อำนาจของมัจจุราช

baja1111 profile image baja1111

อโยฆรชาดก (ว่าด้วยอำนาจของมัจจุราช)

-------------------------------------------

อโยฆรชาดก เป็นชาดกที่แสดงถึงพระชาติหนึ่งของพระโพธิสัตว์ ที่เกิดเป็นอโย-

ฆรกุมาร (กุมารผู้เกิดในเรือนที่ทำด้วยเหล็ก) อโยฆรกุมาร สลดพระทัย ได้ตรัสโทษ

ของการอยู่ในครรภ์พระมารดาว่าเหมือนอยู่ในนรก และตัวเองเมื่อคลอดจากครรภ์พระ

มารดาแล้ว ยังต้องถูกกักขังให้มีชีวิตและศึกษาศิลปวิทยาอยู่ในเรือนเหล็กนั้นเป็นเวลา

นานถึง ๑๖ ปี เหมือนอยู่ในนรกอีกเช่นกัน, เป็นผู้ไม่ปรารถนาอยู่ครองราชสมบัติ เพราะ

ทรงเห็นภัยแห่งความตายซึ่งทุกคนไม่สามารถหลีกหนีพ้นได้ ไม่มีใครสามารถรอดพ้น

จากเงื้อมมือของมัจจุราชไปได้ ปรารถนาจะออกบวชประพฤติธรรม จนกว่าความแก่

ความเจ็บ และความตายจะไม่มาถึง จึงได้ตรัสพระคาถา รวม ๒๔ พระคาถา (ดังที่

ปรากฏในพระสูตร) ให้พระราชบิดาได้ทรงสดับ แล้วทูลลาเสด็จออกบรรพชา และใน

ที่สุด ทั้งพระบิดา พระมารดา อำมาตย์ และ ชาวเมืองเป็นจำนวนมาก ก็ได้ออกบวช

ตามพระโพธิสัตว์ ด้วย

แสดงให้เห็นว่า มิใช่เฉพาะในชาติสุดท้ายเท่านั้น ที่พระองค์เสด็จออกมหา

ภิเนษกรมณ์(การแสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่) แม้ในชาติก่อน ๆ ก็เคยออกมหาภิเนษกรมณ์

เหมือนกัน.
มิใช่เฉพาะในชาติสุดท้ายเท่านั้น

ที่พระองค์เสด็จออกมหาภิเนษกรมณ์(การแสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่)

แม้ในชาติก่อน ๆ ก็เคยออกมหาภิเนษกรมณ์เหมือนกัน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่มที่ ๖๑ หน้าที่ ๒๗๓ - ๒๗๙

----------------------------------------

[๒๒๖๑] (อโยฆรกุมารตรัสว่า) สัตว์ถือปฏิสนธิ

กลางคืนก็ตาม กลางวันก็ตาม ย่อมอยู่ในครรภ์มารดาก่อน

สัตว์นั้น ย่อมไปสู่ความเป็นกลละเป็นต้น ย่อมไม่ย้อนกลับ

มาสู่ความเป็นกลละเป็นต้นอีก เหมือนเมฆที่ตั้งขึ้นแล้ว

ย่อมล่องลอยไป ฉะนั้น.

[๒๒๖๒] นรชนทั้งหลาย จะสู้รบกับชรา พยาธิ มรณะ

ด้วยกำลังพล ไม่ได้ เพราะถึงอย่างไร ก็ต้องแก่ และ ต้องตาย

เพราะว่าชีวิตของสัตว์ทั้งมวลนี้ ถูกความเกิดและความแก่

เข้าไปประทุษร้ายเบียดเบียน เพราะเหตุนั้น ข้าพระพุทธเจ้า

จึงคิดว่าจะบวชประพฤติธรรม.

[๒๒๖๓] พระราชาผู้เป็นอธิบดีในรัฐทั้งหลาย ย่อมจะข่มขี่

ราชศัตรูผู้มีเสนาอันประกอบด้วยองค์ ๔ ล้วนมีรูปร่างน่า

สะพรึงกลัว เอาชัยชนะได้ แต่ไม่สามารถจะชนะเสนา

แห่งมัจจุราชได้ เพราะเหตุนั้น ข้าพระพุทธเจ้าจึงคิดว่า

จะบวชประพฤติธรรม.

