”รองผู้อำนวยการสถาบันบำราศนราดูร” รับ การดูแลผู้ป่วยโควิด-19 ตามอาการ อาจต้องปรับวิธีการจัดการใหม่ ขอคนไทยร่วมสู้วิกฤต ด้วยความกลมเกลียว และให้อภัยกัน อย่าให้ กลายเป็นวิกฤตกว่า ในความวิกฤต นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ในเฟซบุ๊ค ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา Thiravat Hemachudha เปิดเผย ข้อความจาก นพ.วิศิษฏ์ ประสิทธิศิริกุล รองผู้อำนวยการสถาบันบำราศนราดูร เขียนข้อความเรื่อง “ท่ามกลางวิกฤตมีโอกาสแต่ท่ามทางวิกฤต อาจมีวิกฤตกว่านั้น”
จากข้อความใน post นึงของ FB คนไข้ที่ถูก isolation จากกรณีติดเชื้อ covid-19 หลังจากสังสรรค์ที่ร้านเหล้าและร้านคาราโอเกะเหมือนเป็นสัญญาณเตือนภัยที่ทำให้ผมนึกขึ้นได้ว่าขณะนี้แพทย์และพยาบาลไม่ได้รับมือ แต่เฉพาะโรคระบาดเท่านั้น พวกเราต้องปรับตัว และต้องรับมือกับผู้ติดเชื้อ covid-19 ที่จะว่าไปแล้วในหลายๆคนมีอาการน้อยมาก จนแทบไม่มีอาการเลย แต่ต้องมาถูกกักตัวเพื่อรอให้เชื้อหมดไปเท่านั้น ทั้งที่จะว่าไปแล้วเขาเหล่านั้น
น่าจะได้อยู่ในสถาพแวดล้อมที่แตกต่างและได้รับการปฏิบัติที่แตกต่างจากผู้ติดเชื้อ covid-19 ที่อยู่ในอาการป่วยมากกว่า สภาพที่พวกเขาถูกกักกันรอให้เชื้อหมดไปก่อนปล่อยกลับบ้านนั้น เหมาะสมกับพวกเขาหรือเปล่า ?
การปฏิบัติของแพทย์ที่พวกเขาคาดหวังไว้กับการดูแลของแพทย์ในแนวทางที่ใช้รักษาผู้ป่วยแบบเดิมๆ ที่มีอาการป่วยทางร่างกายมาโดยตลอดมันเหมาะสมหรือไม่ ?
ขณะนี้ต้องยอมรับว่าผู้ติดเชื้อ covid-19 ที่อยู่ในโรงพยาบาลเหมือนตกอยู่ในสภาพ one size fit all ไม่ใช่ tailored made เสื้อผ้าใส่ได้อยู่สบายตัวพอควรแต่อาจไม่เข้ารูป เปรียบกับการดูแลทางการแพทย์ในสถานการณ์ที่มีการระบาดของcovid-19ในขณะนี้ การpost ข้อความใน FB นี้กระตุกความรู้สึกว่า
พวกเราอาจต้องใช้วิธีบริหารจัดการใหม่ที่เหมาะสมกว่านี้กับผู้ติดเชื้อที่มีอาการน้อย (ไม่ใช่เรื่องเดียวกันกับมีเชื้อน้อยหรือมีเชื้อมาก)
ความคาดหวังของเราคือ ถ้าพวกเขาเชื้อหมดแล้วส่วนรวมจะปลอดภัย แต่วิธีการที่เราทำนั้นอาจก่อให้เกิดความอึดอัดแก่ผู้ติดเชื้อเหล่านี้ ในขณะที่ผู้ติดเชื้อมีความเป็นปัจเจกซึ่งดูแล้วก็ไม่ผิดอะไร นอกจากนั้นดูเหมือนเป็นการเตือนสติเราด้วยซ้ำว่า เรามีวิธีที่ดีกว่านี้หรือไม่ในการปฏิบัติต่อพวกเขาเหล่านั้น
จะว่าไปแล้วการให้ความเมตตาหรือให้อภัยต่อกันได้จะเป็นประโยชน์แก่ทุกฝ่าย
“ในท่ามกลางสภาวะที่ยากลำบากเช่นนี้ประเทศชาติต้องการความร่วมมือและความกลมเกลียวในการผ่านพ้นวิกฤต
อยากจะให้มองว่าทุกคนมีความปรารถนาดีต่อกัน ติเพื่อสร้างสรรค์เพื่อหาโอกาสในวิกฤต แต่ไม่อยากให้เรื่องที่ให้อภัยต่อกันได้อย่างนี้ กลายเป็นวิกฤตกว่า ในความวิกฤตขณะนี้นะครับ” รอง ผอ.สถาบันบำราศนราดูร
ขอบคุณเนื้อหา และสามารถติดตามเพิ่มเติมได้ที่: ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา Thiravat Hemachudha