หย่าแบ่งที่ดิน

guest profile image guest

การจดทะเบียนแบ่งทรัพย์สินระหว่างคู่สมรส

ความหมาย

          การจดทะเบียนแบ่งทรัพย์สินระหว่างคู่สมรส คือ การที่สามีและภริยา  หย่าขาดจากกัน และได้
ตกลงแบ่งหรือโอนทรัพย์สินที่เป็นสินสมรสให้แก่กัน
   ซึ่งจะเป็นการตกลงแบ่งสินสมรส   แต่ละสิ่งให้แต่ละฝ่าย
เท่า ๆ
  กัน  ทุก ๆ  สิ่ง  ทุก ๆ  อย่าง  ก็ทำได้  หรืออาจตกลงแบ่งสินสมรส  สิ่งหนึ่งสิ่งใดให้แก่อีกฝ่ายหนึ่งทั้งหมด  หรือเกินกว่าครึ่งหนึ่งแห่งราคาของสินสมรสนั้นก็ทำได้

กฎหมายและคำสั่งที่เกี่ยวข้อง
            -  ... มาตรา  ๑๔๖๕ - ๑๔๙๓ ๑๕๓๒ - ๑๕๓๕
                -  คำสั่งกรมที่ดิน ที่ ๖/๒๔๙๘  ลงวันที่ ๒๑  พฤษภาคม ๒๔๙๘  เรื่อง จดทะเบียนประเภทแบ่งทรัพย์สินระหว่างคู่สมรส 

สาระสำคัญ
               -  ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ได้วางหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการแบ่งประเภททรัพย์สินระหว่างสามีภริยาไว้ตามมาตรา  ๑๔๗๐  ว่า  ทรัพย์สินระหว่างสามีภริยา  นอกจากที่ได้แยกไว้เป็นสินส่วนตัวย่อมเป็น
สินสมรส
”  กฎหมายดังกล่าวได้แยกทรัพย์สินระหว่างสามีภริยาเป็น    ประเภท  คือ  ทรัพย์สินที่เป็นกรรมสิทธิ์ของคู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งโดยเฉพาะเรียกว่า  สินส่วนตัว”  และทรัพย์สินที่เป็นกรรมสิทธิ์ร่วมกันระหว่างคู่สมรส
ทั้งสองฝ่ายเรียกว่า
  สินสมรส” 
สินส่วนตัว 
มาตรา  ๑๔๗๑  สินส่วนตัวได้แก่ทรัพย์สิน
                    (๑)  ที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีอยู่ก่อนสมรส
                    (๒)  ที่เป็นเครื่องใช้ส่วนตัว  เครื่องแต่งกาย  หรือเครื่องประดับกายตามควรแก่ฐานะหรือเครื่องมือเครื่องใช้ที่จำเป็นในการประกอบอาชีพหรือวิชาชีพของคู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง 
                    (๓)  ที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้มาระหว่างสมรสโดยการรับมรดกหรือโดยการให้โดยเสน่หา 
                    (๔)  ที่เป็นของหมั้น
                    มาตรา  ๑๔๗๒  “สินส่วนตัวนั้น  ถ้าได้แลกเปลี่ยนเป็นทรัพย์สินอื่นก็ดี  ซื้อทรัพย์สินอื่นมาก็ดี  หรือขายได้เป็นเงินมาก็ดี  ทรัพย์สินอื่นหรือเงินที่ได้มานั้นเป็นสินส่วนตัว
                    สินส่วนตัวที่ถูกทำลายไปทั้งหมดหรือแต่บางส่วน  แต่ได้ทรัพย์สินอื่นหรือเงินมาทดแทนทรัพย์สินอื่นหรือเงินที่ได้มานั้นเป็นสินส่วนตัว”   
               ๒.  สินสมรส
                    มาตรา  ๑๔๗๔ สินสมรสได้แก่ทรัพย์สิน
                    (ที่คู่สมรสได้มาระหว่างสมรส
                    (๒)  ที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้มาระหว่างสมรสโดยพินัยกรรม   หรือโดยการให้เป็นหนังสือเมื่อพินัยกรรมหรือหนังสือยกให้ระบุว่าเป็นสินสมรส
                    (ที่เป็นดอกผลของสินส่วนตัว
ถ้ากรณีเป็นที่สงสัยว่าทรัพย์สินอย่างหนึ่งเป็นสินสมรสหรือมิใช่ ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่า
เป็น
  ”สินสมรส
                     มาตรา ๑๕๓๓  เมื่อหย่ากันให้แบ่งสินสมรสให้ชายและหญิงได้ส่วนเท่ากัน

