รู้กันแล้วยัง แบงค์ชาติออกกฎใหม่ เกี่ยวกับการคิดดอกเบี้ยขาดส่ง ลองอ่านดู

guest profile image guest
(Mar 3)วิธีคิด ดอกเบี้ยผิดนัดชำระหนี้ใหม่ ที่ประชาชนต้องรู้ : หลังจากที่ทางแบงก์ชาติสั่งตรงถึงสถาบันการเงินทั่วประเทศไทย ให้ทำการปรับวิธีคิดดอกเบี้ย-ลดค่าธรรมเนียม รวมไปจนถึงการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมใหม่ เพื่อที่จะทำให้ช่วยประชาชนในการชำระหนี้ รวมไปจนถึงเพิ่มความเป็นธรรมให้กับลูกค้ามากขึ้น โดยวิธีคิดดอกเบี้ยผิดนัดชำระหนี้ใหม่นั้นมีอะไรบ้าง วันนี้เราไปหาคำตอบกันค่ะ
วิธีคิดดอกเบี้ยผิดนัดชำระหนี้ใหม่
หลังจากที่ทาง ธปท.ได้ออกข้อกำหนดสำหรับการคิดดอกเบี้ย-ลดค่าธรรมเนียมใหม่ โดยปรับเปลี่ยนทั้งหมด 3 เรื่อง ดังนี้
1.ปรับเปลี่ยนการไถ่ถอนสินเชื่อก่อนกำหนด
โดยจะคิดค่าปรับจากเงินต้นคงเหลือแทนจากเดิมคิดจากเงินต้นทั้งก้อน ดังตัวอย่างเช่น
หากเรากู้เงินจากธนาคารมาทำธุรกิจ 15 ล้านบาท กำหนดระยะเวลาชำระคืน 10 ปี เมื่อเราชำระหนี้อย่างสม่ำเสมอ เมื่อผ่านไป 3 ปี เราผ่อนเงินต้นคืนแล้ว 6 ล้านบาท มียอดเงินต้นคงเหลืออีก 9 ล้านบาท แต่เราต้องการปิดหนี้ก่อนครบกำหนดจะทำให้ธนาคารคิดค่าปรับการไถ่ถอนสินเชื่อก่อนกำหนด
แบบเก่า คือ คำนวณค่าปรับจากยอดเงินกู้ทั้งหมด 15 ล้านบาท สมมุติว่า ดอกเบี้ย 1.5% ต่อปี มีวิธีคิดดังนี้ 15,000,000 x ดอกเบี้ย 1.5% เท่ากับเราจะต้องเสียค่าปรับ 225,000 บาท
แบบใหม่ คือ แบงก์ชาติสั่งให้ธนาคารคิดค่าปรับจากเงินต้นคงเหลือเท่านั้น ทำให้หากเรามียอดเงินต้นคงเหลือ 9 ล้านบาท จะมีวิธีคิดดังนี้ 7,000,000 x ดอกเบี้ย 1.5 % เท่ากับต้องเสียค่าปรับแค่ 105,000 บาท เท่านั้น
ทำให้เราสามารถลดค่าปรับในการไถ่ถอนสินเชื่อก่อนกำหนดน้อยลงไปได้ถึง 120,000 บาท นอกจากนี้ธนาคารจะต้องกำหนดระยะเวลา ยกเว้นค่าปรับการไถ่ถอนก่อนกำหนดให้กับลูกหนี้ด้วยเช่นกัน อย่างเช่น หากปิดหนี้ก่อนกำหนดหลังจากผ่อนชำระมาแล้ว 3 ปี หรือ 5 ปี ก็ต้องไม่เสียค่าปรับเลย เป็นต้น
โดยมาตรการนี้จะใช้ได้กับสินเชื่อส่วนบุคคล สินเชื่อ SMEs เท่านั้น
2.ปรับเปลี่ยนดอกเบี้ยผิดนัดชำระหนี้ใหม่
โดยจะคิดดอกเบี้ยจากเงินต้นงวดที่ผิดนัดชำระ แทนที่คิดจากเงินต้นคงเหลือทั้งหมด ดังเช่นตัวอย่างต่อไปนี้
หากกู้เงินซื้อบ้าน 3 ล้านบาท ผ่อนนาน 30 ปี งวดละ 20,000 บาท โดยมีอัตราดอกเบี้ยอยู่ที่ 6% ต่อปี โดยตลอดเวลาลูกหนี้ชำระหนี้ตรงเวลาทุกเดือน จนถึงงวดที่ 15 เราดันผิดนัดชำระ จ่ายหนี้ล่าช้าไป 30 วัน ซึ่งจำนวนหนี้ 20,000 บาทในงวดที่ 15 นี้ คิดเป็นเงินต้น 3,000 บาท บวกกับดอกเบี้ย 17,000 บาท โดยที่เรายังเหลือยอดเงินต้นทั้งหมดอีก 2.91 ล้านบาท
