สูตรกระเทียมผสมน้ำมันมะพร้าว....สุดยอดต้านอนุมูลอิสระ

uttaradit profile image uttaradit

สูตรกระเทียมผสมน้ำมันมะพร้าว....สุดยอดต้านอนุมูลอิสระ

                วันนี้นำเสนอกระเทียมกับน้ำมันมะพร้าวค่ะ เพราะคนที่มีสภาวะโรคหัวใจแล้วจำเป็นต้องมีQ10   ซึ่งต้องมีน้ำมันมาทำละลายเค้าและต้องไม่ผ่านความร้อนค่ะ รูปแบบอาหารเป็นยานะคะสูตรกระเทียมผสมน้ำมันมะพร้าว คือการนำน้ำมันมะพร้าวแบบสกัดเย็น (COLD PRESS) มาทานรวมกับกระเทียม จะเป็นกระเทียมสดหรือกระเทียมแคปซูลก็ได้

ประโยชน์
- กระตุ้นและเพิ่มภูมิคุ้มกันให้แก่ร่างกาย หยุดยั้งไวรัสและแบคทีเรียต่างๆได้ เช่น หวัด โรคกระเพาะ อาหารเป็นพิษ
- ช่วยเลือดไหลเวียนดี ละลายลิ่มเลือด ลดความดัน
- บำรุงตับ สามารถรักษาโรคตับแข็ง ไวรัสตับอักเสบ A,B,C และลดความเป็นพิษต่อตับของเห็ดมีพิษได้
- ป้องกันและบรรเทาปัญหาแทรกซ้อนของโรคเบาหวาน
- ป้องกันโรคต้อกระจก และโรคตาต่างๆ
- ป้องกันโรคหัวใจ
- โรคเส้นโลหิตในสมองแตก
- เพิ่มการทำงานของวิตามิน C และ E, กลูตาไธโอนและ Q10 และสามารถหมุนเวียนกลับมาใช้ได้อีก
- สามารถปิดสวิทซ์ของรหัสพันธุกรรมที่เร่งขบวนการชราภาพและปิดสวิทซ์การเกิดโรคมะเร็งได้
- ล้างและกำจัดสารพิษในร่างกายได้ดี
- ลดความอ้วน

                ชาวเอเชียรวมทั้งรุ่นปู่ย่าของเราล้วนใช้กันมานานแล้ว และ 40 ปีที่แล้ว นักวิจัยชาวเยอรมันได้แยกส่วนสำคัญ 2 อย่างออกมา ตั้งชื่อสารอาหารนี้ใหม่ว่ากรดอัลฟ่าไลโปอิก (ALPHA LIPOIC) เป็น SUPER ANTIOXIDANT หรือ UNIVERSAL ANTIOXIDANT คือสารต่อต้านอนุมูลอิสระครอบจักรวาลเพื่อใช้รักษาโรคปลายประสาทอักเสบจากเบาหวาน อาหารไม่ย่อย และให้เป็นอาหารสำหรับเด็กทารกที่มีปัญหาเรื่องระบบการย่อย

               ปัจจุบันมีการค้นคว้าเพิ่มเติมมากมายของคุณสมบัติสุดยอดสาร ANTIOXIDANT ที่มีสรรพคุณดังนี้
สาระสำคัญ 2 อย่างที่ว่ามี กรดไขมันขนาดกลาง C8 กรดคาปริลิก (CAPRILIC ACID ) และกำมะถัน (SULFUR) 2 โมเลกุลปัจจุบันทางบริษัทผู้ผลิตแจ้งว่าสกัดมาจาก บล็อกโคลี, ผักโขม, เนื้อวัว

                - แต่น้ำมันมะพร้าวเป็นน้ำมันชนิดเดียวในโลกที่มีกรดไขมันขนาดกลางสูงสุดถึง 63% ประกอบด้วย C8 กรดคาปริลิก,C10 กรดคาปริก, C12 กรดลอริก กรดไขมันทั้ง 3 ตัวทำงานคล้ายกันและส่งเสริมการทำงานซึ่งกันและกัน เราจึงนำมาใช้งานร่วมกันได้ ไม่ต้องแยกใช้

