ช็อกวงการ!นักวิทย์ค้นพบแล้วไดโนเสาร์ผสมพันธ์ุกันอย่างไร!

guest profile image guest

 

คณะนักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยเยล เมืองนิวเฮเวน รัฐคอนเนตทิคัต ประเทศสหรัฐอเมริกา ประสบความสำเร็จในการหาคำตอบว่า ไดโนเสาร์ เป็นสัตว์เลือดอุ่นหรือเย็น และสืบพันธุ์กันอย่างไร หลังประเด็นดังกล่าวเป็นหนึ่งในข้อถกเถียงของบรรดานักบรรพชีวินวิทยามายาวนานหลายร้อยปี

นางสาวโรบิน ดาว์สัน ผู้เชี่ยวชาญธรณีวิทยาและธรณีฟิสิกส์ กล่าวว่า โครงการวิจัยข้างต้นเป็นวิทยานิพนธ์ปริญญาเอกของตน โดยเป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่าไดโนเสาร์นั้นเป็นสัตว์ที่มีวิวัฒนาการอยู่ระหว่างสัตว์ปีกซึ่งเป็นสัตว์เลือดอุ่น กับสัตว์เลื้อยคลานซึ่งเป็นสัตว์เลือดเย็น จึงทำให้เกิดข้อถกเถียงว่าไดโนเสาร์เป็นสัตว์เลือดอุ่นหรือเย็นกันแน่ โครงการวิจัยดังกล่าวนำเปลือกไข่จากฟอสซิลไข่ของไดโนเสาร์กินเนื้อสายพันธุ์ (Species) Troodon ซึ่งอยู่ในวงศ์ (Family) เดียวกันกับ T-Rex และเปลือกไข่ของไดโนเสาร์กินพืชสายพันธุ์ Maiasaura และ Megaloolithus มาศึกษาหาลักษณะการจัดเรียงของอะตอมธาตุออกซิเจน และคาร์บอน ด้วยเทคนิคการตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการ เรียกว่า clumped isotope paleothermometry ทำให้สามารถคำนวณย้อนกลับไปหาอุณหภูมิร่างกายของไดโนเสาร์ที่วางไข่ได้ ก่อนนำไปหาส่วนต่าง (เดลต้า) ด้วยการเทียบกับอุณหภูมิสภาพแวดล้อม

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ปินเซลลี ฮอลล์ จากสำนักวิชาธรณีวิทยาและธรณีฟิสิกส์ มหาวิทยาลัยเยล กล่าวว่า ไข่นั้นเปรียบได้เสมือนกับเครื่องวัดอุณหภูมิ หรือเทอร์โมมิเตอร์ เพราะมันถูกสร้างขึ้นในร่างกายของไดโนเสาร์ ต่อมาคณะนักวิจัยจึงใช้เทคนิคเดียวกันกับเปลือกไข่ของสัตว์เลือดเย็นในยุคเดียวกัน เพื่อหาอุณหภูมิของสภาพแวดล้อม เนื่องจากไข่ของสัตว์เลือดเย็นนั้นต้องอาศัยอุณหภูมิของสิ่งแวดล้อมในการฟัก จึงอนุมานได้ว่า อุณหภูมิของไข่สัตว์เลือดเย็นย่อมเท่ากันกับอุณหภูมิของสภาพแวดล้อมทั่วไป ผลลัพธ์ที่ได้นั้นน่าทึ่ง เนื่องจากพบว่าไดโนเสาร์นั้นมีอุณหภูมิร่างกายสูงกว่าภายนอก ได้แก่ Troodon มีเดลต้าถึง 10 องศาเซลเซียส Maiasaura มีเดลต้าที่ 15 องศาเซลเซียส และ Megaloolithus มีเดลต้าอยู่ที่ 3 องศาเซลเซียส จึงสรุปได้ว่า ไดโนเสาร์เป็นสัตว์เลือดอุ่น ทว่า การวิจัยอีกชิ้นเมื่อปี 2557 ค้นพบว่า ไดโนเสาร์นั้นไม่ใช่ทั้งสัตว์เลือดอุ่นหรือเย็น เนื่องจากอุณหภูมิในร่างกายของพวกมันนั้นอยู่ในระดับกลางๆ ระหว่างอุ่นและเย็น โดยน.ส.ดาว์สัน สันนิษฐานว่า เนื่องจากไดโนเสาร์นั้นมีลักษณะคล้ายนก จึงอาจวิวัฒนาการจนมีขนปกคลุมร่างกาย ทำให้พวกมันมีอุณหภูมิร่างกายอุ่นมากขึ้น ต่อมาเมื่อกลายเป็นสัตว์เลือดอุ่นแล้ว ขนที่ปกคลุ่มร่างกายก็เริ่มมีความสวยงามขึ้นเพื่อใช้ดึงดูดเพศตรงข้าม อย่างไรก็ตามจากการค้นพบนี้ทำให้ทีมวิจัยได้คำตอบเพิ่มเติมว่าไดโนเสาร์เหล่านี้ผสมพันธุ์กันอย่างไร แต่ตอนนี้ยังวิจัยอยู่ จะออกมาเฉลยเร็วๆนี้

.

เนื้อหาโดย: Etjet'aime
ความคิดเห็น

ประกาศล่าสุดในบอร์ดเดียวกัน

4 ปีที่ผ่านมา
guest Icon Covid19 - ฺBoy Anupong อ่าน 698 4 ปีที่ผ่านมา
4 ปีที่ผ่านมา
4 ปีที่ผ่านมา
4 ปีที่ผ่านมา
4 ปีที่ผ่านมา
4 ปีที่ผ่านมา