สำหรับใครที่ต้องการมีประกันเพื่อปิดความเสี่ยงเสียค่าใช้จ่ายจำนวนมากในการรักษาเกินจะจ่ายไหว แต่ก็กังวลในความไม่แน่นอนในอนาคต เช่น ต้องเตรียมเงินการศึกษาให้ลูก อนาคตอาจมีแนวโน้มว่าอาจจะขาดรายได้ หรืออยากจะถอนเงินบางส่วนออกมาใช้
"ประกัน Unit Link ตอบโจทย์สำหรับคนที่ชอบความยืดหยุ่น"
แล้วประกัน unit link คืออะไร ทำไมถึงยืดหยุ่นได้
"ประกัน Unit Link คือประกันควบการลงทุน ที่เราสามารถเลือกได้ว่าจะเน้นไปด้านคุ้มครองเยอะ หรือเน้นการลงทุนเยอะกว่า ตามไลฟ์สไตล์ของเราในตอนนั้น ในส่วนที่ลงทุน กำไรที่เกิดจากการลงทุนสามารถเลือกได้ว่าจะนำไปเพิ่มความคุ้นครอง หรือถอนออกมา" ความยืดหยุ่นนี้ เลยเป็นข้อดีที่เราสามารถปรับได้แบบที่เป็นตัวเราในช่วงเวลานั้นๆ
"ยกตัวอย่างการใช้งานประกัน Unit Link: ถ้าตอนที่ซื้อ เรายังไม่มีภาระการเงินให้ใคร เราอาจจะโสดหรือยังไม่มีลูก เราอาจจะเน้นไปทางการลงทุนเพื่อได้ผลตอบแทนมาจ่ายในส่วนประกัน แต่ถ้าถึงวันนึง เรามีลูกหรือถ้าเราเป็นอะไรไป จะมีคนอื่นเดือดร้อน เราก็สามารถปรับมาเน้นคุ้มครอง ถ้าเสียชีวิตจะได้มากกว่าประกันทั่วไป
แต่ข้อที่ควรพิจารณาของประกัน Unit link ประกันชีวิต แบบออมทรัพย์ คือเรื่องความเสี่ยงจากการลงทุน จะเกิดตอนที่กองทุนไม่ได้ทำกำไร ประกันชีวิตแบบทั่วไปจะตอบโจทย์มากกว่า เพราะเราแค่จ่าย บริษัทจะไปลงทุนอะไรไม่รู้ แต่เรารอรับผลตอบแทนที่คงที่ จึงไม่ต้องรับความเสี่ยง
ถ้าเป็นแบบจ่ายเบี้ยครั้งเดียว เหมาะกับคนที่มีเป้าหมายทำประกันเพื่อเน้นการออม ไม่ต้องการรับความเสี่ยงสูง ๆ และ ไม่สามารถบริหารการลงทุนเองได้เหมือนอย่างแบบยูนิตลิงค์ แต่ยังต้องการผลตอบแทนที่สูงกว่าประกันแบบดั้งเดิม
ถ้าเป็นแบบจ่ายเบี้ยรายงวด เหมาะกับคนที่ต้องการความคุ้มครองชีวิตสูง และ มีโอกาสได้รับผลตอบแทนที่สูงกว่าประกันแบบดั้งเดิม
1) ผลตอบแทน ถูกกำหนดตามแบบประกันภัยผลตอบแทนค่อนข้างต่ำ แต่มีการการันตี กำหนดตายตัว เปลี่ยนแปลงได้ขึ้นอยู่กับผลตอบแทนจากการลงทุน ซึ่งอาจจะกำไรหรือขาดทุนก็ได้
Unit Linked ผลตอบแทนขึ้นอยู่กับการวางแผนลงทุน ผู้ถือกรมธรรม์เป็นคนบริหารการลงทุนเอง โดยสามารถเลือกลงทุนในกองทุนรวมที่บริษัทคัดเลือกมาให้
2) ความเสี่ยง ไม่มีความเสี่ยงเลย บริษัทประกันเป็นคนบริหารการลงทุนและรับความเสี่ยงเอง
Unit Linked ถ้าเลือกแผนการลงทุนแบบเสี่ยงสูง อาจมีโอกาสขาดทุนได้ ผู้ถือกรมธรรม์เป็นคนบริหารการลงทุนและรับความเสี่ยงเอง
3) ความยืดหยุ่น ไม่ยืดหยุ่น ไม่สามารถเลือกอะไรได้เลย บริษัทประกันเป็นคนกำหนดระยะเวลาจ่ายเบี้ย ระยะเวลาคุ้มครอง ผลตอบแทนและความคุ้มครองที่จะได้ เองทั้งหมด
Unit Linked มีความยืดหยุ่น ถ้าเป็นแบบจ่ายเบี้ยรายงวด สามารถกำหนดระยะเวลาจ่ายเบี้ย / ระยะเวลาคุ้มครอง / ปรับเพิ่ม – ลดทุนประกัน ตามความเหมาะสมเองได้ / ถอนเงินบางส่วนจากกรมธรรม์ได้ / หยุดพักชำระเบี้ยได้ / และสามารถออกแบบพอร์ตการลงทุนของตัวเองได้ แต่ถ้าเป็นแบบจ่ายเบี้ยครั้งเดียว จะไม่สามารถปรับเพิ่ม – ลดเบี้ยประกันได้ เพราะจะเป็นแบบที่เน้นการลงทุนมากกว่าการคุ้มครอง โดยจะมีทุนประกันสูงกว่าเบี้ยที่จ่ายมาเล็กน้อย
4) เบี้ยประกันภัย เป็นอัตราที่บริษัทกำหนดไว้และขึ้นอยู่กับจำนวนเงินเอาประกันภัยที่เลือกซื้อ เพศ และอายุ โดยคำนวณรวมเป็นจำนวนเดียวทั้งค่าใช้จ่าย ความคุ้มครองและส่วนของการออม สามารถเลือกจำนวนเบี้ยประกันภัยที่จะชำระได้เอง อีกทั้งยังมีความยืดหยุ่นสูง สามารถเพิ่ม/ลด หรือพักการชำระเบี้ยฯ (Premium Holiday) ได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับกฎเกณฑ์ที่บริษัทกำหนด
5) การถอนเงินจากกรมธรรม์ ต้องทำการเวนคืนกรมธรรม์ และความคุ้มครองสิ้นสุดลง
สามารถถอนจากมูลค่าบัญชีกรมธรรม์บางส่วน โดยยังได้รับความคุ้มครองอย่างต่อเนื่อง ตราบใดที่มูลค่าบัญชีกรมธรรม์ที่คงเหลือเพียงพอในการหักค่าใช้จ่ายต่างๆ ภายใต้กรมธรรม์
6) สิทธิประโยชน์ทางภาษี เบี้ยประกันชีวิต ลดหย่อนภาษีได้ตามหลักเกณฑ์ของกรมสรรพากร ไม่เกิน 100,000 บาท
Unit Linked สามารถลดหย่อนภาษีได้เฉพาะเบี้ยประกันในส่วนของการทำประกันชีวิตเท่านั้น (ไม่รวมส่วนการลงทุน) ไม่เกิน 100,000 บาท
ที่มา - oic.or.th
- findoccozycorner.com
รับชมวีดีโอ สูงวัยมีทรัพย์ (เพื่อผู้สูงอายุ)
คลิก https://www.youtube.com/watch?v=dBq6cVKgIXc