[๒๒๖๔] พระราชาบางพวก แวดล้อมด้วยพลม้า พลรถ

และพลเดินเท้า ย่อมพ้นจากเงื้อมมือของข้าศึกได้ แต่ก็

ไม่อาจจะพ้นจากสำนักของมัจจุราชได้ เพราะเหตุนั้น

ข้าพระพุทธเจ้า จึงคิดว่าจะบวชประพฤติธรรม.

[๒๒๖๕] พระราชาทั้งหลายผู้กล้าหาญ ย่อมหักค่าย

ทำลายพระนคร แห่งราชศัตรูให้ย่อยยับได้ และกำจัด

มหาชนได้ด้วยพลช้าง พลม้า พลรถ และพลเดินเท้า

แต่ไม่สามารถจะหักรานเสนาแห่งมัจจุราชได้ เพราะเหตุนั้น

ข้าพระพุทธเจ้าจึงคิดว่าจะบวชประพฤติธรรม.

[๒๒๖๖] คชสารทั้งหลายที่ตกมัน มีมันเหลวแตก

ออกจากกระพอง ย่อมย่ำยีนครทั้งหลาย และเข่นฆ่า

ประชาชนได้ แต่ไม่สามารถจะย่ำยีเสนาแห่งมัจจุราชได้

เพราะเหตุนั้น ข้าพระพุทธเจ้า จึงคิดว่าจะบวช

ประพฤติธรรม.

[๒๒๖๗] นายขมังธนูทั้งหลาย แม้มีมืออันได้

ฝึกฝนมาดีแล้ว เป็นผู้มีปัญญา สามารถยิงขึ้นให้ถูก

ได้ในที่ไกล ยิงได้แม่นยำไม่ผิดพลาด ก็ไม่สามารถ

จะยิงต่อต้านมัจจุราชได้ เพราะเหตุนั้น ข้าพระพุทธเจ้า

จึงคิดว่า จะบวชประพฤติธรรม.

[๒๒๖๘] สระทั้งหลาย และมหาปฐพี กับทั้งภูเขา

ราวไพร ย่อมเสื่อมสิ้นไป สังขารทั้งปวงนั้น จะตั้งอยู่

นานสักเท่าไร ก็ย่อมเสื่อมสิ้นไป เพราะสังขารทั้งปวงนั้น

ครั้นถึงกาลกำหนดแล้ว ย่อมจะแตกทำลาย ไป เพราะเหตุ-

นั้น ข้าพระพุทธเจ้าจึงคิดว่าจะบวชประพฤติธรรม.

[๒๒๖๙] แท้จริงชีวิตของสัตว์ทั้งมวล ทั้งที่เป็นสตรี

และบุรุษในโลกนี้ เป็นของหวั่นไหว เหมือนแผ่นผ้าของ

นักเลงสุรา และต้นไม้เกิดใกล้ฝั่ง เป็นของหวั่นไหว

ไม่ยั่งยืนฉะนั้น เพราะเหตุนั้น ข้าพระพุทธเจ้าจึงคิดว่า

จะบวชประพฤติธรรม.

[๒๒๗๐] สัตว์ทั้งหลาย ทั้งหนุ่มทั้งแก่ ทั้งปานกลาง

ทั้งหญิงทั้งชาย ย่อมเป็นผู้มีสรีระแตกทำลายไป เหมือนกับ

ผลไม้ที่หล่นแล้วจากขั้ว ฉะนั้น เพราะเหตุนั้น ข้า-

พระพุทธเจ้า จึงคิดว่า จะบวชประพฤติธรรม.

[๒๒๗๑] พระจันทร์อันเป็นดาราแห่งดวงดาว เป็นฉันใด

วัยนี้หาเป็นฉันนั้นไม่ เพราะส่วนใดล่วงไปแล้ว ส่วนนั้น

เป็นอันล่วงไปแล้ว ในบัดนี้ อนึ่ง ความยินดีในกามคุณ

ของคนแก่ชราแล้วย่อมไม่มี ความสุขจะมีมาแต่ไหน เพราะ-

เหตุนั้น ข้าพระพุทธเจ้าจึงคิดว่าจะบวชประพฤติธรรม.

