ขอขอบคุณที่มาแนวข้อสอบ : https://www.แนวข้อสอบราชการไทย.com/webboard/viewtopic/464
แนวข้อสอบกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
1.ในการใช้กฎหมายนั้นจะต้องในบรรดากรณี ซึ่งต้องด้วยบทบัญญัติใดๆ แห่งกฎหมายตามตัวอักษรหรือตามความมุ่งหมายของบัญญัตินั้นๆ แต่หากในกรณีที่ไม่มีบทกำหนดที่จะยกมาปรับแก่คดีได้ เพื่อประกอบการพิจารณาและวินิจฉัยให้คดีนั้นเสร็จไปได้ จะต้องนำหลักการใดมาใช้เป็นลำดับแรก
ก. ให้วินิจฉัยนั้นตามจารีตประเพณีแห่งท้องถิ่น
ข. ให้วินิจฉัยคดีอาศัยเทียบบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่ง
ค. ให้วินิจฉัยตามหลักกฎหมายทั่วไป
ง. นำหลักการใดมาใช้ก่อนหลังก็ได้
คำตอบ : ข้อ ก. เพราะเมื่อไม่มีบทกฎหมายที่จะยกปรับคดีได้ ให้วินิจฉัยคดีนั้นตามจารีตประเพณีแห่งท้องถิ่น ถ้าไม่มีจารีตประเพณีเช่นว่านั้น ให้วินิจฉัยคดีอาศัยเทียบบทกฎหมายที่ใกล้เคียงยิ่ง และถ้าบทกฎหมายเช่นนั้นก็ไม่มีด้วยให้วินิจฉัยตามหลักกฎหมายทั่วไป (ตาม ป. พ.พ. มาตรา 4)
2. ในกรณีที่บุคคลใดได้พิมพ์ลายนิ้วมือ แทนการลงลายมือชื่อ จะต้องทำอย่างไรจึงจะทำอย่างไรจึงจะทำให้การพิมพ์ลายนิ้วมือนั้นใช้แทนการละลายมือชื่อในเอกสารได้
ก. มีพยานลงลายมือชื่อรับเองหนึ่งคน
ข. มีพยานลงลายมือชื่อรับเองสองคน
ค.ไม่จำเป็นต้องมีพยานแก้ใช้แทน ลายมือชื่อได้
ง. นำหนังสือนั้นไปให้นายอำเภอรับรอง
คำตอบ : ข้อ ข. ลายพิมพ์นิ้วมือ แกงใด ตราประทับ หรือเครื่องหมายอื่นทำนองเช่น ว่านั้น ที่ทำลงในเอกสารแทนการลงลายมือชื่อ หากมีพยานลงลายมือชื่อรับรองไว้แล้วสองคนแล้วให้ถือเสมอกับลงลายมือชื่อ (ตาม ป.พ.พ. มาตรา 9)
3. บุคคลย่อมพ้นจากภาวะผู้เยาว์ และบรรลุนิติภาวะเมื่อมีอายุเท่าใด
ก. อายุ 17 ปี
ข. อายุ 18 ปี
ค. อายุ 19 ปี
ง. อายุ 20 ปี
คำตอบ : ข้อ ง. บุคคลย่อมพ้นจากภาวะผู้เยาว์ ปละบรรลุนิติภาวะ เมื่อมีอายุ 20 ปีบนิบูรณ์ แต่อาจบรรลุนิติภาวะได้ด้วยการสมรส
4. หากผู้เยาว์ทำนิติกรรม โดยไม่ได้รับความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรม ผลของนิติกรรมนั้นเป็นเช่นไร
ก. เป็นโมฆะ
ข. เป็นโมฆียะ
ค. บังคับได้เฉพาะผู้เยาว์เท่านั้น
ง. นิติกรรมนั้นก็ยังสมบูรณ์
คำตอบ : ข้อ ข. เนื่องจากผู้เยาว์จะทำนิติกรรมใดๆ ต้องได้รับความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรมก่อน การใดๆที่ผู้เยาว์ได้ทำลงปราศจากความยินยอมเช่นนั้นเป็นโมฆียะ เว้นแต่จะบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น (ตาม ป.พ.พ. มาตรา 21)