                - กระเทียมมีสารประกอบกำมะถันสูงมาก และยังมีสารสำคัญอีก 30 กว่าชนิด

 

 


                ถ้าเรานำน้ำมันมะพร้าว + กระเทียม สิ่งที่เราได้จากธรรมชาติ ไม่ต้องหาซื้ออาหารเสริมอย่างกรดอัลฟ่าไลโปอิก (1 ขวดมี 60 เม็ด ราคา 2,000 กว่าบาท) โดยนำน้ำมันมะพร้าวและกระเทียมทานเป็นประจำเหมือนรุ่นปู่ย่าเราในสมัยก่อน ช่วยทำให้ร่างกายเราแข็งแรงขึ้นอีกมาก และหาได้ง่ายๆในสังคมของเรา ไม่ต้องหาซื้อจากต่างประเทศ ต้องขอบคุณนักค้นคว้าที่ได้และวิจัยถึงคุณสมบัติอันสุดยอดของสารอาหารนี้ ทำให้เราตระหนักและได้นำความเป็นธรรมชาติที่มีอยู่นำกลับมาใช้อีกครั้งหนึ่ง

วิธีใช้
1.น้ำมันมะพร้าวสกัดเย็นไม่ผ่านความร้อน(ปราศจากการแต่งกลิ่นสังเคราะห์) 1 ช้อนโต๊ะ
2.กระเทียมสด 3-5 กลีบเล็ก หรือ กระเทียมแคปซูล 2-3 แคปซูล
- ทานก่อนอาหาร ครึ่งชั่วโมงช่วยลดความอ้วน หรือ
- ทานพร้อมอาหารหรือหลังอาหาร เพิ่มมวลกล้ามเนื้อ
- ทาน 2-3 มื้อ

                ความรู้ในบทความนี้อัลฟ่าไลโปอิคแอซิด : แอนติออกซิแดนท์ทุกเหตุการณ์ โดย : Sherry A.Rogers,M.D. มนุษย์มีชีวิตอยู่ได้ก็ด้วยปฏิกิริยาเคมีต่างๆหลายพันชนิดที่เกิดขึ้นในแต่ละวินาทีในปฏิกิริยาเหล่านี้ เราได้ยักย้ายถ่ายเทอีเลคตรอนไปมาเพื่อเปลี่ยนแปลงอาหารให้กลายเป็นพลังงานสำหรับระบบร่างกาย ขับของเสีย และขจัดสารพิษที่เกิดจากสารเคมีที่รับประทานหรือหายใจเข้าไป การถ่ายเทอีเลคตรอนมีลักษณะเหมือนเล่นเก้าอี้ดนตรี คือมักจะมีอีเล็คตรอนเหลือตกค้างที่ไม่มีที่อยู่ในโมเลกุลใดๆอยู่ด้วย

                อีเลคตรอนโดดเดี่ยว (orphan electrons) เหล่านี้มีชื่อเรียกว่าฟรีแร็คดิคัล จะทำทุกอย่างเพื่อหาที่อยู่ของตัวเองให้ได้ มันจะทะลวงเข้าไปที่เยื่อบุเซลหรือเอนไซม์เพื่อที่จะเข้าไปอยู่ในโมเลกุล และนั่นก็ทำให้เกิดความเสียหายขึ้นกับเนื้อเยื่อและเอนไซม์ การที่อีเลคตรอนไปทำลายเนื้อเยื่อทำให้เกิดปฏิกิริยาเปอร์ออกซิเดชั่นของไขมันเนื่องจากเนื้อเยื่อประกอบขึ้นจากไขมัน ทำให้เกิดรูในส่วนที่ถูกออกซิไดซ์ แล้วทำให้การทำงานของเนื้อเยื่อลดลงทำให้เซลตายเร็วกว่าเวลาอันควรทำให้ขาดสารอาหาร และไปทำให้เกิดความเครียดต่อระบบร่างกายได้หลายๆทาง ฟรีแร็คดิคูลหรืออนุมูลอิสระเป็นต้นเหตุของการเป็นโรคหลายอย่างและชราภาพ ดังนั้นเราจะได้เปรียบขึ้นหากพยามทำให้เกิดน้อยที่สุด มีฟรีแร็ดดิคัลอยู่หลายชนิด แต่ละชนิดมีหน้าที่ต่างกันและต้องใช้สารแอนติออกซิแดนท์ที่ต่างกันออกไปเพื่อขจัดพิษและควบคุมมัน เช่น

