อยากปรับโครงสร้างหนี้ต้องรู้จักวิธีรีไฟแนนซ์ ตัวช่วยที่ทำให้คุณจัดการหนี้ได้ง่ายขึ้น

jbtsaccount1 profile image jbtsaccount1

                รีไฟแนนซ์ (Refinance) เป็นวิธี ปรับโครงสร้างหนี้ วิธีหนึ่งที่ถูกพูดถึงค่อนข้างมาก โดยเฉพาะในปัจจุบันที่ปัญหาหนี้สินรุมเร้าใครหลายคนมากขึ้น ทั้งหนี้บ้าน บัตรเครดิต หรือแม้แต่หนี้ผ่อนรถยนต์ ในวันนี้เราจะมาดูว่าการปรับโครงสร้างหนี้ ด้วยวิธีนี้เป็นอย่างไร มีข้อดีอย่างไร ช่วยคุณได้อย่างไร และหลังจากการรีไฟแนนซ์แล้วคุณจะต้องทำอะไรบ้างเพื่อสร้างวินัยทางการเงินให้เกิดขึ้น


              การรีไฟแนนซ์ คือการขอสินเชื่อจากสถาบันการเงินเพื่อมาจัดการหนี้ก้อนเดิมที่มีอยู่ โดยมีเป้าหมายเพื่อให้ผ่อนต่อเดือนถูกลง ได้อัตราดอกเบี้ยที่ถูกลงกว่าเดิม หรือรับเงื่อนไขอื่น ๆ ที่เป็นประโยชน์ (ตามที่ผู้ขอสินเชื่อเห็นว่าจะได้รับจากสถาบันการเงินที่ขอรีไฟแนนซ์) รูปแบบที่หลายคนเคยได้ยินก็คือการ refinance บ้าน โดยส่วนใหญ่จะตัดสินใจทำเมื่อผ่อนบ้านกับธนาคารเดิมไปจนครบอายุสัญญาที่ระบุไว้ว่าจะได้ดอกเบี้ยอัตราพิเศษ (ส่วนมากจะอยู่ในช่วงสามปีแรกของการกู้บ้าน) เพราะหลังจากนั้นดอกเบี้ยจะปรับเป็นแบบลอยตัว ทำให้ผู้ซื้อ/เช่าบ้านสำหรับ KTB มองหาตัวเลือกจากธนาคารใหม่ที่จะช่วยให้ผ่อนแบบสบายขึ้น ไม่ต้องกังวลกับอัตราดอกเบี้ยที่ไม่แน่นอน


              อย่างไรก็ตาม ไม่ได้มีเพียงบ้านแลกเงิน (เพิ่มเติม:https://krungthai.com/th/personal/loan/housing-loan/21) เท่านั้นที่ขอรีไฟแนนซ์ได้ ยังมีการ รีไฟแนนซ์บัตรเครดิต และรีไฟแนนซ์รถยนต์ซึ่งเป็นตัวช่วยได้เช่นกัน โดยเฉพาะกรณีของบัตรเครดิตซึ่งกลายเป็นภาระหนักสำหรับใครหลายคนในช่วงนี้ โดยวิธีก็คล้ายกันคือเป็น วิธีปลดหนี้สิน รายการเดิม โดยนำมารวมอยู่ในสินเชื่อส่วนบุคคลก้อนเดียว ทำให้ผ่อนสบายขึ้น ผ่อนต่อเดือนน้อยกว่าเดิม ที่สำคัญคือดอกเบี้ยจะเป็นแบบสินเชื่อส่วนบุคคลซึ่งต่ำกว่าดอกเบี้ยแบบเดิมอย่างเห็นได้ชัด


              สำหรับขั้นตอนขอรีไฟแนนซ์ ไม่ว่าจะเป็นบ้านหรือบัตรเครดิต วิธีการจะคล้ายกันคือเข้าไปติดต่อกับธนาคารที่เราเลือกแล้วว่าคุ้มที่สุด เตรียมเอกสารให้พร้อมตามที่แต่ละธนาคารกำหนด และดำเนินการไปตามขั้นตอนได้เลย ทั้งหมดนี้ไม่ใช่เรื่องยากเกินไป แต่สิ่งที่สำคัญกว่าก็คือการวางแผนการเงินอย่างดีเพื่อให้ได้ประโยชน์สูงสุดจากสินเชื่อรีไฟแนนซ์ที่ได้รับอนุมัติ โดยทำได้หลายวิธี เช่น

 

                • จัดทำบัญชีรายรับรายจ่าย ตัดทอนค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น เพื่อให้มีเงินเหลือในแต่ละเดือนมากขึ้น โดยเฉพาะผู้ที่ รีไฟแนนซ์บัตรเครดิต หากคุณมีบัตรหลายใบ ควรปิดบัตร เหลือไว้เพียงใบที่จำเป็นที่สุดเท่านั้น เพื่อป้องกันการกลับไปสู่วงจรหนี้แบบเดิม และยังช่วยให้ ปลดหนี้บัตรเครดิต ได้ง่ายขึ้นในอนาคตอีกด้วย
                • เทียบว่าเดิมทีเราชำระหนี้เดือนละเท่าไหร่ หลังรีไฟแนนซ์แล้วเราชำระเดือนละเท่าไหร่ นำส่วนต่างมาเป็นเงินออมเพื่อการลงทุน สร้างผลตอบแทนในระยะยาว
                • ไม่สร้างหนี้เพิ่มเติม ยกเว้นในกรณีที่จำเป็นจริง ๆ โดยหากจะก่อหนี้ใหม่ ต้องคำนวณให้ดีว่าเราจ่ายหนี้ได้อย่างไม่เดือดร้อน ป้องกันปัญหาหนี้ซึ่งมากเกินกว่าที่จะรับได้

 

                ปิดท้ายวันนี้ ไม่ว่าจะเป็น refinance บ้าน หรือบัตรเครดิต นอกจากความคุ้มค่าที่คุณได้รับจากธนาคารแล้ว สิ่งสำคัญคือการมีวินัยทางการเงิน เมื่อสองสิ่งนี้ผสานเข้าด้วยกัน นอกจากคุณจะเคลียร์หนี้เก่าได้อย่างรวดเร็วแล้ว ก็จะไม่ทำให้เกิดหนี้ใหม่ ส่งผลดีที่สุดคืออิสระทางการเงินที่จะเกิดขึ้นกับคุณอย่างแท้จริง

 

ที่มาของข้อมูล

- https://www.thairath.co.th/lifestyle/money/2015467
- https://news.trueid.net/detail/Xy5rGekoBXG2

ความคิดเห็น

ประกาศล่าสุดในบอร์ดเดียวกัน

Dee555 Icon เบิกค่าเช่าบ้าน อ่าน 1,144 2 ปีที่ผ่านมา
2 ปีที่ผ่านมา
3 ปีที่ผ่านมา
khwantrakul Icon การเบิกค่าเช่าซื้อบ้าน 1 อ่าน 4,420 6 ปีที่ผ่านมา
6 ปีที่ผ่านมา
Sticker Icon เบิกค่าเช่าบ้าน อ่าน 3,357 6 ปีที่ผ่านมา
6 ปีที่ผ่านมา