ทานกับจาคะ
guest ทานกับจาคะ
ความหมายตามรูปศัพท์
คำว่า ทาน มาจากคำภาษาบาลี มีรากศัพท์มาจาก ทา ธาตุ มีความหมายว่า ให้ ลง ยุ ปัจจัย ในนามกิตก์ โดยมีรูปวิเคราะห์ 3 ลักษณะ ดังนี้
ทียเตติ ทานํ ชื่อว่าทาน เพราะว่า ให้ เป็นกริยานาม หมายถึงการให้
ทียติ อเนนาติ ทานํ ชื่อว่าทาน เพราะว่า เป็นวัตถุที่ให้ หมายถึง สิ่งของที่ให้, สิ่งที่ให้
ทียติ อวขณฺฑิยเตติ ทานํ ชื่อว่า ทาน เพราะอรรถว่า อันบุคคลย่อมให้ คือ ย่อมบั่นรอน
ความหมายของทานในพระไตรปิฎก
ทาน หมายถึง การให้วัตถุที่ควรให้
ทาน หมายถึง การให้ความรู้
ทาน หมายถึง การให้อภัยแก่คนหรือสัตว์อื่นตามความหมายนี้ คือ
การงดเว้นจากเวรภัย ได้แก่ การรักษาศีล มีเว้นจากการฆ่าสัตว์ เป็นต้น
การรักษาศีล เป็นการให้ทานอย่างหนึ่ง ถือเป็นการให้ที่ยิ่งใหญ่ เพราะเป็นการให้ความปลอดภัยในชีวิตแก่สัตว์ทั้งหลาย
- ความหมายของทานในอรรถกถา
ทาน หมายถึง ทานวัตถุ เพราะบุคคลให้ทานด้วยวัตถุนี้ ฉะนั้น
วัตถุนี้ จึงชื่อว่าทาน อธิบายว่า เขามอบทรัพย์ที่มีอยู่ของตนแก่ผู้อื่น
ทาน หมายถึง จาคเจตนา เจตนาเป็นเหตุบริจาค อันมีสิ่งของที่ควรให้ ๑๐ อย่าง มีข้าว เป็นต้น อันมีสัมมาทิฏฐิเป็นตัวนำ แก่บุคคลอื่น
ทาน หมายถึง ความไม่โลภ ซึ่งประกอบด้วยเจตนาอันเป็นเหตุบริจาคทาน
ทาน โดยเนื้อความมีเพียง ๒ อย่าง คือ จาคเจตนา และไทยธรรม
กล่าวโดยสรุปแล้ว ทาน หมายถึง การให้ การให้ธรรมะเป็นทาน การแบ่งปันสิ่งที่เป็นวัตถุและสิ่งที่ไม่ใช่วัตถุแก่สรรพสัตว์ เพื่ออนุเคราะห์ สงเคราะห์ ตอบแทนและบูชาคุณ
ทานสูตร ขุททกนิกาย อิติวุตตกะว่า
“ภิกษุทั้งหลาย ทาน ๒ อย่างนี้ คือ อามิสทาน ๑ ธรรมทาน ๑ ภิกษุทั้งหลาย บรรดาทาน ๒ อย่างนี้ ธรรมทานเป็นเลิศ”
ในอรรถกถาจริยาปิฎก พระอรรถกถาจารย์ จำแนกทานไว้ ๓ ประเภท คือ
๑. การให้วัตถุที่ควรให้ (วัตถุทาน)
๒. การให้พระธรรมคำสั่งสอน (ธรรมทาน)
๓. การให้อภัยแก่คนหรือสัตว์ (อภัยทาน)
อามิสทาน แบ่งได้ ๒ อย่าง คือ แบ่งตามผู้ให้ (ทายก) และแบ่งตามเจตนาของผู้ให้
ความคิดเห็น
ประกาศล่าสุดในบอร์ดเดียวกัน