5. การกระทำใดที่ผู้เสมือนไร้ความสามารถ ไม่จำเป็นต้องได้รับความยินยอมจากผู้พิทักษ์ก่อนก็สามารถทำได้
ก. นำทรัพย์สินไปลงทุน
ข. กู้ยืมหรือให้กู้ยืมเงิน
ค. บริจาคเงิน ซึ่งพอควรแก่ฐานานุรูป
ง. ให้เช่าสังหาริมทรัพย์ในระยะเวลาเกิน 1 ปี
คำตอบ : ข้อ ค. เพราะ คนเสมือนไร้ความสามารถนั้นต้องได้รับความยินยอมของผู้พิทักษ์ก่อนแล้วจึงจะทำการอย่างใดอย่างหนึ่งได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 34
6. นายจันทร์ ได้ไปเที่ยวจังหวัดภูเก็ต และได้หายสาบสูญไปจากเหตุคลื่นยักษ์สึนามิ ทายาทนายจันทร์จะร้องขอต่อศาลให้นายจันทร์เป็นคนสาบสูญ เพื่อที่จะได้ดำเนินการเกี่ยวกับทรัพย์มรดกได้ภายในระยะเท่าไหร่นับแต่นายจันทร์หายไป
ก. ภายในระยะเวลา หนึ่ง ปี
ข. ภายในระยะเวลา สอง ปี
ค. ภายในระยะเวลา สาม ปี
ง. ภายในระยะเวลา สี่ ปี
คำตอบ : ข้อ ข. ภายในระยะเวลา สอง ปี เพราะในกรณีที่เกิดสงคราม หรือพาหนะที่เดินทางอับปางหรือถูกทำร้ายหรือเกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติขึ้น เป็นเหตุให้บุคคลนั้นอยู่ในอันตราย เช่นว่านั้นให้ลดระยะเวลาการร้องขอเหลือเพียงแค่ 2 ปี ( ตาม ป.พ.พ. มาตรา 61)
7. ข้อใดต่อไปนี้ไม่ใช้นิติบุคคล
ก. ห้างหุ้นส่วนจำกัด
ข. บริษัท จำกัด
ค. ห้างหุ้นส่วนสามัญ
ง. ถูกทุกข้อ
คำตอบ : ข้อ ค. ห้างหุ้นส่วนสามัญ เพราะเป็นการตกลงร่วมลงทุนโดยมิได้จดทะเบียนเป็นห้างหุ้นส่วนจึงไม่มีฐานะเป็นนิติบุคคล
8. นิติบุคคลจะแสดงเจตนาทำนิติกรรมได้โดยวิธีใด
ก. ทำโดยนิติบุคคลเอง
ข. ทำโดยตัวแทนของนิติบุคคล
ค. ทำโดยลูกจ้างของนิติบุคคล
ง. ถูกทุกข้อยกเว้น คำตอบข้อ ค
คำตอบ : ข้อ ข. ทำโดยตัวแทนของนิติบุคคล ตาม ป.พ.พ. มาตรา 70 ความประสงค์ของนิติบุคคลย่อมแสดงออกโดยผู้แทนนิติบุคคล
9. นายอาทิตย์ ซึ่งเป็นตัวแทนของห้างหุ้นส่วนจำกัด ประกอบกิจการ ภัตตาคาร ได้ทำสัญญาให้นายจันทร์ กู้ยืมเงินซึ่งนอกเหนือวัตถุประสงค์ ของห้างหุ้นส่วนจำกัด เมื่อนายอาทิตย์สัญญา นายจันทร์จะฟ้องให้ใครรับผิดชอบได้บ้าง
ก. ฟ้องห้างหุ้นส่วนจำกัด
ข. ฟ้องนายอาทิตย์
ค. ฟ้องกรรมการของห้างหุ้นส่วน
ง. ฟ้องได้ทั้ง ห้างหุ้นส่วนจำกัด ,นายอาทิตย์ และกรรมการของห้างหุ้นส่วนจำกัด
คำตอบ : ข้อ ข. ตาม ป.พ.พ. มาตรา 76 วรรคสอง ถ้าความเสียหายแก่บุคคลอื่นเกิดจากการกระทำที่ไม่อยู่ในขอบวัตถุประสงค์หรืออำนาจหน้าที่ของนิติบุคคล บรรดาบุคคลดังกล่าวตามวรรคหนึ่งที่ได้เห็นชอบให้กระทำการนั้นหรือได้เป็นผู้กระทำการดังกล่าว ต้องร่วมกันรับผิดชอบใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้ได้รับความเสียหายนั้น
