ความปลอดภัยในการใช้แบตเตอรี่

uttaradit profile image uttaradit

ความปลอดภัยในการใช้แบตเตอรี่

 

         แบตเตอรี่เป็นอุปกรณ์สำหรับจัดเก็บไฟฟ้า ไม่ได้ทำหน้าที่ในการผลิตไฟฟ้า  ซึ่งเราสามารถประจุไฟฟ้าเข้าไปใหม่ (recharge) ได้หลายครั้ง และประสิทธิภาพจะไม่เต็ม 100% จะอยู่ที่ประมาณ 80% เพราะมีการสูญเสียพลังงานบางส่วนไปในรูปความร้อนและปฏิกิริยาเคมีจากการประจุ/จ่ายประจุนั่นเอง
แบตเตอรี่จัดเป็นอุปกรณ์ที่มีราคาแพงและเสียหายได้ง่าย   หากดูแลรักษาไม่ดีเพียงพอหรือใช้งานผิดวิธี รวมถึงอายุการใช้งานของแบตเตอรี่แต่ละชนิดจะแตกต่างกันไป เนื่องด้วยวิธีการใช้, การบำรุงรักษา, การประจุและอุณหภูมิ ฯลฯ โดยสามารถจำแนกแบตเตอรี่ออกได้ 2 กลุ่มสำคัญๆ คือ ตามการใช้งาน   และประเภทของโครงสร้าง

       การเคลื่อนย้ายแบตเตอรี่ ต้องทำอย่างระมัดระวัง ภายในแบตเตอรี่จะประกอบด้วยกรดกำมะถัน (sulfuric acid) และแผ่นสารประกอบระหว่างตะกั่วกับพลวง หรือ ตะกั่วกับแคลเซียมที่เปราะบาง บรรจุอยู่ในภาชนะที่ทำจากพลาสติก หรือยางแข็งซึ่งอาจชำรุดเสียหายได้จากการเคลื่อนย้ายที่ไม่ระมัดระวัง

การประกอบขั้วแบตเตอรี่  ควร ประกอบด้วยความระมัดระวัง ขันน็อตรัดขั้วแบตเตอร์รี่ให้แน่นพอควร การใช้ค้อนตอกขั้วแบตเตอรี่ หรือการขันน็อตรัดขั้วแบตเตอรี่แน่นเกินไปจะทำความเสียหายให้กับแบตเตอรี่ได้   

การถอดขั้วแบตเตอรี่ก็ต้องทำด้วยความระมัดระวังเช่นเดียวกัน

       น้ำกรดที่ใช้ในแบตเตอรี่ คือ กรดกำมะถัน ซึ่งจะมีความเข้มข้นสูงเมื่อมีการชาร์จไฟเต็ม และเจือจางลงเมื่อมีการคายประจุไฟฟ้าออกจากตัวแบตเตอรี่ น้ำกรดนี้จะมีผลในการทำลายเนื้อเยื่ออย่างรุนแรง  เนื่องจากมีสัดส่วนผสมระหว่างน้ำกรดและน้ำสูงถึง 36/64 % มันสามารถกัดทะลุเสื้อผ้า ผิวหนัง และทำให้ตาบอดได้ แม้จะอยู่ในสภาพที่มีประจุไฟฟ้าอยู่น้อย  ซึ่งมีความเข้มข้นของกรดที่ 12% ก็ตาม   ควรหลีกเลี่ยงการเอียงแบตเตอร์รี่  เพราะจะทำให้น้ำกรดหกกระเด็นออกมาทำอันตรายหรือทำความเสียหายได้   แบตเตอรี่ชนิดเปียก  (ชนิด ที่มีที่เติมน้ำกรด) จะปล่อยไอของไฮโดรเจน และไอของออกซิเจนออกมาในขณะที่มีการชาร์จไฟเข้าหรือคายประจุไฟฟ้าออกจากแบตเตอร์รี่ ซึ่งเมื่อผสมกันดีแล้วจะระเบิดได้ถ้ามีประกายไฟหรือเปลวไฟอยู่ในบริเวณนั้น

       การตรวจวัดระดับน้ำกรดในแบตเตอรี่ควรใช้ไฟฉายส่องดู ห้ามใช้ไม้ขีดไฟจุดส่องดูเป็นอันขาด

การ ถอดใส่ขั้วแบตเตอรี่ต้องลำดับให้ถูกต้อง การถอดขั้วแบตเตอรี่ต้องเริ่มจากการถอดขั้วลบก่อน การใส่ขั้วแบตเตอรี่ต้องใส่ขั้วลบเป็นลำดับสุดท้าย   และห้ามทำการใดๆกับแบตเตอรี่ขณะติดเครื่องยนต์ เนื่องจากอาจเกิดประกายไฟขึ้นได้ควร ใช้อุปกรณ์ทดสอบในการทดสอบกำลังไฟฟ้าในแบตเตอรี่ ห้ามใช้การช็อตขั้วแบตเตอรี่ในการทดสอบ แม้จะเป็นแบตเตอรี่ที่มีประจุไฟฟ้าเหลืออยู่น้อยแล้วก็ตาม   เพราะยังสามารถทำให้เกิดประกายไฟเพียงพอที่จะจุดส่วนผสมของไอของไฮโดรเจนและออกซิเจนทำให้เกิดการระเบิดได้   และนอกจากนี้ การต่อสายไฟตรงระหว่างขั้วแบตเตอรี่ทั้งสองขั้วอาจทำให้มือไหม้พองได้

 

 

วิธีเลือกแบตเตอรี่

แบตเตอรี่มีอายุการใช้งานที่จำกัดและต้องเปลี่ยนลูกใหม่เมื่อได้เวลา มีข้อควรพิจารณาเลือกแบตเตอรี่ที่จะนำมาเปลี่ยนใหม่เช่น

