อาคาร LX (Learning Exchange) จุดเปลี่ยน มจธ. พลิกโฉมการเรียนรู้รูปแบบใหม่

miniming profile image miniming

อาคาร LX (Learning Exchange) จุดเปลี่ยน มจธ. พลิกโฉมการเรียนรู้รูปแบบใหม่

มจธ

เมื่อระบบการศึกษาวันนี้ยังมีความไม่เท่าเทียม ทำอย่างไรให้ความรู้ใหม่ๆ ที่เป็นพหุวิทยาการจากสถาบันอุดมศึกษา สามารถไปสู่ทุกคนทุกช่วงวัย และเอาความรู้นั้นออกไปใช้ทำงานให้ได้ ไม่ใช่การเรียนรู้แบบเดิมจากตำรา หรือทฤษฎี หรือบรรยากาศการนั่งในห้องเรียนฟังอย่างเดียวอีกต่อไป

อาคาร Learning Exchange (LX)
รศ. ดร.บัณฑิต ทิพากร รองอธิการบดีอาวุโสฝ่ายวิชาการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) กล่าวว่า โลกปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วและพลิกผันไปสู่จุดใหม่ๆ ได้ตลอดเวลา รวมถึงเรื่องการศึกษา โดยเฉพาะมหาวิทยาลัยซึ่งเป็นที่พึ่งของทุกคนต้องมีการเปลี่ยนแปลงเพื่อไปสู่สิ่งใหม่ เพราะอนาคตการศึกษาไม่ได้อยู่ในรูปแบบเดิม

ในอดีตการศึกษาภาคบังคับเป็นการเรียนแบบมัดห่อ เมื่อจบหลักสูตรการศึกษาสาขาไหนจะได้รับใบปริญญาบัตรเฉพาะศาสตร์นั้นๆ ปัจจุบันจะเป็นการศึกษาที่ไม่เป็นทางการมากขึ้น เรียนแบบแยกส่วน และเป็นหน่วยย่อย (Micro credential: MC) เพื่อให้การเรียนรู้สามารถกระจายเข้าถึงทุกคนทุกช่วงวัย นำความรู้ไปทำงานได้จริง และตอบสนองต่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต ดังนั้นบรรยากาศและสิ่งแวดล้อมต่างๆของ มจธ.จะเปลี่ยนแปลงและส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ อาคารการเรียนรู้พหุวิทยาการ (The Multidisciplinary Learning Exchange Building: LX) จึงเป็นสถานที่ๆ มหาวิทยาลัยฯ สามารถสร้างสภาพแวดล้อมใหม่ๆ เพื่อรองรับแนวคิดการจัดการเรียนรู้รูปแบบใหม่ของ มจธ. (New Approach to Learning) ที่เรียกว่า Micro Credential (MC) เป็นการตอบสนองการเรียนรู้ตลอดชีวิต

“เราจะไม่เรียนวิศวกรรม หรือวิทยาศาสตร์ หรือสถาปัตย์ฯ อยู่เฉพาะในตึกคณะนั้นๆ แต่ทุกพื้นที่ใน มจธ.จะค่อยๆ ปรับให้กลายเป็นแหล่งเรียนรู้ หรือ Learning Space ซึ่งไม่ใช่มีเฉพาะในสำนักหอสมุด หรือ Science Learning Space คณะวิทยาศาสตร์ แต่พื้นที่ส่วนอื่นของมจธ.จะทยอยปรับเปลี่ยนตามแผนแม่บท Learning Space ของมหาวิทยาลัย สำหรับอาคารการเรียนรู้พหุวิทยาการ หรือ LX เป็นเพียงส่วนหนึ่งที่ตั้งใจออกแบบและสร้างขึ้นเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงไปสู่สิ่งใหม่ ให้เป็นแหล่งเรียนรู้ที่ทำให้นักวิจัยทุกศาสตร์มาทำงานวิจัยร่วมกัน ค้นหาความรู้ใหม่ ใช้เทคโนโลยีใหม่ที่จับต้องได้ เช่น เรื่องสุขภาพ เรื่องสมอง ไม่ใช้ศาสตร์ใดศาสตร์หนึ่ง แต่ใช้หลายๆ ศาสตร์ร่วมกัน กลายเป็นการเรียนรู้แบบข้ามศาสตร์ เกิดการแลกเปลี่ยนซึ่งกันและกัน แล้วนำความรู้ต่างๆ เหล่านั้น ถ่ายทอดลงให้กับผู้เรียนทุกช่วงวัยสามารถเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ที่เกิดขึ้น และหมุนเวียนความรู้จากคนหนึ่งไปสู่อีกคนหนึ่งได้ด้วยวิทยาการสมัยใหม่ นำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมาใช้เป็นเครื่องมือ ความรู้จะถูกหมุนจากล่างกลับขึ้นบนเพื่อนำไปสู่การทำวิจัย ค้นหาความรู้ใหม่ๆ แล้วนำความรู้ถ่ายทอดกลับลงมา ภายใต้ระบบนิเวศหรือการจัดสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม

