นักวิชาการเชียร์ รัฐ เอกชน ประสานใจฝ่าวิกฤตโควิด

guest profile image guest

ปลายสัปดาห์ที่แล้ว หลังจากนายกรัฐมนตรี พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา แถลงว่าจะส่งจดหมายถึง 20 มหาเศรษฐีไทย เพื่อขอคำแนะนำในการช่วยเศรษฐกิจไทยให้รอดพ้นจากวิกฤติโควิด-19 ก็เกิดเป็นกระแสดราม่าขึ้นอย่างเร็วและติดต่อกันจนถึงวันนี้

 

 

โดยมีทั้งความเข้าใจผิดและเจตนาบิดเบือน ขณะเดียวกันก็มีความเห็นอย่างเป็นกลาง เรียกว่าหลั่งไหลมาจากทุกมุมในสังคม ซึ่งสะท้อนได้ถึงความตื่นตัวที่จะเห็นมาตรการเยียวยาและฟื้นฟูประเทศของรัฐบาล

 

 

ท่ามกลางเสียงวิพากษ์วิจารณ์ ล้วง แซะ แขวะ ด่า ก็ยังมีเสียงสนับสนุน ด้วยเหตุด้วยผลที่ฟังขึ้น จากตัวท้อป ๆ ของประเทศเช่นกัน

 

ดร.เสรี วงษ์มณฑา ผู้ร่วมก่อตั้งสถาบันทิศทางไทย บอกว่า “เมื่อเอาชนะโรคระบาดได้ เราก็ต้องฟื้นตัวทางด้านเศรษฐกิจ ไมว่า ครม. จะเก่งหรือไม่เก่งอย่างไร การฟื้นตัวทางด้านเศรษฐกิจจะอาศัยความคิดนักการเมืองฝ่ายเดียวไม่ได้ ต้องบูรณาการความคิดของนักธุรกิจทุก sector ที่มีความสำคัญกับเศรษฐกิจเข้ามาเป็น recovery plan เราจึงจะฟื้นได้ สู้โรคด้วยคำแนะนำของหมอผู้เชี่ยวชาญจนเอาชนะได้ แล้วจะฟื้นเศรษฐกิจด้วยคำแนะนำของนักธุรกิจ ที่มีความสำคัญกับการพัฒนาและการรักษาความมั่นคงทางเศรษฐกิจน่าจะเป็นการขับเคลื่อนที่ถูกต้อง”

 

 

ด้านคุณสมหมาย ภาษี อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง แสดงความเห็นผ่านคอลัมน์ของสำนักข่าวอิศราว่า “เมื่อไม่กี่วันมานี้มีเศรษฐีใหญ่ท่านหนึ่งของไทย ท่านออกมาแสดงความคิดเห็นผ่านสื่อมากมาย โดยได้ชื่นชมว่า ท่านนายกรัฐมนตรีเที่ยวนี้เด็ดขาด มีเหตุมีผล แก้วิกฤตโควิด 19 ได้ดี และท่านก็ได้แสดงวิสัยทัศน์ที่ดีมากว่า วันนี้ต้องมาคิดกันแล้ว ถ้าฟื้นกลับมาจะเทำยังไง ท่านยังได้แนะต่อไปว่า ไทยเราเป็นศูนย์กลางในภูมิภาคนี้ ต้องกล้าคิด กล้าทำ ควรถือโอกาสนี้ปรับฐานการแข่งขันของประเทศ ถือโอกาสนี้พัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ซึ่งสิ่งที่ท่านได้แนะมานี้ ผมยังไม่เคยฟังจากรัฐบาลเลย กล่าวได้ว่า ข้อแนะนำของท่านได้ชี้แนวทางไว้ชัดมาก ยอดเยี่ยมจริงๆ”

 

 