           - ขนาดภายนอก ขนาด ของแบตเตอรี่ที่จะนำมาเปลี่ยนใหม่ต้องมีขนาดพอเหมาะที่จะวางลงบนถาดและยึด แน่นได้ บางครั้งอาจมีพื้นที่เหลือเฟือ แบตเตอรี่ที่นำมาเปลี่ยนต้องไม่มีขนาดใหญ่จะไม่สามารถวางได้อย่างเหมาะเจาะ และต้องยึดให้แน่นหนามั่นคง

            - ขนาด ปริมาณความจุทางไฟฟ้า มีวิธีในการวัดขนาดปริมาณความจุทางไฟฟ้าของแบตเตอรี่ได้ สอง วิธี

              - การวัดกำลังที่อุณหภูมิต่ำ (Cold power rating or cold cranking amps) คือการวัดค่ากระแสไฟที่ใช้ในการหมุนเครื่องขณะอุณหภูมิต่ำ (0º F) เป็นเวลา 30 วินาที  โดยรักษาค่าความต่างศักดิ์ทางไฟฟ้าไว้ที่ไม่ต่ำกว่า 7.2 volts ควรเลือกแบตเตอรี่ตามขนาดของเครื่องยนต์ เครื่องยนต์สี่สูบขนาดเล็กย่อมต้องการขนาดปริมาณความจุทางไฟฟ้าของแบตเตอรี่ ต่ำกว่าเครื่องยนต์ แปดสูบขนาดใหญ่

              2. ความจุไฟฟ้าสำรอง (Reverse capacity) คือจำนวนตัวเลขที่บอกค่าของเวลาเป็นนาที ที่แบตเตอรี่สามารถจ่ายไฟขนาด 25 amp. ที่อุณหภูมิ 80º F โดยรักษาค่าความต่างศักดิ์ทางไฟฟ้าไว้ที่เกิน 10.5 volts มันบอกให้รู้ว่าเมื่อระบบการชาร์จไฟไม่ทำงานแล้ว เครื่องจะสามารถทำงานได้อีกนานเท่าใด กระแสไฟฟ้าขนาด 25 amp.เป็น ขนาดกำลังไฟฟ้าที่เพียงพอกับการทำงานของระบบจุดระเบิดของเครื่องยนต์ ไฟหน้า และอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ใช้งานอยู่ตามปกติ ตัวเลขนี้ยิ่งมีค่าสูง ยิ่งมีกำลังสำรองสูง

               - แบตเตอรี่ แห้ง และแบตเตอรี่ที่เติมน้ำกรดไว้แล้ว ผู้แทนจำหน่ายอาจเก็บแบตเตอรี่ไว้รอจำหน่ายโดยยังไม่เติมน้ำกรด ในลักษณะของแบตเตอรี่แห้ง ซึ่งต้องเติมน้ำกรดและชาร์จไฟกระตุ้นเล็กน้อยก่อนทำการติดตั้งลงในรถ หรืออาจเก็บแบตเตอรี่ที่เติมน้ำกรดไว้เรียบร้อยแล้วเพื่อรอจำหน่ายซึ่งอาจ ต้องทำการชาร์จไฟก่อนนำไปติดตั้งเช่นกัน แบตเตอรี่ที่เติมน้ำกรดไว้แล้ว ถ้าไม่ได้มีการชาร์จไฟเป็นระยะๆแล้วอาจเกิดการชำรุดเสียหายอย่างถาวรได้

               - แบตเตอรี่ แบบแห้งมีข้อดีที่สามารถเก็บรักษาได้เป็นเวลานานกว่าโดยปกติแล้ว แบตเตอรี่ที่เติมน้ำกรดไว้แล้วจะพร้อมจัดส่งให้ผู้ใช้โดยไม่ต้องทำการชาร์จ ไฟก่อนหรืออาจชาร์จไฟเพียงเล็กน้อย

               - แบตเตอรี่ชนิดที่ไม่ต้องตรวจเติมน้ำกรด (Free maintenance battery) มีโครงสร้างต่างจากแบตเตอรี่ทั่วไป แผ่นธาตุภายในทำจากตะกั่ว-แคดเมียม แทน ตะกั่ว-พลวง ซึ่งคายไอของก๊าซออกมาจากน้ำกรดน้อยกว่าทำให้การสูญเสียน้ำกรดน้อยกว่า การเก็บรอจำหน่ายจะเป็นแบตเตอร์รี่ที่เติมน้ำกรดไว้แล้ว แบตเตอรี่ชนิดนี้มีอายุการจัดเก็บนานเนื่องจากมีการคายประจุไฟเพียงเล็กน้อย เท่านั้น

               - การ เลือกแบตเตอรี่ใหม่ทดแทนแบตเตอรี่เก่าที่ชำรุดไม่ใช่เรื่องยาก เป็นการเปรียบเทียบค่าความต้องการใช้งานของรถกับสเปกของแบตเตอรี่ให้ใกล้ เคียงกันก่อนการตัดสินใจเท่านั้นเอง

 


ความปลอดภัยในการใช้แบตเตอรี่

ความคิดเห็น

ประกาศล่าสุดในบอร์ดเดียวกัน

uttaradit Icon GPS ตามที่กรมการขนส่งกำหนด อ่าน 1,027 8 ปีที่ผ่านมา
8 ปีที่ผ่านมา
8 ปีที่ผ่านมา
8 ปีที่ผ่านมา
8 ปีที่ผ่านมา
9 ปีที่ผ่านมา
9 ปีที่ผ่านมา
9 ปีที่ผ่านมา
9 ปีที่ผ่านมา