[๒๒๗๒] ยักษ์ก็ดี ปีศาจก็ดี หรือเปรตก็ดี โกรธเคืองแล้ว

ย่อมเข้าสิงมนุษย์ได้ แต่ไม่สามารถจะเข้าสิงมัจจุราชได้เลย

เพราะเหตุนั้น ข้าพระพุทธเจ้าจึงคิดว่าจะบวชประพฤติธรรม.

[๒๒๗๓] มนุษย์ทั้งหลาย ย่อมกระทำการบวงสรวงยักษ์

ปีศาจ หรือเปรตทั้งหลายผู้โกรธเคืองแล้วได้ แต่ไม่สามารถ

จะบวงสรวงมัจจุราชได้เลย เพราะเหตุนั้น ข้าพระพุทธเจ้า

จึงคิดว่า จะบวชประพฤติธรรม.

[๒๒๗๔] พระราชาทั้งหลาย ทรงทราบโทษผิดแล้ว

ย่อมลงอาชญาผู้กระทำความผิด ผู้ประทุษร้ายต่อราชสมบัติ

และผู้เบียดเบียนประชาชน ตามสมควร แต่ไม่สามารถลง

อาชญามัจจุราชได้เลย เพราะเหตุนั้น ข้าพระพุทธเจ้าจึงคิดว่า

จะบวชประพฤติธรรม.

[๒๒๗๕] ชนทั้งหลายผู้กระทำความผิด ฐานประทุษร้าย

ต่อพระราชาก็ดี ผู้ประทุษร้ายต่อราชสมบัติก็ดี ผู้เบียดเบียน

ประชาชนก็ดี ย่อมจะขอพระราชทานอภัยโทษได้ แต่หาทำ

มัจจุราชให้ผ่อนปรนกรุณาปราณีได้ไม่ เพราะเหตุนั้น

ข้าพระพุทธเจ้าจึงคิดว่า จะบวชประพฤติธรรม.

[๒๒๗๖] มัจจุราชมิได้มีความเกรงใจเลยว่าผู้นี้เป็นกษัตริย์

ผู้นี้เป็นพราหมณ์ ผู้นี้มั่งคั่ง ผู้นี้มีกำลัง ผู้นี้มีเดชานุภาพ

ย่อมย่ำยีทั่วไปหมด เพราะเหตุนั้น ข้าพระพุทธเจ้า จึงคิดว่า

จะบวชประพฤติธรรม.

[๒๒๗๗] ราชสีห์ก็ดี เสือโคร่งก็ดี เสือเหลืองก็ดี

ย่อมข่มขี่เคี้ยวกินสัตว์ที่ดิ้นรนอยู่ได้ แต่ไม่สามารถจะเคี้ยวกิน

มัจจุราชได้ เพราะเหตุนั้น ข้าพระพุทธเจ้า จึงคิดว่าจะบวช

ประพฤติธรรม.

[๒๒๗๘] นักเล่นกลทั้งหลาย เมื่อทำมายากล ณ ท่ามกลาง-

สนาม ย่อมลวงนัยน์ตาประชาชนในที่นั้น ๆ ให้หลงเชื่อได้

แต่ไม่สามารถจะลวงมัจจุราชให้หลงเชื่อได้เลย เพราะเหตุนั้น

ข้าพระพุทธเจ้า จึงคิดว่าจะบวชประพฤติธรรม.

[๒๒๗๙]อสรพิษ ที่มีพิษร้าย โกรธขึ้นมาแล้วย่อมขบกัดมนุษย์

ให้ถึงตายได้ แต่ไม่สามารถจะขบกัดมัจจุราชให้ตายได้

เพราะเหตุนั้น ข้าพระพุทธเจ้า จึงคิดว่าจะบวชประพฤติธรรม.

[๒๒๘๐] อสรพิษโกรธขึ้นแล้วขบกัดผู้ใด หมอทั้งหลาย

ย่อมถอนพิษร้ายนั้นได้ แต่จะถอนพิษของผู้ถูกมัจจุราช

ประทุษร้ายหาได้ไม่ เพราะเหตุนั้น ข้าพระพุทธเจ้าจึงคิดว่า

จะบวชประพฤติธรรม.