นักวิชาการอีกท่านหนึ่งอย่าง ศ.ดร. เอนก เหล่าธรรมทัศน์ ภาคีสมาชิก ราชบัณฑิตยสภา และกรรมการบริหารพรรครวมพลังประชาชาติไทย ก็มีแซะ ๆ บ้าง แต่หลัก ๆ ก็เห็นด้วยที่จะให้ภาคเอกชนเข้ามาช่วยกันกอบกู้ประเทศ โดยบอกว่า ธุรกิจไทยนั้น บ่อยครั้งถูกมองในแง่ลบ ทั้งที่ทำประโยชน์ให้สังคม ช่วยเศรษฐกิจ สร้างงาน สร้างอาชีพให้ประเทศ ยิ่งธุรกิจใหญ่ จะถูกสงสัยไว้ก่อนว่าเอารัดเอาเปรียบสังคม ชอบผูกขาดตัดตอน และฉกผลประโยชน์จากรัฐ แต่ก็สังเกตได้ว่า นักธุรกิจนั้นเช่นเดียวกับคนไทยทั่วไป มีไม่น้อยที่ใจบุญสุนทานชอบบริจาคและทำสาธารณกุศล ชอบช่วยเหลือสังคม เป็นอย่างนี้มานานเต็มที ตัวอย่างป่อเต๊กตึ๊ง ร่วมกตัญญู และหัวเฉียว

 

 

นอกจากนี้ เมื่อเกิดวิกฤติโควิด-19 โดยไม่คาดคิด เราท่านก็เห็นความริเริ่มของคุณธนินทร์ เจียรวนนท์ ในฐานะอภิมหาเศรษฐีชั้นนำ ท่านได้รีบเร่งสร้างโรงงานผลิตหน้ากากที่ทันสมัยขึ้นมา และภายในไม่กี่อาทิตย์ก็แจกจ่ายให้วงการแพทย์และประชาชน โดยผ่านทางสภากาชาดไทย ก็เป็นอันว่าที่กังวลกันมาก่อนว่า หน้ากากอนามัยจะแพงเหลือล้น และจะมีไม่พอจำหน่ายแน่นั้น ปัญหานี้เป็นอันหมดไป โดยสิ้นเชิง

 

ธุรกิจนั้น ไม่ใช่ทำเพื่อเงิน เพื่อกำไรได้แต่เพียงอย่างเดียว หากธุรกิจใดคิดดี ทำดีแล้วในยามวิกฤติ ยังผลิตของใช้ทางอนามัยบริจาคก็ได้ นับเป็นการคืนกำไรสะสม ให้แก่สังคม-ลูกค้า ซึ่งได้อุปถัมภ์ธุรกิจทั้งหลายของตนมาแต่ช้านานนั่นเอง

 

 

นอกจากนี้ ธนาคารกลางของสหรัฐฯ (เฟด) ก็มองว่าทั้งภาครัฐและภาคเอกชนต้องร่วมมือกัน เพื่อรับมือผลกระทบครั้งนี้ จะเห็นว่า ไม่เพียงแต่ประเทศไทย ที่ภาครัฐต้องร่วมมือกับภาคเอกชน แต่ทุกประเทศทั่วโลกก็ทำกันเป็นปกติ เพราะภาคเอกชนเป็นส่วนที่มีบทบาทอย่างยิ่งต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศ นับเป็นจิ๊กซอว์ตัวสำคัญ ที่ช่วยเติมเต็มภาพเศรษฐกิจของประเทศให้ขาดแหว่งหรือสมบูรณ์ก็ได้

ความคิดเห็น

ประกาศล่าสุดในบอร์ดเดียวกัน

4 ปีที่ผ่านมา
4 ปีที่ผ่านมา
guest Icon เลือกใช้ ถังเก็บน้ำ แบบไหนดี อ่าน 681 4 ปีที่ผ่านมา
4 ปีที่ผ่านมา
4 ปีที่ผ่านมา
4 ปีที่ผ่านมา
4 ปีที่ผ่านมา
4 ปีที่ผ่านมา