แบบเก่า ธนาคารจะคิดดอกเบี้ยค้างชำระ โดยการคำนวณดอกเบี้ยจากเงินต้นคงเหลือทั้งหมด 2,910,000 x ดอกเบี้ย 6% x 30 (จำนวนวันที่จ่ายล่าช้า) ÷ 365 วัน (1ปี) จะทำให้เราต้องเสียดอกเบี้ยผิดนัด 14,350.68 บาท
แบบใหม่ เปลี่ยนเป็นการคำนวณดอกเบี้ยจากเงินต้นงวดที่ผิดนัดชำระเท่านั้น นั่นคือเงินต้นงวดที่ 15 มีสูตรคำนวนดังนี้ 3,000 (เงินต้นงวดที่ผิดนัด) x ดอกเบี้ย 6% x 30 (จำนวนวันที่จ่ายล่าช้า) ÷ 365 วัน (1ปี) เท่ากับต้องเสียดอกเบี้ยแค่ 14.79 บาท เท่านั้น โดยมีส่วนต่างกันถึง 1.43 หมื่นบาท นอกจากนี้ธนาคารยังต้องกำหนดระยะเวลาผ่อนผัน โดยไม่คิดดอกเบี้ยผิดนัดชำระหนี้ให้กับลูกหนี้ด้วย เช่น ชำระหนี้ล่าช้าไม่เกิน 3 วัน หรือ 5 วัน ไม่ต้องเสียดอกเบี้ยในส่วนนี้ เป็นต้น
มาตรการนี้ใช้กับสินเชื่อที่อยู่อาศัย สินเชื่อส่วนบุคคล สินเชื่อ SMEs เท่านั้น
3.ปรับเปลี่ยนค่าธรรมเนียมบัตร ATM หรือบัตรเดบิต
โดยจะต้องคืนค่าธรรมเนียมตามสัดส่วนหากลูกค้ายกเลิกบัตร (เดิมไม่คืนหรือคืนเมื่อลูกค้าขอ) ดังเช่นตัวอย่างต่อไปนี้
โดยปกติประชาชนส่วนใหญ่จะทำการจ่ายค่าธรรมเนียมบัตร ATM หรือบัตรเดบิต รายปีประมาณ 300- 500 บาท
แบบเก่า หากใช้บัตรไปแค่ 3 เดือน หรือ 90 วัน จากนั้นทำการยกเลิกการใช้ จะเสียค่าธรรมเนียม 500 บาท นั้นไปฟรีๆ หรือต้องแจ้งกับทางธนาคารหากต้องการเงินในส่วนนั้นคืน โดยผู้ใช้บัตรต้องแจ้งกับทางธนาคารด้วยตัวเอง
แบบใหม่ หากใช้บัตรไปแค่ 3 เดือน หรือ 90 วัน จากนั้นทำการยกเลิกการใช้ ธนาคารจะต้องคืนเงินให้เราตามสัดส่วนทันที โดยคิดจากค่าธรรมเนียมรายปีลบส่วนที่ใช้ไปแล้ว ตัวอย่างเช่น จ่ายค่าธรรมเนียมบัตร ATM ไปแล้ว 300 บาท แล้วเราทำการยกเลิกในเดือนที่ 3 เราจะได้เงินคืนประมาณ 276 บาท เป็นต้น นอกจากนี้ทางแบงก์ชาติยังห้ามธนาคารคิดค่าธรรมเนียมการออกบัตรใหม่หรือออกรหัสทดแทนอีกด้วย
สุดท้ายนี้ก่อนจากกันสำหรับท่านผู้อ่านที่ กำลังมีแผนใช้เงินหรือสนใจทำบัตรเครดิตขึ้นมาก็สามารถคลิกเข้ามาได้เลยที่ สมัครบัตรเครดิต เลย เรารับลองว่าแค่ภายใน 1 นาที คุณจะได้รับข้อมูลบัตรเครดิตที่ตรงใจคุณที่สุดจาก MoneyGuru อย่างแน่นอน
โดย MoneyGuru.co.th
อ่านเพิ่มเติม https://www.moneyguru.co.th/…/…/วิธีคิดดอกเบี้ยผิดนัดแบบใหม่
ความคิดเห็น
guest profile guest
ขอโทษ แก้ย่อหน้าไม่ได้เลย มันอ่านยากหน่อย. หาอ่านกันเองนะคะ แต่มีประโยชน์แน่นอน
guest profile guest
แบงค์. โดนแน่
guest profile guest
คราวนี้ละ จะเจอ จ่ายช้า 3 วัน 5 วัน กันเป็นว่าเล่น

