภายในแต่ละจังหวัดจะมีค่าโดยสารที่แตกต่างกันได้ ขึ้นอยู่กับสภาพต้นทุนการเดินรถในแต่ละจังหวัด