10. ข้อใดต่อไปนี้ไม่ถือว่าเป็นอสังหาริมทรัพย์
ก. บ้าน
ข. โรงงาน
ค. ดิน ซึ่งเจ้าของที่ดินขุดเอาไปขาย
ง. ถูกทุกข้อ
คำตอบ : ข้อ ค. เพราะดินเมื่อขุดขึ้นมาแล้ว ไม่ถือว่าเป็นอสังหาริมทรัพย์ แต่เป็นสังหาริมทรัพย์ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 139 อสังหาริมทรัพย์ หมายความว่า ที่ดินและทรัพย์อันติดกับมีลักษณะเป็นการถาวรหรือประกอบเป็นอันเดียวกับที่ดินนั้นและหมายความรวมถึงทรัพย์สิทธิอันเกี่ยวกับที่ดินหรือทรัพย์อันติดอยู่กับที่ดินหรือประกอบเป็นอันเดียวกับที่ดินนั้นด้วย
11. ข้อใดต่อไปนี้ไม่ถือว่าเป็นส่วนควบของรถยนต์
ก. เครื่องเสียงรถยนต์
ข. ล้อรถยนต์
ค. พวงมาลัยบังคับรถ
ง. ประตูรถ
คำตอบ : ข้อ ก. เครื่องเสียงรถยนต์ ไม่ถือว่าเป็นส่วนควบของรถเพราะถึงแม้ว่าไม่มีเครื่องเสียงรถก็สามารถขับเคลื่อนได้
ก. ค่าปันผล ขนสัตว์ ลูกวัว
ข. ผลไม้ ค่าเช่า น้ำยางพารา
ค. กำไร ลูกวัว มะพร้าว
ง. ผลไม้ ไข่ไก่ ไข่มุก
คำตอบ : ข้อ ง. เพราะ ผลไม้ ไข่ไก่ ไข่มุก เป็นดอกผลธรรมดาทั้งหมด ส่วนค่าปันผล ค่าเช่า กำไร เป็นดอกผลทางนิตินัย
13. การใดๆอันทำโดยชอบด้วยกฎหมายแล้วด้วยสมัครใจ มุ่งโดยตรงต่อการผู้กนิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่างบุคคล เพื่อจะก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สาน หรือระงับ ซึ่งสิทธิถือว่าเป้นการกระทำใด
ก. ละเมิด
ข. นิติกรรม
ค. การจัดการงานนอกสั่ง
ง. ประนีประนอมยอมความ
คำตอบ : ข้อ ข. ตาม ป.พ.พ. มาตรา 149 นิติกรรม หมายความว่า การใดๆอันทำลงโดยชอบด้วยกฎหมายและด้วยสมัครใจ มุ่งโดยตรงต่อการผูกนิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่างบุคคล เพื่อจะก่อเปลี่ยนแปลง โอน สาน หรือระงับ ซึ่งสิทธิ
14. การกระทำใดต่อไปนี้เป็น โมฆียะ
ก. มิได้ทำให้ถูกต้องตามแบบบทที่กฎหมายกำหนด
ข. สำคัญผิดในสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งนิติกรรม
ค. การแสดงเจตนาเพราะถูกข่มขู่
ง. การใดมีวัตถุประสงค์อันเป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย
คำตอบ : ข้อ ค. ตาม ป.พ.พ. มาตรา 164 การแสดงเจตนา เพราะถูกข่มขู่เป็น โมฆียะ
15. ในการตีความการแสดงเจตนานั้น กฎหมายได้กำหนดให้คำนึงถึงสิ่งใดเป็นสำคัญ
ก. ตัวบุคคล
ข. จำนวนเงินที่ทำ
ค. เจตนาอันแท้จริง
ง. ลักษณะของสัญญา
คำตอบ : ข้อ ค. เพราะในการตีความการแสดเจตนานั้นให้เพ็งเล้งถึงเจตนาอันแท้จริงยิ่งกว่าถ้องสำนวนหรือตัวอักษร