[๒๒๘๑] แพทย์ผู้มีชื่อเสียงเหล่านี้ คือ แพทย์ธรรมมนตรี

แพทย์เวตตรุณะ แพทย์โภชะ อาจจะกำจัดพิษพระยานาคได้

แต่แพทย์เหล่านั้น ต้องทำกาลกิริยานอนตาย เพราะเหตุนั้น

ข้าพระพุทธเจ้าจึงคิดว่า จะบวชประพฤติธรรม.

[๒๒๘๒] วิชาธรทั้งหลาย เมื่อร่ายอาคม ชื่อโฆรมนต์

ย่อมหายตัวไปได้ด้วยโอสถทั้งหลาย แต่จะหายตัวไม่ให้-

มัจจุราชเห็นไม่ได้เลย เพราะเหตุนั้น ข้าพระพุทธเจ้า

จึงคิดว่า จะบวชประพฤติธรรม.

[๒๒๘๓] ธรรมแลย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรม ธรรมที่บุคคล

ประพฤติดีแล้วย่อมนำสุขมาให้ นี้เป็นอานิสงส์ ในธรรมที่

ประพฤติดีแล้ว ผู้มีปกติประพฤติธรรม ย่อมไม่ไปสู่ทุคติ.

[๒๒๘๔] สภาพทั้งสองคือ ธรรม และอธรรม มีวิบาก-

ไม่เสมอกัน อธรรมย่อมนำไปสู่นรก ธรรมย่อมยังสัตว์

ให้ถึงสุคติ.

จบอโยฆรชาดกที่ ๑๔ .



ควรทราบว่า คำว่า อุเบกขา ในพระไตรปิฎกมีหลายนัย บางนัยหมายถึงเวทนา

บางนัยหมายถึงตัตรามัชฌัตตตา และหมายถึง ปัญญา วิริยะ ก็มี ถ้าเป็นเวทนา

เกิดกับจิตทุกประเภท ถ้าเป็นธรรมประเภทอื่นย่อมเกิดกับจิตตามสมควร แม้ใน

ขณะที่เมตตาหรือกรุณาเกิดขึ้น ก็มีอุเบกขาร่วมได้ แต่ถ้าเป็นขั้นฌานที่เป็นที่ห้า

ปัญจมฌาน ขณะที่อุเบกขาพรหมวิหารเกิดขึ้น ขณะนั้นไม่มี เมตตา และกรุณา

พรหมวิหารเกิดขึ้น..
อุเบกขา ๑๐ อย่าง

อุเบกขามี ๑๐ อย่าง คือ

ฉฬังคูเบกขา (อุเบกขาของพระขีณาสพคือตัตรมัชฌัตตตา)

พรหมวิหารูเบกขา (อุเบกขาในพรหมวิหารคือตัตรมัชฌัตตตา)

โพชฌังคูเบกขา (อุเบกขาในสัมโพชฌงค์คือตัตรมัชฌัตตตา)

วิริยูเบกขา (อุเบกขาคือความเพียร)

สังขารูเบกขา (อุเบกขาในฌานและวิปัสสนาคือปัญญา)

เวทนูเบกขา (อุเบกขาเวทนา)

วิปัสสนูเบกขา (อุเบกขาในวิปัสสนาคือปัญญา)

ตัตรมัชฌัตตูเบกขา (ตัตรมัชฌัตตเจตสิก)

ฌานูเบกขา (อุเบกขาในฌานคือตัตรมัชฌัตตตา)

ปาริสุทธิอุเบกขา (อุเบกขาทำสติให้บริสุทธิ์คือตัตรมัชฌัตตตา).