- แร็ดดิคัลเดี่ยวของออกซิเจนเป็นฟรี แร็ดดิคัลที่สามารถจัดการได้ด้วย บีท่าแคโรทีน
- แร็ดดิคัลของเปอร์ออกซิล (peroxyl radical) สามารถจัดการได้ด้วย วิตามิน อี
- แร็ดดิคัลของไฮดร็อกซิล (hydroxyl radical) กำจัดได้ด้วยกลูตาไธโอน
- ออกซิลแร็ดดิคัล (oxyl radical) ด้วยโคคิว 10

                สารแอนติออกซิแดนท์อื่นๆอย่างเช่นไวตามินซี สามารถขับไล่พิษจากโลหะหนักซึ่งจะไปทำให้เกิดฟรีแร็ดดิคัลในภายหลังได้ ไวตามิน ซี ยังสามารถทำให้ไวตามีน อี นำกลับมาใช้ได้ใหม่อีกครั้งเมื่อไวตามิน อี ทำการกำจัดเปอร์ออกซิลแร็คดิคัล ตัวมันเองก็จะสูญเสียอีเลคตรอนและไม่สามารถกำจัดฟรีแร็ดดิคัลได้อีกต่อไป ไวตามีน ซี จะเป็นตัวให้อีเลคตรอนที่ขาดนี้และทำให้ไวตามิน อี สามารถกลับมาทำงานได้อีก

                แต่ถ้ามีสารแอนติออกซิแดนท์ชนิดหนึ่งซึ่งสามารถจัดการกับฟรีแร็ดดิคัลในรูปแบบต่างๆได้จะเกิดอะไรขึ้น สารอาหารอย่างเดียวอาจทำงานทั้งหมดนี้ได้และยังอาจทำงานบางอย่างที่สารแอนติออกซิแดนท์ตัวอื่นๆไม่สามารถทำได้อีกด้วย นั้นคือทำให้สารอาหารที่สำคัญๆกลับคืนสภาพมาใช้งานกำจัดพิษได้ใหม่อีกครั้ง แล้วสารนี้เรียกว่าไลโปอิคแอซิด จากงานวิจัยระบุว่ามันอาจจะไม่เพียงแต่ยังช่วยทำให้ไวตามินอี กลับมาใช้งานได้ใหม่เท่านั้นแต่ยังรวมไปถึง กลูตาไธโอน,ไวตามินซี,โคคิว10, และเอนไซม์สำหรับกระบวนการเมตาโบลิซึ่มอื่นๆ ด้วย

                ร่างกายเราใช้ไลโปอิคแอซิดสำหรับเมตาโบลิซึ่มในเซล เนื่องจากเป็น กรดไขมันที่มีความยาวขนาดกลาง (medium-Chain fatty acid) ทำให้ร่างกายดูดซึมได้ง่าย เมื่ออยู่ในเซลไลโปอิคแอซิดจะถูก reduce (ซึ่งเป็นปฏิกิริยาเคมีชนิดหนึ่ง ที่สามารถถ่ายทอดพลังแก่คนอื่น) ทำให้เป็นไดโฮโดรไลไปอิคแอซิด ซึ่งเป็นสารแอนติออกซิแดนท์ที่ทรงประสิทธิภาพในการทำลายพวกซุปเปอร์ออกไซด์ไฮโดรเปอร์ออกซิล และไฮดร็อกซิลแร็ดดิคัลทั้งหลาย เมื่อตัวมันให้อีเลคตรอนเพื่อไปทำให้แอนติออกซิแดนท์อื่นๆใช้การได้อีกครั้ง ตัวเองก็ยิ่งกลับทรงพลังมากยิ่งขึ้นไปอีกโดยยังไปสามารถกำจัดฟรีแร็คดิคัลได้อีกทั้งๆที่ตัวเองอยู่ในรูป reduced form (คือให้อีเลคตรอนแก่คนอื่นไปแล้ว-ผู้แปล) แล้วซึ่งเป็นสิ่งที่สารอื่นทำไม่ได้

