ยังคงเป็นที่เฝ้าระวังและจับตามองอย่างใกล้ชิด สำหรับโรคปอดอักเสบชนิดรุนแรงที่เกิดจากไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 หรือ ไวรัสโควิด -19 ที่กำลังระบาดในจีน โดยเริ่มมีการรายงานว่าพบผู้ป่วยโรคนี้ครั้งแรกเมื่อเดือน ธ.ค. ปีที่แล้ว ที่เมืองอู่ฮั่น มณฑลหูเป่ย์ ตอนกลางของประเทศจีน จนตอนนี้โรคไม่ได้จำกัดอยู่ในพื้นที่ดังกล่าว แต่ยังกระจายไปทุกมณฑลและเขตการปกครองอื่นๆ ของจีน และหลายประเทศทั่วโลกจนมีผู้ติดเชื้อแล้วมากกว่า 85,000 ทั้งยังทำให้มีผู้เสียชีวิตแล้วมากกว่า 2,900 คนและมีแนวโน้มว่าจะเพิ่มมากขึ้นอีก
โดยข้อมูลล่าสุดข้อมูล ณ วันที่ 29 ก.พ. 2563 เวลา 09.53 น. ระบุว่ามีจำนวนผู้ป่วยสะสมทั่วโลก 85,209 คน นับเป็นจีนแผ่นดินใหญ่ 79,251 คน นอกจีน 5,953 คน ในจำนวนนี้มีผู้เสียชีวิต 2,923 ราย นับเป็นจีนแผ่นดินใหญ่ 2,835 ราย
และนอกจีน 88 ราย
กระทั่งต่อมา นายแพทย์ ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้เขียนข้อความลงในเฟซบุ๊กส่วนตัวว่ามีผู้ป่วยเป็นชายชาวไทยได้เสียชีวิตลงด้วยไวรัสโควิด-19
ล่าสุด กระทรวงสาธารณสุข แถลงเกี่ยวกับสถานการณ์ การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา หรือ โควิด-19 ในประเทศไทย โดยระบุว่า พบผู้เสียชีวิตแล้ว 1 คน เป็นชายไทยอายุ 35 ปี ซึ่งป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกมาก่อน จากนั้นติดเชื้อโควิด-19 ร่วมด้วย แต่รักษาจนไม่พบเชื้อแล้ว ตั้งแต่วันที่ 16 ก.พ.ที่ผ่านมา ซึ่งหลังจากรักษา 1 เดือน พบว่าปอดเสื่อม อวัยวะภายในล้มเหลว จึงเสียชีวิตในที่สุด ส่วนสาเหตุจะเกี่ยวกับโควิด-19 หรือไม่ จะนำเข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการต่อไป (คลิกเพื่อชมคลิป)
นอกจากนี้ ยังมีผู้ป่วยอีกราย เป็นลุงวัย 70 ปี ที่อาการหนัก พบว่า มีการติดเชื้อวัณโรค และติดโควิด-19 ร่วมภายหลัง หลังการรักษา 1 สัปดาห์ ตรวจไม่พบเชื้อแล้ว แต่แพทย์ยังดูแลอาการใกล้ชิด
โดยการที่ตรวจไม่พบเชื้อ ไม่ใช่ว่าหายแล้ว เพราะหายนั่นคือ ผู้ที่เราปล่อยกลับบ้าน ซึ่งการเป็นไข้เลือดออก ทำให้ร่างกายอ่อนล้า และเมื่อมีเชื้อโควิด-19 มาก่อความรุนแรงพอสมควรให้ร่างกาย ซึ่งสถานการณ์ล่าสุด มีผู้ป่วยกลับบ้านได้เพิ่ม 2 ราย เป็นกลับบ้านรวม 30 ราย รักษาในโรงพยาบาล 11 ราย เสียชีวิต 1 ราย รวมผู้ป่วยสะสม 42 ราย ซึ่งกระทรวงสาธารณสุข เสียใจอย่างยิ่งกับผู้เสียชีวิต ที่ต่อสู้มาร่วม 1 เดือน ยืนยันว่าไม่ปิดบังข้อมูล
อย่างไรก็ตาม การเสียชีวิตที่ สถาบันบำราศนราดูร เมื่อคืนที่ผ่านมา ซึ่งการรักษานั้นได้ใช้ทุกขั้นตอน และทุกวิธีการที่ดีที่สุดแล้ว แต่ด้วยสภาพของผู้ป่วย ที่มีอาการอื่นร่วม จึงต้องรักษา เนื่องจากต้องใช้เครื่อง ECMO