เหตุใดคนที่ได้เห็นศพเป็นประจำ หรือคนที่ผ่าตัดต่างๆ เห็นส่วนประกอบต่างๆ มีไม่น่า

ดูมากมาย แล้วก็ยังมีความเห็นว่าสวยงามอยู่ น่ารักน่าพอใจ ต่างกันการเจริญ

อสุภกรรมฐานอย่างไร ให้ผลต่างกันอย่างไร
การเห็นสิ่งต่างว่า สวย งาม เป็น ขณะนั้นเป็นโลภะ โลภะเป็นสังขารขันธ์ ขณะที่โลภะ

เกิดขึ้นก็มี เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ วิญญาณขันธ์ เกิดพร้อมกันเมื่ออบรมเจริญปัญญารู้

แจ้งสภาพะรรมตามความเป็นจริง จนบรรลุเป็นพระอนาคามีความเห็นว่างามก็จะดับ

ได้ ผู้ที่เห็นซากศพ แม้จะทำการผ่าตัดเนืองๆ แต่จิตเป็นอกุศลเพราะยังมีกิเลส

เพราะไม่พิจารณาโดยแยบคาย จึงยังเห็นกายว่างามอยู่ ส่วนผู้ที่เจริญอสุภกรรมฐาน

เนืองๆ เพราะพิจารณากายโดยแยบคาย จึงเห็นกายตามความเป็นจริงว่าไม่งาม
ถ้ายังไม่คุ้นเคยกับลักษณะของสภาพธรรมจริง ๆ ก็เป็นการสะสมการฟัง เพื่อที่

จะไม่หลงผิดว่าธรรมเป็นที่อื่น อย่างอื่น แต่จะมีความเข้าใจว่า มีแต่ธรรมะที่เรายัง

ไม่รู้จัก อย่างขณะนี้ ใครรู้บ้าง ถ้าไม่ฟังธรรมะว่ามีเห็น ก็กลายเป็นคนนั้น คนนี้ แต่

จริง ๆ แล้วไม่ได้เห็นคน ต้องมีสิ่งที่ปรากฏให้เห็นได้เป็นอย่างหนึ่ง เมื่อเห็น

เกิดขึ้นเมื่อไหร่ มีเพียงสิ่งที่ปรากฏให้เห็นได้เท่านั้นเอง แค่นั้นเอง แล้วจะเป็น

อย่างนี้ได้ไหมความเข้าใจของเรา จากการที่เห็นเป็นคนนั้นคนนี้ ก็เริ่มมีความ

เห็นถูกต้องว่า เห็นเพียงสิ่งที่สามารถปรากฏให้เห็นได้เท่านั้นเอง แล้วก็ดับไป



ต้องพิจารณาอย่างละเอียดจริง ๆ

เพราะว่าจิตเกิดดับอย่างรวดเร็วเหลือเกิน แล้วก็มีระดับ หลายขั้นทีเดียว

แม้แต่จิตที่เป็นญาณสัมปยุตต์ ซึ่งประกอบด้วยปัญญา

ก็มีหลายระดับ หลายขั้น

ตั้งแต่อย่างอ่อนที่สุด จนกระทั่งถึงคมกล้าที่สุด.


เพราะฉะนั้น

การอบรมเจริญปัญญา จึงต้องฟังเรื่องจิตเหล่านี้อย่างละเอียด

แล้วก็ต้องอบรมเจริญปัญญา

เพื่อที่จะรู้ถึงความละเอียดในเรื่องของจิต ที่ได้ยินได้ฟังด้วย.

ท่านชอบอ่านหนังสือประเภทไหน

ตามร้านหนังสือ หรือว่าที่บ้านของท่าน

มีตั้งแต่หนังสือพิมพ์ ไปจนกระทั่งหนังสือรายสัปดาห์ รายเดือน

มีหนังสือประเภทต่าง ๆ เป็นวิชาการต่าง ๆ เป็นเรื่องบันเทิงต่าง ๆ

แล้วแต่ฉันทะขณะนั้นเป็นอกุศลนะคะ จิตขณะนั้นไม่ได้ประกอบด้วยปัญญา

แต่แม้ในขณะที่เพียงจะอ่านหนังสือนี้

มีหนังสือหลายประเภท หลายเล่ม

โลภมูลจิตเกิด จึงต้องการที่จะอ่าน

ซึ่งก็แล้วแต่ฉันทะของท่าน ที่สะสมมาในทางใดทางหนึ่งที่เป็นอธิปติ

ในขณะนั้น ก็เป็นปัจจัยที่ทำให้เลือกหนังสือที่จะอ่าน

ตามความพอใจของแต่ละท่าน

นี้ก็เป็นชีวิติประจำวัน ตามความเป็นจริง.