          หลักเกณฑ์การสอบสวน
-   เมื่อมีผู้ยื่นคำขอจดทะเบียนแบ่งทรัพย์สินระหว่างคู่สมรสตามนัยมาตรา  ๑๕๓๓  แห่ง ป...
ให้พนักงานเจ้าหน้าที่สอบสวนและเรียกหลักฐาน ดังนี้
          (เมื่อสามีภรรยาหย่าขาดจากกัน  และประสงค์จะแบ่งทรัพย์สินระหว่างคู่สมรสเกี่ยวกับที่ดิน  โดยขอให้เจ้าพนักงานที่ดินจดทะเบียนโอนที่ดินให้แก่กันและกันแล้ว  ให้เจ้าพนักงานที่ดินเรียกหลักฐานการหย่าขาดจากสามีภรรยา  เช่น คำพิพากษาหรือหนังสือหย่าระหว่างกันมาตรวจสอบ  ถ้าในกรณีที่จะต้องจดทะเบียนหย่า ให้เรียกหลักฐานการจดทะเบียนหย่ามาแสดงด้วย
          (เมื่อเห็นว่ามีการหย่าขาดจากกันถูกต้องแล้ว ให้เจ้าพนักงานที่ดินรับจดทะเบียนในประเภท  แบ่งทรัพย์สินระหว่างสมรส”  โดยให้คู่สมรสยื่นคำขอต่อพนักงานเจ้าหน้าที่และแก้ทะเบียนตามตัวอย่างท้ายคำสั่งนี้

          วิธีดำเนินการ
          การจัดทำคำขอฯ  (.. คำขอ (.. เป็นไปตามคำสั่งกรมที่ดิน ที่  /๒๔๙๘  ลงวันที่ ๒๑  พฤษภาคม  ๒๔๙๘  เรื่อง จดทะเบียนประเภทแบ่งทรัพย์สินระหว่างคู่สมรส  
          มาตรา   ๑๕๓๓   แห่ง  ... บัญญัติไว้เพียงว่า   เมื่อหย่ากันให้แบ่งสินสมรสให้ชายและหญิงได้สัดส่วน
เท่ากัน
   มิได้ระบุว่าจะต้องแบ่งสินสมรสให้แต่ละฝ่ายได้เท่า ๆ  กัน  ทุกสิ่งทุกอย่าง   คู่สมรสจึงอาจตกลงแบ่งสินสมรสสิ่งหนึ่งสิ่งใดแก่อีกฝ่ายหนึ่งทั้งหมดหรือเกินกว่าครึ่งหนึ่งแห่งราคาของสินสมรสนั้นได้   หากทรัพย์สินนั้นได้ตกลงกันไว้ในเวลาจดทะเบียนหย่า   ข้อตกลงนั้นย่อมจะมีผลบังคับผูกพันให้เป็นไปตามข้อตกลงได้   และกรณี
เช่นนี้ส่วนที่เกินครึ่งก็มิใช่เป็นการให้โดยเสน่หา
   (เทียบฎีกาที่   ๑๔๐๖/๒๕๑๗)   พนักงานเจ้าหน้าที่ไม่จำต้อง
พิจารณาว่าส่วนแบ่งตามที่ตกลงกันนั้น   จะเท่ากันหรือไม่   ก็ย่อมจดทะเบียนประเภทแบ่งทรัพย์สินระหว่างคู่สมรสได้
           (หนังสือกรมที่ดิน ที่ มท ๐๗๐๘/๒๖๗๖๑  ลงวันที่ ๒๗ พฤศจิกายน  ๒๕๒๗  ตอบข้อหารือจังหวัดชลบุรี  เรื่อง  หารือการจดทะเบียนที่ดิน   เวียนตามหนังสือกรมที่ดิน ที่ มท ๐๗๐๘/ว ๓๗๐๐๖ลงวันที่ ๒๙ พฤศจิกายน  ๒๕๒๗)