                ร่างกายสร้างไลไปอิคแอซิดขึ้นมาได้ แต่ก็ไม่ได้ใกล้เคียงกับปริมาณที่เราจะเอาไปใช้ได้เลยเมื่อคิดถึงว่าในร่างกายมีปฏิกิริยาเคมีอยู่มากมายเท่าใดที่ต้องจัดการนอกเหนือไปจากเป็นสารแอนติออกซิแดนท์สารพัดประโยชน์และช่วยทำให้สารแอนติออกซิแดนท์อื่นกลับมาใช้งานได้อีกครั้ง แล้วไลโปอิคแอซิดยังเป็นตัวต่อต้านการเพิ่มจำนวนของไวรัสเอชไอวี และยังช่วยเพิ่มแอนติบอดี้เพื่อต่อต้านกับไวรัสเอชไอวีอีกด้วย

                ไลโปอิคแอซิดยังช่วยลดความเสียหายซึ่งทำให้เกิดโรค arteriosclerosis (ผนังหลอดเลือดแดงหนาและสูญเสียความยืดหยุ่น ) ซึ่งกระบวนการที่ชื่อว่า กลัยโคซิเลชั่น (glycosylation) โดยไลโปอิคแอซิด ช่วยให้ปฏิกิริยานี้เกิดสภาพเป็นกลาง ทำให้การเกิดผนังหลอดเลือดหนาและแข็งนี้เกิดช้าลง ทั้งนี้ยังรวมไปถึงอาการข้างเคียงอื่นที่เกิดจากผนังหลอดเลือดหนาแข็งในผู้ป่วยเบาหวาน ซึ่งได้แก่โรคหัวใจ, อาการข้างเคียงจากระบบประสาท,ต้อกระจก,เรติน่าอักเสบจากเบาหวาน,และตาบอด,และอื่นๆอีกมากมาย

                การศึกษาต่างๆยังระบุว่า ไลโปอิคช่วยป้องกันตับจากการทำลายของสารเคมี และจากสารอัลดีไฮด์ ซึ่งอย่างหนึ่งเกิดจากเชื้อรา Candida ที่ไปทำให้เกิด หมอกในสมองและอาการอื่นๆอีกมากโดยการผลิตอัลดีไฮด์ส่วนเกินออกมา อัลดีไฮด์เป็นสารที่เกิดขึ้นในร่างกายระหว่างการแยกสลายสารแปลกปลอม และตัวเองจะกลายเป็นพิษหากเกิดคอขวดขึ้นโดยเกิดปฏิกิริยาเปลี่ยนเป็นสารอื่นไม่ทันทำให้เกิดการสะสมขึ้นอัลดีไฮด์ทำให้หลอดเลือดหนาแข็งตัว,แก่ชรา,ผลด้านลบที่มีต่อพิษสุราเรื้อรัง และโรคทั้งหมดที่เกิดจากเอนไซม์ที่ถูกทำลายกับเนื้อเยื่อที่ต้องทำงานเกี่ยวข้อง ซึ่งไลโปอิคแอซิดอาจช่วยป้องกันความเสียหายที่เกิดจากอัลดีไฮด์เหล่านี้ได้

                ไลโปอิคแอซิดยังยับยั้งหรือชะลอการเป็นพิษในระบบประสาทหรือความเสียหายของประสาทหรือความเสียหายของประสาทจากสารเคมีที่สูดดมเข้าไป จึงเป็นสารอาหารสำคัญสำหรับผู้ที่ไวต่อสารเคมีและไม่สามารถจัดการกับสารเคมีเหล่านั้นได้ดีเท่ากับผู้อื่น ไลโปอิคแอซิดยังอาจช่วยป้องกันการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรมซึ่งก่อให้เกิดมะเร็งได้ด้วย

