![]() |
มะดัน |
1. ชื่อ มะดัน
2. ชื่ออื่น -
3. ชื่อวิทยาศาสตร์ Garcinia schomburgkiana Pierre
4. วงศ์ GUTTIFERAE
5. ชื่อสามัญ Madan
6. แหล่งที่พบ พบทั่วไปของทุกภาคมากภาคกลาง
7. ประเภทไม้ ไม้ยืนต้น
8. ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ต้น ไม้ยืนต้นขนาดกลางสูง 5-10 เมตร แตกกิ่งก้านเล็กๆ มากมาย โคนกิ่งเล็กๆ จะเป็นเต้านูนรอบบางต้นมีกิ่งเล็กๆ งอกสานกันไปมาคล้ายรังนก เรียก รกมะดัน
ใบ เป็นใบรูปหอกสีเขียวแข็งออกเป็นคู่ตรงข้ามกันเป็นมัน ใบยาวประมาณ 9 ซม. กว้าง 2.5 ซม. ปลายแหลม
ดอก ดอกออกเป็นกลุ่ม 3-6 ดอก ดอกเดี่ยวเล็กๆ ดอกสีเขียวและแดงเรื่อๆ มี 4 กลีบ ยาว 6.5 มม. กว้าง 3 มม. ออกตามข้อ
ผล เป็นรูปกลมยาวปลายเรียวหรือยาวรี ผลยาว 5-7 ซม. กว้าง 2-3 ซม. ผลสีเขียวเป็นมันรสเปรี้ยวจัด
9. ส่วนที่ใช้บริโภค ยอดอ่อน ใบอ่อน ผลอ่อน
10. การขยายพันธุ์ เมล็ด
11. สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม ชอบดินร่วนซุยชุ่มชื้นขึ้นบริเวณป่าโปร่ง ป่าละเมาะทั่วไปหรือที่ลุ่มต่ำ
12. ฤดูกาลที่ใช้ประโยชน์ ยอดอ่อน ใบอ่อน (ฤดูฝน) ผล เดือนสิงหาคม – กันยายน
13. คุณค่าทางอาหาร คุณค่าทางอาหารในส่วนที่รับประทานได้ 100 กรัม ประกอบด้วย
| Cal | Moist ure | Protein | Fat | CHO | Fibre | Ash . | Ca | P | Fe | A.I.U | B1 | B2 | Niacin | C |
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
| Unit | % | Gm. | Gm. | Gm. | Gm. | Gm | mg. | mg. | mg. |
| mg. | mg. | mg. | mg. |
ผลมะดัน | 31 | 91.5 | 0.3 | 0.1 | 7.3 | 0.6 | 0.2 | 103 | 8 | Tr. | 225 | 0.01 | 0.04 | 0.2 | 16 |
14. การปรุงอาหาร ยอดอ่อน ใบอ่อน
รับประทานเป็นผักสดหรือลวกร่วมกับน้ำพริก ยำ ผล นำมาปรุงให้
รสเปรี้ยวให้แทนมะนาวได้ เช่น แกงสายบัว แกงส้ม แกงปลา น้ำพริกมะดัน ซอยใส่
ข้าวคลุกกะปิ หรือนำไปดอง
15. ลักษณะพิเศษ ใบมีรสเปรี้ยว ผลรสเปรี้ยวจัด บำรุงโลหิต ช่วยขับเสมหะ
ขับฟอกโลหิต ระบายอ่อนๆ
16. ข้อควรระวัง -
17. เอกสารอ้างอิง
กองโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. 2535. คุณค่าทางโภชนาการของอาหารไทย. 48 หน้า.
คณะอนุกรรมการประสานงานวิจัยและพัฒนาทรัพยากรป่าไม้และไม้โตเร็วอเนกประสงค์. 2540. ไม้อเนกประสงค์ กินได้. 486 หน้า.
เต็ม สมิตินันทน์. 2523. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย (ชื่อพฤกษศาสตร์-ชื่อพื้นเมือง). กรมป่าไม้ 379 หน้า.
วัชรี ประชาศรัยสรเดช. 2542. ผักพื้นเมือง เหนือ อีสาน ใต้. 81 หน้า.
สถาบันการแพทย์แผนไทย กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. 2542. ผักพื้นบ้านภาคกลาง 279 หน้า.
สำนักงานคณะกรรมการการสาธารณสุขมูลฐาน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข สถาบันการแพทย์แผนไทย กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. 2538. ผักพื้นบ้าน : ความหมายและภูมิปัญญาของสามัญชนไทย 261 หน้า.