แนวทางการวินิจฉัยที่สำคัญเกี่ยวกับการแบ่งทรัพย์สินระหว่างคู่สมรส
๑.  การจดทะเบียนลงชื่อคู่สมรสเป็นการจดทะเบียนลงชื่อสามีภรรยาในหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินซึ่งเป็นสินสมรส  ตามนัยมาตรา  ๑๔๗๕  แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์   เมื่อการสมรสสิ้นสุดลงไปไม่ว่าด้วยเหตุใด  เช่น   ด้วยความตาย  หรือ  หย่า ฯ  คู่สมรสย่อมไม่ใช่สามีภรรยาอีกต่อไป   และสินสมรสก็สิ้นสภาพ แม้ยังมิได้มีการตกลงแบ่งทรัพย์สินระหว่างคู่สมรสทรัพย์สินนั้นก็คงเป็นกรรมสิทธิ์รวมธรรมดาเท่านั้น  (คำพิพากษาฎีกา ที่  ๑๕๒๓/๒๕๑๙ดังนั้น เมื่อคู่สมรสฝ่ายที่มีชื่อในหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินถึงแก่ความตายแล้ว  จึงไม่อาจจดทะเบียนลงชื่อคู่สมรสได้   และเมื่อตามมาตรา  ๑๕๓๒  วรรคแรก  แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์  ก็บัญญัติว่า  เมื่อหย่าแล้วให้จัดการแบ่งทรัพย์สินของสามีภรรยา” กรณีจึงเป็นเรื่องที่ต้องไปจัดการแบ่งทรัพย์สินระหว่างสามีภรรยากัน  และขอจดทะเบียนในประเภท  แบ่งทรัพย์สินระหว่างคู่สมรส”   แต่การจดทะเบียนแบ่งทรัพย์สินระหว่างคู่สมรสเช่นนี้เป็นการขอจดทะเบียนสิทธิในที่ดินโดยประการอื่นนอกจากนิติกรรมจะต้องให้ผู้ขอนำคำสั่งศาลซึ่งแสดงว่าตนมีสิทธิหรือได้รับส่วนแบ่งในสินสมรสแล้วมาขอจดทะเบียนสิทธิตามข้อ     แห่งกฎกระทรวงฉบับที่   (.. ๒๔๙๗ออกตามความในพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน  
..๒๔๙๗
               การจดทะเบียนกรณีได้มาซึ่งที่ดินในระหว่างอยู่กินฉันสามีภรรยาแล้ว  ต่อมาคู่กรณีฝ่ายที่มีชื่อในหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินถึงแก่ความตาย   คู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งที่ยังมีชีวิตอยู่จะมาขอจดทะเบียนให้ปรากฏชื่อร่วมในหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินเป็นการจดทะเบียนสิทธิในที่ดินโดยประการอื่นนอกจากนิติกรรม   ผู้ขอจะต้องนำ
คำสั่งศาลที่แสดงว่าตนมีสิทธิหรือได้รับส่วนแบ่งในที่ดินอันเป็นทรัพย์สินร่วมกันมาขอจด
ทะเบียนสิทธิตามข้อ
  แห่งกฎกระทรวง  ฉบับที่    (..๒๔๙๗ ออกตามความในพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน  
..๒๔๙๗
