มาดูกันว่ากองทุนรวมเหล่านี้คืออะไร แบบไหนที่เหมาะกับตัวคุณ
1. กองทุนรวมเพื่อส่งเสริมการออมระยะยาว หรือ กองทุน ssf เป็นกองทุนใหม่ที่มาแทนกองทุน LTF จุดเด่นของ SSF ที่ปรับปรุงให้ดีกว่าเดิมคือ ไม่กำหนดขั้นต่ำในการซื้อ มีเงินน้อยก็ซื้อได้ ไม่ต้องซื้อต่อเนื่องทุกปี ssf กองทุน จึงเหมาะสำหรับคนเงินน้อยและผู้เริ่มต้นวัยทำงานที่ต้องการแรงจูงใจในการเก็บออมเงินตั้งแต่เนิ่น ๆ อีกทั้งเงิน ลงทุน กองทุน นี้นำมาลดหย่อนภาษีได้นาน 5 ปี เมื่อทำถูกต้องตามเงื่อนไขคือซื้อสูงสุด 30% ของรายได้หรือไม่เกิน 200,000 บาท และรวมกับการลงทุนในกองทุนรวมอื่นๆ แล้วต้องไม่เกิน 500,000 บาท
สำหรับเงื่อนไขการลงทุน ssf กองทุน นานถึง 10 ปีทำให้หลายคนกังวลว่านานไป ความจริงแล้วกลับเป็นผลดี เพราะกองทุนนี้ไม่เพียงลงทุนหลักทรัพย์ได้ทุกประเภท ยังเน้นเก็บออมสะสมเงินระยะยาว ลดความเสี่ยงขาดทุน หลายกองทุน อย่างเช่น SSF กรุงไทย จ่ายเงินปันผลให้ด้วย ให้ผลตอบแทนที่อยู่ในระดับน่าพอใจ
2.กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ หรือกองทุน RMF เป็นกองทุนรวมที่เลือกลงทุนสะสมเงินออมเพิ่มเติมระยะยาวซึ่งมีเงื่อนไขถือครองอย่างน้อย 5 ปี จึงได้รับสิทธินำไปลดหย่อนภาษีได้ และขายคืนได้เมื่ออายุครบ 55 ปี นับได้ว่าเป็นสวัสดิการออมเงินเพื่อความอุ่นใจในวัยเกษียณที่ไม่ควรมองข้าม เหมาะกับทุกคนตั้งแต่ข้าราชการ ลูกจ้างบริษัทเอกชน หรือผู้ประกอบอาชีพอิสระ
ข้อดีของกองทุน RMF คือมีความเสี่ยงต่ำเนื่องจากเลือกลงทุนในหลักทรัพย์ได้ทุกประเภทเหมือนกับ กองทุน ssf ในส่วนของจุดด้อยคงเป็นเรื่องที่การ RMF ไม่มีนโยบายจ่ายเงินปันผลและเมื่อเริ่ม ลงทุน กองทุน แล้วต้องซื้อต่อเนื่องหรือยกเว้นการลงทุนได้ปีเว้นปี
3.กองทุน สํา รอง เลี้ยง ชีพ คือ (PVD) กองทุนสวัสดิการสำหรับมนุษย์เดือนทำงานประจำ เป็นที่รู้กันว่าพนักงานจะถูกหักเงินเดือน 2%-15% ของค่าจ้างเข้ากองทุนทุกเดือน ฝ่ายนายจ้างจ่ายสมทบให้ครึ่งหนึ่ง ส่วนจะหักเงินเปอร์เซ็นต์มากหรือน้อยขึ้นอยู่กับนโยบายของบริษัทนั้นๆ ถ้าหักมากนายจ้างก็จ่ายเงินสมทบมากเท่านั้นซึ่งลูกจ้างจะเป็นฝ่ายได้ประโยชน์ ถือเป็นการออมเงินระยะยาวเก็บไว้ใช้หลังจากเกษียณอายุ ออกจากงาน หรือเสียชีวิต อีกข้อดีของ กองทุน สํา รอง เลี้ยง ชีพ คือ ลดหย่อนภาษีได้ด้วย
ในกรณีลาออกจากงานเก่า ถ้ายังฝากเงินทุนไว้กับที่่ทำงานเดิมจะไม่ได้เงินสมทบจากนายจ้าง จนกว่าจะโอนย้ายไปยังกองทุนของที่ทำงานใหม่ หรือย้ายไปกองทุนรวม RMF แทน สำหรับเงินก้อนที่สะสมเข้ากองทุนนี้จะถูกนำไปลงทุนต่อเพื่อให้งอกเงยเป็นผลประโยชน์กับเรามากขึ้น
ลองพิจารณาเป้าหมายของตนเองก่อนว่าควร ซื้อ กองทุน อะไร ดี จากข้อมูลพอสังเขปข้างต้นอธิบายแล้วว่า SSF, PVD, RMF แต่ละกองทุนแตกต่างกันอย่างไร เงื่อนไขของแต่ละกองทุนเหมาะกับใคร เนื่องจากผู้ลงทุนมีโอกาสสิทธิประโยชน์หลายด้นตั้งแต่ได้รับเงินปันผล สิทธิลดหย่อนภาษี ผลตอบแทนอื่นๆ รวมไปถึงความเสี่ยงของการลงทุนตั้งแต่ระดับต่ำถึงสูง ยิ่งถ้าคุณมีความต้องการออมเงินสะสมระยะยาวด้วยแล้ว ควรคิดให้รอบคอบและตัดสินใจเลือกกองทุนรวมที่ตอบโจทย์ให้มากที่สุด
ที่มาข้อมูล :
https://www.moneybuffalo.in.th/mutual-fund/choosing-funds
https://www.moneybuffalo.in.th/mutual-fund/ก่อนซื้อ-กองทุนรวม
https://www.itax.in.th/pedia/กองทุน-rmf/
https://www.krungsri.com/bank/th/krungsri-consumer/moneymatters/how-we-can-be-rich-with-funds.html