                แม้ว่ายังต้องการการวิจัยเพิ่มเติม แต่การศึกษาเกี่ยวกับไลโปอิคแอซิดในปัจจุบันก็ให้ผลที่น่าเชื่อถือผู้เขียน (Sherry A. Rigers, M.D.) ยังไม่สามารถนึกถึงสารอาหารอื่นที่ให้ผลดีได้เท่านี้และดูเหมือนจะไม่มีผลข้างเคียงแต่อย่างใด ปริมาณที่แนะนำขึ้นอยู่กับระดับของสารอาหารอื่นและความต้องการปริมาณเริ่มต้นที่ดีอยู่ระหว่าง 50 ถึง 100 ม.ก. วันละ 2 ถึง 3 ครั้ง แต่ไลโปอิคแอซิดก็เหมือนกับอาหารเสริมอื่น คือ ควรมีความสมดุลกับโปรแกรมโภชนาการ โดยรวมทั้งหมดโดยขอคำแนะนำได้จากผู้เชี่ยวชาญ
กรดอัลฟ่าไลโปอิคแอซิดมีโครงสร้างประกอบด้วย
- กรดไขมันขนาดกลาง CAPRYLIC:8
- กำมะถัน

น้ำมันมะพร้าวบริสุทธิ์ (VIRGIN COCONUT) ประกอบด้วย
- วิตามินอีโทโคไทรอีนอล (TOCOTRIENOL) ซึ่งมีอนุภาพสูงกว่าวิตามินอีโทโคเฟอรอล (TOCOPHEROL) ถึง 40 – 60 เท่า มีหน้าที่ปกป้องอนุมูลอิสระ
- กรดไขมันขนาดกลาง (MEDIUMCHAIN FATTY ACID)
- CAPROIC : 6 0.4%
- CAPRYLIC : 8 7.3%
- CAPRIC : 10 6.6%
- LAURIC : 12 48%

ประโยชน์กรดไขมันขนาดกลาง 6 -12 โมเลกุล
มีหน้าที่ช่วยสร้างภูมิคุ้มกันและสามารถทำลายเชื้อโรค ทั้งแบคทีเรีย เชื้อรา ยีสต์ โปรโตซัวและไวรัส กรดไขมันขนาดกลางจะช่วยส่งเสริมการทำงานซึ่งกันและกัน

กระเทียม
มีสารประกอบกำมะถันมากได้แก่ ALLIN, METHYLCYSTEINE SULFOXIDE และ R-GUUTAMYL-S-TRANS-L-PROPENY CYSTEINNE และมีสารสำคัญอื่นอีก 33 ชนิด

ประโยชน์ของกระเทียม
1.ป้องกันโรคหัวใจ ลดการอุดตันของเส้นเลือด ลดคอเลสเตอรอล เพิ่มการไหลเวียนของเลือด
2.ฟอกเลือดโดยขับสารพิษออกจากเลือด ทำความสะอาด และทำให้เลือดไหลเวียนดี ลดความดันเลือด
3.ลดความหนืดของหลอดเลือด ละลายลิ่มเลือด ซึ่งเป็นสาเหตุของอัมพฤกษ์และอัมพาตได้
4.ป้องกันโรคมะเร็งในต่อมลูกหมากถึง 50%, ลดความเสี่ยงจากมะเร็งโรคกระเพาะอาหาร, ลำไส้ใหญ่,     เต้านม
5.เสริมสร้างภูมิคุ้มกันของร่างกายและยังมีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อโรค ไวรัส และเชื้อราอีกด้วย
6.มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระอย่างแรง และโรคเสื่อมต่างๆ
7.ปรับระดับน้ำตาลในเลือดให้ปกติ ลดไตรกลีเซอไรด์และคอเลสเตอรอล
8.ป้องกันระบบทางเดินหายใจเช่น หวัด น้ำมูกไหล
9.เป็นยาอายุวัฒนะ บำรุงสุขภาพ

ความคิดเห็น

ประกาศล่าสุดในบอร์ดเดียวกัน

uttaradit Icon GPS ตามที่กรมการขนส่งกำหนด อ่าน 1,006 8 ปีที่ผ่านมา
8 ปีที่ผ่านมา
8 ปีที่ผ่านมา
8 ปีที่ผ่านมา
8 ปีที่ผ่านมา
8 ปีที่ผ่านมา
8 ปีที่ผ่านมา
8 ปีที่ผ่านมา
8 ปีที่ผ่านมา