เงื่อนไข การรับคืนเงินประกันการใช้ไฟฟ้า

guest profile image guest

นับเป็นข่าวดีในสถานการณ์ข่าวร้ายรุมเร้าประเทศไทย ณ ขณะนี้ ที่รัฐบาลมีมติออกมาตรการเร่งด่วนเพื่อช่วยเหลือประชาชน เนื่องจากได้รับผลกระทบทั้งจากการแพร่ระบาดของ "ไวรัสโคโรน่า" หรือ "โควิด-19" รวมถึงปัญหาภัยแล้ง อีกทั้งรัฐบาลยังต้องการกระตุ้นเศรษฐกิจไทยด้วย โดยหนึ่งในมาตรการที่ถูกพูดถึง และได้รับความสนใจอย่างมาก ก็คือ การคืนเงินประกันการใช้ไฟฟ้า

ก่อนอื่นต้องเข้าใจความหมายของ “เงินประกันการใช้ไฟฟ้า” ก่อน โดยขออธิบายให้เห็นภาพง่ายๆ ก็คือ เมื่อเรามีบ้านหรือกิจการต่างๆ เราจะต้องไปขอใช้ไฟฟ้ากับผู้ให้บริการ นั่นคือการยื่นขอใช้ครั้งแรก นอกจากเอกสารต่างๆ ที่จะต้องเตรียมแล้ว ยังมีอีกสิ่งหนึ่งที่ผู้ขอใช้ไฟฟ้าอย่างเราๆ ต้องนำมาวาง ก็คือ “หลักประกันการใช้ไฟฟ้า” เพื่อเป็นหลักประกันการใช้ไฟฟ้า ค่าเบี้ยปรับ และหรือหนี้อื่นที่เกี่ยวข้อง รวมถึงดอกเบี้ยที่เกิดจากหนี้ด้วย

โดยหากดูจากข้อมูลของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) ได้กำหนดเกณฑ์ค่าธรรมเนียมการขอใช้ไฟฟ้า ซึ่งแยกตามขนาดมิเตอร์ (แอมป์) หรือพูดง่ายๆ ก็คือแยะตามขนาดการใช้ไฟของบ้านอยู่อาศัย เมื่อเจาะลึกในรายละเอียดในเรื่องของเงินประกันการใช้ไฟฟ้า จะพบว่ามีอัตราเริ่มต้นที่ 300 บาท ในขนาดมิเตอร์ 5(15) ไปจนถึง 12,000 บาท ในขนาดมิเตอร์ 30(100)

หลักประกันการใช้ไฟฟ้ามีทั้งหมด 5 ประเภท ได้แก่

1.เงินสด

2.พันธบัตรรัฐบาล

3.พันธบัตรรัฐวิสาหกิจที่กระทรวงการคลังค้ำประกัน

4.หนังสือสัญญาค้ำประกันของธนาคาร

5.หนังสือสัญญาค้ำประกันของบริษัทเงินทุนและบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการการเงินทุนเพื่อการพาณิชย์ และประกอบธุรกิจค้ำประกันตามประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทย ตามรายชื่อที่ธนาคารแห่งประเทศไทยแจ้งเวียนให้ส่วนราชการต่างๆ ทราบ

โดยหลักประกันเหล่านี้ ผู้ขอใช้ไฟฟ้าอย่างเราจะเลือกใช้แบบไหนก็ได้ที่สะดวก ซึ่งเงินประกันนี้แหละ จะได้คืนก็ต่อเมื่อเกิดขึ้นใน 5 กรณีนี้เท่านั้น ได้แก่ 1.เลิกใช้ไฟฟ้า 2.ลดขนาดมิเตอร์หรือขนาดหม้อแปลงไฟฟ้า 3.โอนเปลี่ยนชื่อผู้ใช้ไฟฟ้า 4.เปลี่ยนแปลงประเภทหลักประกันการใช้ไฟฟ้า และสุดท้าย 5.ลดปริมาณการใช้ไฟฟ้าลง และมีหนังสือขอคืนหลักประกัน

โพสท์โดย: บัส สยามเมืองยิ้ม
อ้างอิงจาก: การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.)
ความคิดเห็น

ประกาศล่าสุดในบอร์ดเดียวกัน

4 ปีที่ผ่านมา
4 ปีที่ผ่านมา