สำนักข่าวซินหัว ของทางการจีน รายงานว่า ย าฟาวิพิราเวียร์ (Favipiravir) เป็นย าต้านไวรัสก่อโรคไข้หวัดใหญ่ ซึ่งได้รับการอนุมัติให้ใช้งานทางคลินิกในญีปุ่นเมื่อปี 2014 ได้แสดงประสิทธิผลทางการรักษาโรคติดเชื้ อไวรัสโควิด19 ได้เป็นอย่างดี ทำให้ทางการตัดสินใจสั่งดำเนินการผลิตในล็อตใหญ่แล้ว
รายงานระบุว่า มีผู้่ป่่วยติดเชื้ อไวรัสโควิด19 จำนวนมากกว่า 80 ราย เข้าร่วมการทดลองทางคลินิกในโรงพย าบาลประชาชนแห่งที่ 3 ในเมืองเสิ่นเจิ้น มณฑลกว่างตงทางตอนใต้ของจีน โดยทีมแพทย์ได้แบ่งผู้ป่วยออกเป็น 2 กลุ่ม คือกลุ่มที่ได้รับย าฟาวิพิราเวียร์ 35 ราย และผู้ป่วยกลุ่มควบคุมอีก 45 ราย
นาย จาง ซินหมิน ผู้อำนวยการศูนย์การพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติจีน (CNCBD) ในสังกัดกระทรวงวิทย าศาสตร์และเทคโนโลยีกล่าวว่า ผลการทดสอบย าฟาวิพิราเวียนร์เป็นไปด้วยดี อีกทั้งยังไม่มีผลข้างเคียงชัดเจนในการทดลองทางคลีนิก
โดยผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วยย าฟาวิพิราเวียร์ มีผลการตรวจหาไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ที่กลายเป็นลบในระยะเวลาสั้นกว่า เมื่อเทียบกับกลุ่มผู้่ป่วยในกลุ่มควบคุมที่ไม่ได้รับการรักษาด้วยย าฟิราพิราเวียร์
ขณะเดียวกัน การทดลองทางคลีนิกแบบสุ่มในหลายสถาบัน ซึ่งรวมถึง โรงพย าบาลจงหนานของมหาวิทย าลัยอู่ฮั่น ก็แสดงให้เห็นว่า การรักษาผู้ป่วยติดเชื้ อไวรัสโควิด19 ได้ผลดีอย่างมากเช่นเดียวกัน
ผู้อำนวยการศูนย์การพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติจีน กล่าวว่า ได้มีการแนะนำย าฟาวิพิราเวียร์แก่ทีมบุคลากรทางแพทย์ในจีนแล้ว และจะบรรจุย าตัวนี้เข้าไปในแผนการวินิจฉัยและรักษาโรคไวรัสโควิด19 ให้เร็วที่สุด
ด้านสำนักงานบริหารเวชภัณฑ์แห่งชาติจีน (NMPA) ได้อนุมัติให้ดำเนินการผลิตย าฟาวิพิราเวียนร์ในปริมาณมากแล้ว
นอกจากการเดินหน้าผลิตย าฟาวิพิราเวียร์แล้ว จีนยังได้ผลักดันการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีนวัตกรรมบางส่วน เช่น การปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิด (สเต็มเซลล์) ตับเทียม และการขจัดสารพิษในเลือดหรือการฟอกเลือดเพื่อรักษาผู้ป่วยโรคไวรัสโควิด19 ที่มีการรุนแรง