               ข้อเท็จจริงในเรื่องนี้ปรากฏว่า  กับ  สมรสกันเมื่อปี  ๒๕๒๒  ระหว่างสมรส ได้ซื้อที่ดินโฉนดที่ดินเมื่อปี  ๒๕๒๘  และปี  ๒๕๓๔  ตามลำดับที่ดินดังกล่าวจึงเป็นสินสมรสตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์  มาตรา  ๑๔๗๔  ภายหลังทั้งสองหย่าขาดจากกัน   การสมรสจึงสิ้นสุดลงและบันทึกข้อตกลงยกสินสมรสให้แก่บุตร    เป็นสัญญาแบ่งทรัพย์สินระหว่างสามีภรรยาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์  มาตรา  ๑๕๓๒  และเป็นสัญญาเพื่อประโยชน์ของบุตรทั้งสองคน    ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกตามมาตรา  ๓๗๕  วรรคท้าย   ดังนั้น  ตราบใดที่บุตรของ   .  กับ   .   ยังมิได้แสดงเจตนาถือเอาประโยชน์จากสัญญา   กับ  จึงอาจตกลงกันเปลี่ยนแปลงหรือระงับสิทธิตามที่ตกลงกันไว้ได้ทุกเมื่อ   (เทียบกับคำพิพากษาฎีกาที่  ๒๙๑/๒๕๔๑แต่ในการที่   . จะจดทะเบียนลงชื่อ    .  ในโฉนดที่ดินดังกล่าวซึ่งมีชื่อ    .   ถือกรรมสิทธิ์ไว้แต่เพียงผู้เดียว    ผู้ขอจะ
ต้องนำใบสำคัญการหย่ามาประกอบการขอจดทะเบียน
    เพื่อพนักงานเจ้าหน้าที่จะได้รับจดทะเบียนในประเภท 
แบ่งทรัพย์สินระหว่างคู่สมรส”  ตามนัยมาตรา  ๑๕๓๒   แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์  การที่ ว.
ผู้รับมอบอำนาจนำหลักฐานทะเบียนสมรสมาแสดงทั้งยังให้ถ้อยคำยืนยันว่า กับ ยังเป็นสามีภริยาที่ชอบด้วยกฎหมาย  ทำให้พนักงานเจ้าหน้าที่เข้าใจว่า  ทั้งสองยังเป็นสามีภริยาที่ชอบด้วยกฎหมายและรับจดทะเบียนให้ไปในประเภท   ลงชื่อคู่สมรส”   ตามนัยมาตรา  ๑๔๗๕  แห่ง ป..อันเป็นการจดทะเบียนไปโดยคลาดเคลื่อน  จึงควรดำเนินการเพิกถอนรายการจดทะเบียนลงชื่อคู่สมรสซึ่งจดทะเบียนในโฉนดที่ดินเมื่อปี  ๒๕๔๒  ตามนัยมาตรา  ๖๑  แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน  สำหรับการจดทะเบียนให้ที่ดินเฉพาะส่วนระหว่าง  กับ ในลำดับถัดมา   เมื่อเพิกถอนรายการจดทะเบียนลงชื่อคู่สมรสแล้ว  โฉนดที่ดินจะกลับมีชื่อ  ถือกรรมสิทธิ์
แต่เพียงผู้
เดียวดังเดิมและไม่มีเหตุใดที่จะต้องจดทะเบียนให้เฉพาะส่วนแก่ เพราะเมื่อที่ดินเป็นสินสมรส  ย่อมเป็นเจ้าของร่วมอยู่ด้วย  ซึ่งเมื่อทั้งสองหย่าขาดจากกันแล้วที่ดินดังกล่าวย่อมคงไว้เพื่อการแบ่งสินสมรส
เท่านั้น
 การที่พนักงานเจ้าหน้าที่จดทะเบียนให้ที่ดินดังกล่าวเฉพาะส่วนของ . แก่ ช. จึงเป็นไปโดยคลาดเคลื่อน  ให้เพิกถอนเสีย 

 

ความคิดเห็น

ประกาศล่าสุดในบอร์ดเดียวกัน

guest Icon หย่าแบ่งที่ดิน อ่าน 1,133 13 ปีที่ผ่านมา
13 ปีที่ผ่านมา
13 ปีที่ผ่านมา
guest Icon ชมเหตุการณ์ประหลาดบนท้องฟ้า อ่าน 972 13 ปีที่ผ่านมา
13 ปีที่ผ่านมา
guest Icon รวมภาษิตโลก อ่าน 1,467 13 ปีที่ผ่านมา
13 ปีที่ผ่านมา
guest Icon คำคมขงเบ้งและสุภาษิตจีน อ่าน 50,851 13 ปีที่ผ่านมา
13 ปีที่ผ่านมา
14 ปีที่ผ่านมา
14 ปีที่ผ่านมา
14 ปีที่ผ่านมา