หม้อหุงข้าวไฟฟ้า เป็นอุปกรณ์ที่มีความจำเป็นในชีวิตประจำวันอย่างยิ่งสำหรับคนไทยอย่างเรา เนื่องจากวัฒนธรรมของคนไทยเรานั้นรับประทานข้าวสวยหรือข้าวเหนียวเป็นอาหารหลัก หม้อหุงข้าวไฟฟ้าเป็นวิวัฒนาการทางเทคโนโลยีของมนุษย์ ที่ใช้ความร้อนจากไฟฟ้าทำให้ข้าวสุกโดยอัตโนมัติ และรักษาอุณภูมิของข้าวไว้ได้เป็นอย่างดี ซึ่งนอกจากหม้อหุงข้าวแล้วยังมี หม้อนึ่งไฟฟ้า, หม้อทอดไฟฟ้า, เครื่องปิ้งขนมปัง, กระทะไฟฟ้า และยังมีอุปกรณ์อื่น ๆ อีกมากมายที่นำความร้อนจากไฟฟ้ามาใช้ให้เกิดประโยชน์ ปัจจุบันมีการออกแบบหม้อหุงข้าวมาหลายหลายรูปทรงและหลายขนาด หลัก ๆ จะมีระบบไอน้ำที่ช่วยให้ข้าวสุกไวเป็นฝาติดกับหม้อ และแบบหูจับฝาแยกซึ่งทำความสะอาดได้ง่าย เป็นตัวเลือกให้คุณแม่บ้านหาซื้อเพื่อความสะดวกในการหุงข้าว โดยจะมีอยู่ด้วยกัน 2 ชนิดดังนี้
1.หม้อหุงข้าวธรรมดา หรือแบบดั้งเดิม
หม้อแบบธรรมดา และหม้อแบบดิจิทัลนั้นมีการใช้งานพื้นฐานที่เหมือนกัน เช่น ใส่ข้าว ตวงน้ำ กดปุ่มแล้วเริ่มทำการหุงข้าว แต่หม้อแบบดิจิทัล ตัวเครื่องก็จะมีฟังก์ชันการใช้งานที่มากกกว่าแค่หุงหรืออุ่นข้าวธรรมดา สามารถหุงข้าวได้หลายชนิดมากกว่า ปรุงอาหารอื่น ๆ เช่น โจ๊ก ได้ นอกจากนี้ตัวเครื่องหม้อหุงข้าวดิจิทัลยังมีหน้าจอเพื่อกำหนดระยะเวลาการหุง รวมถึงการกำหนดอุณหภูมิในการหุงเองได้ด้วย ใช้สำหรับหุงข้าว ตั้งแต่ตวงข้าวสาร ใส่น้ำและกดปุ่ม รอให้สุกพร้อมรับประทาน
2.หม้อหุงข้าวดิจิตอล
กลับทำได้มากกว่าการหุงข้าวธรรมดา นั่นคือ เราสามารถปรับปุ่มอุ่นข้าวให้ร้อนตลอดวันได้หลังหุง หรือยังจะกำหนดระยะเวลาของการหุงข้าว และ นอกจากนี้ยังมีความพิเศษ คือ สามารถทำเค้ก หุงข้าวเหนียว หรือการทำโจ๊กได้อีกด้วยหม้อแบบดิจิทัลจะมีการติดตั้งเสียงสัญญาณเพื่อแจ้งให้ผู้ใช้รู้ว่าข้าวเสร็จแล้ว ต่างจากหม้อแบบธรรมดาที่จะต้องสังเกตเองว่าข้าวสุกพอทานหรือยัง หรืออย่างมากก็จะมีการเด้งเตือนเมื่อครบรอบการหุงซึ่งอาจจะยังไม่ได้ที่ รวมถึงการออกแบบหม้อแบบดิจิทัลส่วนใหญ่จะจะดูดี ดูทันสมัย ยืดหยุ่นกับเฟอร์นิเจอร์หลากหลายทำให้การตกแต่งครัวดูสวยงามโมเดิร์นด้วย
ข้อดี ข้อด้อย ของหม้อหุงข้าวดิจิทัล
ข้อดีที่เห็นได้ชัดคือ หุงข้าวอร่อยกว่า หอมกว่า เลือกได้เลยว่าจะเป็นข้าวขาว ข้าวหอมมะลิ ข้าวเหนียว ข้าวต้ม หรือจะทำขนมเค้กก็ได้ สามารถตั้งเวลาหุงข้าวและปรับอุณหภูมิที่ต้องการได้ ดูมีความคุ้มค่าเพราะสามารถใช้งานได้หลายอย่างข้อเสียใช่ว่าจะไม่มี เพราะหม้อแบบดิจิทัลนั้นใช้เวลาหุงข้าวนานกว่า ประมาณ 45 นาทีสำหรับข้าวหอมมะลิ แต่ถ้าข้าวกล้องจะนานมากเพราะข้าวชนิดนี้มีความแข็งมากกว่าจึงต้องใช้เวลานาน และราคาค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับหม้อหุงข้าวอื่น ๆ
สุดท้ายข้อควรคำนึงทั่วไปในการเลือกซื้อหม้อหุงข้าว ควรเลือกมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.) ด้านความปลอดภัยควบคุมอยู่ดังนั้นตรวจฉลากให้ดี นอกจากนี้ควรเลือกซื้อที่มีการรับประกัน เมื่อมีปัญหาในการใช้งานต้องมีศูนย์ที่พร้อมให้การดูแลซ่อมแซม เลือกขนาดความจุของหม้อและกำลังไฟฟ้าให้เหมาะสมกับความต้องการในการใช้งาน เพื่อเป็นการประหยัดไฟฟ้า ต้องมีสัญลักษณ์หรือเครื่องหมายบอกปริมาณในส่วนหม้อด้านใน ขีดบอกระดับ หรือสัญลักษณ์อื่นที่แสดงความจุที่กำหนด ซึ่งมองเห็นได้ในขณะเติมน้ำ และสุดท้ายสำหรับหม้อแบบดิจิทัลควรมีสัญลักษณ์การใช้งานภาษาไทยกำกับและควรมีคู่มือการใช้งานภาษาไทยเพื่อกันความผิดพลาดและสมาชิกในครอบครัวทุกคนสามารถใช้งานได้ค่ะ