จากสถานการณ์การแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 ส่งผลกระทบรุนแรงในวงกว้างต่อธุรกิจ และประชาชน ซึ่งสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หรือ สศช. มองว่า จีดีพีของไทยจะขยายตัวลดลง
ทำให้สัดส่วนหนี้สินครัวเรือนขยายตัวเพิ่มขึ้น 79% ขณะที่การส่งออกและค่าเงินบาทภัยแล้ง น้ำท่วม PM 2.5 ทำให้แรงงานและสังคมไทยได้รับผลกระทบนั้น สศช. หวั่นปัจจัยลบถล่มสังคมไทย
ล่าสุด ทางด้านนายรณดล นุ่มนนท์ รองผู้ว่าการด้านเสถียรภาพสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท) กล่าวว่า ธปท. ได้ร่วมกับสถาบันการเงิน กำหนดมาตรการช่วยเหลือเพิ่มเติมแก่ลูกหนี้ธุรกิจทุกประเภท
และครัวเรือนที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นโดยเน้นการให้ความช่วยเหลือด้านคล่องและเร่งปรับโครงสร้างหนี้ กำหนดเป็นมาตรการชั่วคราวระยะเวลา 2 ปี ระหว่าง 1 มกราคม 63 – 31 ธันวาคม 64 ดังนี้
ภาพจาก ธนาคารแห่งประเทศไทย Bank of Thailand
ทั้งนี้ เพื่อให้สถาบันการเงินช่วยเหลือด้านสภาพคล่องและปรับโครงสร้างหนี้ให้แก่ลูกหนี้ได้อย่างทั่วถึง และทันท่วงที ธปท. จึงได้ปรับปรุงกฎเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับการจัดชั้นและการกันเงินสำรอง รวมทั้ง การรายงานข้อมูลเครดิตของลูกหนี้เพื่อให้เข้าถึงสินเชื่อได้ง่ายขึ้น
ธปท.คาดหวังเป็นอย่างยิ่งว่าลูกหนี้จะได้รับประโยชน์ จากการดำเนินการตามมาตรการข้างต้น และส่งผลให้ลูกหนี้ที่มีศักยภาพสามารถพลิกฟื้นธุรกิจได้ทันท่วงที
ทั้งนี้ สามารถติดตามมาตรการการให้ความช่วยเหลือต่างๆ ของแต่ละสถาบันการเงินผ่านเว็บไซต์ของสถาบันการเงินนั้นๆ และ ธปท.
โพสต์ดังกล่าว