ดอกใหม่แบบนี้ จ่ายบ้างเบี้ยวบ้าง ก็ไม่น่ากลัวแล้ว

ธนาคาร ต้องวางแผนใหม่ดีๆ

และแผนใหม่ น่าจะกระทบคนปกติที่ไม่เคยจ่ายช้า หรือเบี้ยวจ่าย
guest profile guest
ต่อไปคงปล่อยกู้ยากแล้วทีนี้  คงตายเพราะกู้ไม่ได้กันตรึม
guest profile guest
ทำไมความเป็นธรรม  มาเฉพาะบางช่วง
guest profile guest
แบบใหม่ คือ แบงก์ชาติสั่งให้ธนาคารคิดค่าปรับจากเงินต้นคงเหลือเท่านั้น ทำให้หากเรามียอดเงินต้นคงเหลือ 9 ล้านบาท จะมีวิธีคิดดังนี้ 7,000,000 x ดอกเบี้ย 1.5 % เท่ากับต้องเสียค่าปรับแค่ 105,000 บาท เท่านั้น
ทำให้เราสามารถลดค่าปรับในการไถ่ถอนสินเชื่อก่อนกำหนดน้อยลงไปได้ถึง 120,000 บาท นอกจากนี้ธนาคารจะต้องกำหนดระยะเวลา ยกเว้นค่าปรับการไถ่ถอนก่อนกำหนดให้กับลูกหนี้ด้วยเช่นกัน อย่างเช่น หากปิดหนี้ก่อนกำหนดหลังจากผ่อนชำระมาแล้ว 3 ปี หรือ 5 ปี ก็ต้องไม่เสียค่าปรับเลย เป็นต้น

ขออนุญาตถามหน่อยนะครับ
ตกลงว่าค่าปรับคิดจากยอดเงินต้นที่คงเหลือ หรือว่ายอดเงินที่ชำระไปแล้วครับ
guest profile guest
ไม่น่าจะต่างกันครับ

ถ้าเราขาดส่งแบ๊งจะคิดอัตตราดอกเบี้ยเป็นเรทใหม่ เช่นจากดอกเบี้ย 1.5ต่อปี กลายเป็น15ต่อปี
guest profile guest
ตอนผมยกเลิกบัตร ATM ก็ได้เงินคืนนะครับ เป็นสัดส่วนอย่างที่ว่า เขาจะใส่เงินคืนในบัญชีเงินฝากให้เลย
guest profile guest
บอกเงินต้นเหลือ 9 ล้าน แต่เอา 7 ล้านมาคูณ คนเขียนเมาหรือเปล่า?

ส่วนอื่นๆผมก็ว่ายุติธรรมดี เมื่อก่อนธนาคารเอาเปรียบ

ประกาศล่าสุดในบอร์ดเดียวกัน

5 ปีที่ผ่านมา
guest Icon เงินกู้เพื่อธุกิจ 5 อ่าน 871 4 ปีที่ผ่านมา
4 ปีที่ผ่านมา
guest Icon สินเชื่อ CIMB 8 อ่าน 906 6 ปีที่ผ่านมา
6 ปีที่ผ่านมา
guest Icon แอพขอสินเชื่อ true cash 24 อ่าน 1,582 5 ปีที่ผ่านมา
5 ปีที่ผ่านมา
guest Icon ยืมเงินใน True Money Wallet 35 อ่าน 4,436 6 ปีที่ผ่านมา
6 ปีที่ผ่านมา
5 ปีที่ผ่านมา
5 ปีที่ผ่านมา
5 ปีที่ผ่านมา
guest Icon เงินติดล้อ แบบลดต้นลดดอก 4 อ่าน 719 5 ปีที่ผ่านมา
5 ปีที่ผ่านมา
8 ปีที่ผ่านมา
guest Icon ขอเพิ่มวงเงินของสินเชื่อพรอมิส 27 อ่าน 11,489 7 ปีที่ผ่านมา
7 ปีที่ผ่านมา
guest Icon ใครเคยกู้ Promise บ้างคะ 86 อ่าน 2,809 11 ปีที่ผ่านมา
11 ปีที่ผ่านมา
8 ปีที่ผ่านมา
guest Icon สินเชื่อพรอมิส !! 40 อ่าน 1,001 7 ปีที่ผ่านมา
7 ปีที่ผ่านมา