เมื่อวันที่ 29 ม.ค. 63 องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (Food and Agriculture Organization of the United Nations หรือFAO) ได้ออกแถลงข้อมูลการแพร่ระบาดของตั๊กแตนทะเลทราย
ว่ามีการระบาดมากกว่าพันล้านตัว ใน 13 ประเทศ ได้แก่ เคนยา เอธิโอเปีย เอริเทรีย โซมาเลีย ซูดานใต้ อูกันดา จิบูตี เยเมน โอมาน ซาอุดิอาระเบีย อิหร่าน อินเดีย และปากีสถาน
โดยการระบาดดังกล่าวเป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) ที่ทำให้เกิดสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการขยายพันธุ์ของตั๊กแตน ซึ่งการแพร่ระบาดในครั้งนี้มีความรวดเร็วและรุนแรงที่สุดในรอบ 25 ปี
สำหรับฝูงตั๊กแตนทะเลทราย มีขนาดใหญ่ สร้างความเสียหายให้ผลผลิตการเกษตรอย่างรุนแรงและรวดเร็ว ซึ่งตั๊กแตนกัดกินพืชทุกประเภท โดยสามารถกัดกินผลิตผลทางการเกษตรได้มากเท่ากับการบริโภคอาหารของประชากรทั้งประเทศเคนยาในหนึ่งวัน ก่อให้เกิดปัญหาด้านความมั่นทางอาหารอย่างร้ายแรง
ทั้งนี้ เนื่องจากการแพร่ระบาดมีความรุนแรงและรวดเร็ว หากไม่สามารถหยุดการแพร่ระบาดได้เร็ววัน จะส่งร้ายแรงทั้งในมิติของความเสียหายของผลิตผลทางการเกษตร และการขาดแคลนอาหาร และมิติการแพร่ระบาดไปยังประเทศต่างๆ อย่างไม่สามารถควบคุมได้การแพร่ระบาดเกิดขึ้นอย่างรุนแรงและรวดเร็ว
ในวันที่ 3 ก.พ. 63 นายระพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ต้องเฝ้าระวังเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดที่มีความเป็นไปได้ว่าจะมีการระบาดข้ามภูมิภาค โดยการเฝ้าระวังสถานการณ์การแพร่ระบาดอย่างใกล้ชิด
และเตรียมความพร้อมในการยกระดับการตรวจสินค้าเกษตรที่ผ่านเข้า - ออก และตรวจแมลงศัตรูพืช ณ ด่านกักกันพืช ในทุกช่องทาง เพื่อป้องกันไข่หรือตัวอ่อนของตั๊กแตนที่ปนเปื้อนมากับสินค้าเกษตร
รวมถึงการวางแผนเตรียมการรองรับผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้น ทั้งนี้ พืชที่อาจจะได้รับผลกระทบจากการระบาดของตั๊กแตนทะเลทราย ได้แก่ พืชที่จะเพาะปลูกและเก็บเกี่ยวในช่วงหน้าแล้ง โดยเฉพาะช่วงเดือนกุมภาพันธ์ ถึง เมษายน อาทิ ข้าวนาปรัง อ้อยโรงงาน และข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
............คลิปเพิ่มเติม............