อาคาร Learning Exchange

การจัดกิจกรรม และวิธีการทำงานที่ใช้ความรู้ให้เกิดประโยชน์มากขึ้น เพื่อสร้างเทคโนโลยีใหม่ รวมทั้งผลิตและพัฒนาแรงงานคุณภาพให้กับประเทศ อาคารการเรียนรู้พหุวิทยาการ หรือ LX จึงเป็นจุดเริ่มต้นของการพลิกโฉมการศึกษาและการทำงานของ มจธ.ไปสู่การเปลี่ยนแปลงการเรียนรู้ได้ตลอดเวลา และเป็นความหมายสำคัญของอาคารแห่งนี้”

“เพราะ มจธ. กำลังสร้างโลกใหม่ให้กับเด็กรุ่นใหม่ จึงต้องมองคนรุ่นใหม่เป็นหลัก ดังนั้น วันนี้ มจธ. ต้องเปลี่ยนทัศนคติ เปลี่ยนวิธีคิดและเปลี่ยนการบริหารจัดการใหม่ ไม่ยึดติดกับคำนิยามเดิมในอดีต เพื่อทำให้คนรุ่นใหม่สามารถที่จะมีความรู้อยู่บนโลกใหม่ได้ เป็นสิ่งสำคัญกว่า”รศ.ดร.บัณฑิต กล่าว

ผศ. ดร.ประเสริฐ คันธมานนท์ รองอธิการบดีอาวุโสฝ่ายบริหาร มจธ. กล่าวถึงทิศทางของ มจธ.ในอนาคตว่า อาคารการเรียนรู้พหุวิทยาการ หรือ LX เป็นอาคารที่มีความสำคัญอย่างมากภายใต้บริบทที่เรากำลังจะไปสู่การเปลี่ยนแปลงทั้งมหาวิทยาลัยให้เป็นแหล่งเรียนรู้ ที่ไม่ได้หมายถึงแหล่งที่มีเนื้อหาการสอนหรือภาพสไลด์โชว์ แต่เป็นแหล่งเรียนรู้ที่ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ระหว่างคน เกิดการทำงานร่วมกัน และทำให้เกิดการเรียนรู้ซึ่งกันและกัน ซึ่งอาคารการเรียนรู้พหุวิทยาการ หรือ LX เป็นก้าวหนึ่งของพื้นที่การเรียนรู้ (Learning Space) ที่จะก้าวไปสู่เป้าหมายใหญ่ และเป็นจุดเริ่มต้นของการทำให้กายภาพของ มจธ. เป็นแหล่งเรียนรู้ที่ไม่ว่าจะเป็นชิ้นส่วนใดของมหาวิทยาลัย จะต้องมีโอกาสเป็นแหล่งเรียนรู้ของทุกคนที่เข้ามา

โดยเราจะทำให้อาคาร LX ทั้งอาคารเป็นที่ถ่ายทอดความรู้ทั้งในเชิงการออกแบบ วิศวกรรมศาสตร์ เทคโนโลยีและพลังงาน ซึ่งเรานำองค์ความรู้เหล่านี้มาใส่ให้ตัวอาคาร เพื่อให้ผู้เรียนทั้งภายในและภายนอกสามารถเรียนรู้เนื้อหา องค์ประกอบและชิ้นส่วนต่างๆ ของอาคาร ได้จากระบบดิจิทัลหรือผ่านแอพพลิเคชั่นบนมือถือ หรือ IOT เป็นจุดเริ่มต้นของกระบวนการเรียนรู้ที่จะนำไปสู่การทำให้ มจธ.เป็น Living Lab หรือ ห้องปฏิบัติการที่มีชีวิต ซึ่งเป็นจุดประสงค์ของเราที่จะเปลี่ยนให้ มจธ.กลายเป็นแหล่งเรียนรู้ทั้งมหาวิทยาลัย

“ขณะที่เราใช้ชีวิตในมหาวิทยาลัย เราสามารถหาองค์ความรู้จากทุกที่ทุกเวลาใน มจธ. นั่นคือสิ่งที่จะเป็นเป้าหมายสำคัญของเรา และคำว่า Learning Innovation เป็น keyword สำคัญที่ทำให้เราก้าวออกไปจากรูปแบบเดิมของการให้ความรู้ของการเรียนการสอน อาคารการเรียนรู้พหุวิทยาการ หรือ LX นี้จะเป็นอาคารต้นแบบที่จัดให้นักศึกษามาแลกเปลี่ยนขณะเดียวกันยังเป็นอาคารที่จะใช้ประโยชน์เป็นแหล่งวิจัยขนาดใหญ่ของกระบวนการเรียนการสอนแบบใหม่ ที่ไม่ได้เกิดขึ้นในห้องเรียนในรูปแบบเดิม แต่เกิดขึ้นในห้องที่มีลักษณะแตกต่างออกไป เป็นห้องที่จะเกื้อหนุนให้นักศึกษาสามารถแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น”

ข้อมูลเพิ่มเติม : slotxo

ความคิดเห็น

ประกาศล่าสุดในบอร์ดเดียวกัน

4 ปีที่ผ่านมา
4 ปีที่ผ่านมา
lily9889 Icon Coronavirus: NI students in England can travel home for Christmas อ่าน 342 4 ปีที่ผ่านมา
4 ปีที่ผ่านมา
lily9889 Icon Covid in Scotland: Teacher worries as absences rise อ่าน 374 4 ปีที่ผ่านมา
4 ปีที่ผ่านมา
4 ปีที่ผ่านมา
4 ปีที่ผ่านมา
4 ปีที่ผ่านมา