เปิดรายละเอียด-เงื่อนไข “แจกเงินฟรี” 2 พันบาท ต้านพิษโควิด-19
วันที่ 6 มีนาคม 2563 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ทำเนียบรัฐบาล ที่มีพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นประธานในการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เศรษฐกิจ พิจารณา มาตรการช่วยเหลือประชาชนและผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากไวรัสโควิด-19
สำหรับผู้ที่มีสิทธิ์ได้รับเงินและความช่วยเหลือจากมาตรการดังกล่าวในครั้งนี้ แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม จาก 3 มาตรการ ตามเงื่อนไข ดังนี้
1.ประชาชน จำนวน 20.8 ล้านคน
มาตรการบนรรเทาค่าครองชีพให้กับประชาชน ที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดไวรัส COVID-19 โดยการเติมเงินเข้าระบบ e-payment โดยวัตถุประสงค์มุ่งเน้นให้เงินถึงมือกลุ่มเป้าหมายโดยตรง รวมเป็นจำนวนประชาชน 20.8 ล้านคน ประกอบด้วย
- กลุ่มผู้มีรายได้น้อยและกลุ่มเกษตรกร 13.9 ล้านคน
- กลุ่มอาชีพอิสระ 5.9 ล้านคน
- เก็บตกอาชีพอิสระอีก 1 ล้านคน
- แจกเงิน คนละ 1,000 บาท จำนวน 2 เดือน
- ทำการโอนเงินเข้าระบบ e-payment
- ทำการโอนเงินบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ
- ทำการโอนเงินเข้าระบบ Prompt Pay
- ใช้งบประมาณ 41,050 ล้านบาท
2.ผู้ประกอบการ
มาตรการด้านการเงินเพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการทั้งรายกลางและรายเล็ก ที่ประสบปัญหาแบกรับต้นทุน การเลิก การจ้างงาน และลูกจ้าลอยแพ
- ให้สินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ 2 % ปล่อยกู้ให้กับผู้ประกอบการ ระยะเวลา 2 ปี วงเงินสินเชื่อไม่เกิน 20 ล้านบาท/ราย วงเงินสินเชื่อรวม 150,000 ล้านบาท
- พักเงินต้น ลดดอกเบี้ย และขยายระยะเวลาการชำระหนี้แก่ลูกหนี้ ของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ
- ผ่อนปรนเงื่อนไขการจ่ายสินไหมทดแทน รวมถึงให้สินเชื่อใหม่เพื่อเสริมสภาพคล่องให้กับลูกค้า
- ธนาคารแห่งประเทศไทย ผ่อนปรนเกณฑ์การจัดชั้นสินเชื่อปกติได้เร็วขึ้น เพิ่มความยืดหยุ่นในการประเมินกระแสเงินสดเพื่อการกู้
- สนับสนุนสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ เริ่มต้น 3% ต่อปี ระยะเวลา 3 ปี แก่สถานประกอบการที่ขึ้นทะเบียนประกันสังคม เพื่อช่วยผู้ประกอบการให้สามารถจ้างลูกจ้างต่อได้ วงเงินสินเชื่อรวม 30,000 ล้านบาท
3.ผู้ประกอบการและประชาชนทั่วไป
มาตรการบรรเทาภาระค่าธรรมเนียม ค่าเช่า ค่าตอบแทน ลด/ชะลอ/เลื่อนการเก็บค่าธรรมเนียม ให้ผู้ประกอบการและประชาชนทั่วไป
- ลดและเลื่อนการชำระค่าน้ำและค่าไฟ
- ลดเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมของนายจ้างและลูกจ้าง เป็นอัตรา 0.1% ของค่าจ้าง 3 เดือน
- เร่งการดำเนินการเบิกจ่ายในส่วนของงบลงทุน
- มาตรการสร้างความเชื่อมั่นในระบบตลาดทุน ให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีสำหรับประชาชนทั่วไปที่ซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการออม (กองทุน SSF) โดยให้หักลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเป็นการชั่วคราวจำนวน 100,000 บาท
ขอบคุณเนื้อหา และสามารถติดตามเพิ่มเติมได้ที่: ประชาชาติธุรกิจ,มติชน