ซึ่งถ้าศึกษาพระธรรมแล้ว สติเกิดระลึกได้

และถ้ามีหนังสือ ๒ เล่ม จะอ่านเล่มไหน

ขณะนั้น จะเห็นลักษณะของ ฉันทาธิปติ

ซึ่งเกิดขึ้นในขณะที่กำลังอ่านด้วยความเพลิดเพลินพอใจ.


หรือแม้แต่ในหนังสือพิมพ์ฉบับเดียวกัน

ก็มีหลายเรื่อง หลายหน้า ท่านเปิดหน้าไหนก่อน.?


บางท่าน อาจจะชอบโหราศาสตร์

พอเปิดหนังสือพิมพ์ ก็ดูทันทีว่าวันนี้เป็นยังไง

ในขณะนั้น จิตเป็นไปตามอธิปติปัจจัย

คือ ตามฉันทะ ตามความพอใจของท่าน.




เพราะฉะนั้น

นี้ก็เป็นชีวิติประจำวันจริง ๆ ที่จะเห็นว่าสำหรับ "อกุศลจิต"

คือ โลภมูลจิต มีฉันทะเป็นอธิปติปัจจัยก็ได้ มีวิริยะเป็นอธิปติปัจจัยก็ได้

หรือว่า มีจิตตะเป็นอธิปติปัจจัยก็ได้.


สำหรับ "โทสมูลจิต" ก็มีอธิปติปัจจัยด้วย

เพราะเหตุว่า ขณะที่เป็นโทสมูลจิต มีฉันทะเป็นอธิปติปัจจัยก็ได้

มีวิริยะเป็นอธิปติปัจจัยก็ได้ หรือ มีจิตตะเป็นอธิปติปัจจัยก็ได้.


แต่ว่าทางฝ่าย "อกุศล" นั้น

ไม่มีสามารถที่จะมี วิมังสา คือ ปัญญา เป็นอธิปติปัจจัยได้.!


หลายท่าน ก็ยังคงมีความเห็นว่าต้องโกรธ

จึงจะถูก จึงจะควร จึงจะดี.?

ขณะนั้น เป็นเพราะมีฉันทะ เป็นอธิปติปัจจัย

คือ มีความพอใจ ที่เห็นว่าควรจะโกรธ

ในขณะนั้นมีมั้ยคะ....ในชีวิตประจำวัน.?


บางคนไม่โกรธคนอื่น แต่ก็ถูกบอกว่าต้องโกรธสิ

ไม่โกรธได้ในขณะนั้น

จิตเป็นสสังขาริกก็ได้

ถ้าเกิดโกรธขึ้น เป็นฉันทาธิปติก็ได้ หากมีความเห็นว่าควรจะต้องโกรธ

หรือ (จิตเป็นสสังขาริก) ถูกชักจูงให้มีความเห็นอย่างนั้น.


เพราะฉะนั้น

สำหรับ อกุศลจิต ๑๒ ประเภท

ที่จะเป็น "สหชาตาธิปติปัจจัย" ได้นั้น มี ๑๐ ประเภท

เว้นโมหมูลจิต ๒ ประเภท.

เพราะฉะนั้น

ฉันทเจตสิก ไม่เกิดกับโมหมูลจิตทั้ง ๒ ประเภท.



ต้องมี วิริยะ ความพากเพียรอะไร

ที่จะให้เป็นโมหะ คือ ที่จะเป็นสหชาตาธิปติปัจจัย.?

..............ไม่มี.!


เพราะฉะนั้น

วิริยเจตสิก ก็ไม่เป็นสหชาตาธิปติปัจจัย

คือ ไม่เกิดกับโมหมูลจิตทั้ง ๒ ประเภทด้วย.




อำนาจของมัจจุราช

ความคิดเห็น

ประกาศล่าสุดในบอร์ดเดียวกัน

11 ปีที่ผ่านมา
guest Icon เกร็ดธรรมน่าสนใจ 1 2 อ่าน 949 13 ปีที่ผ่านมา
13 ปีที่ผ่านมา
guest Icon ความแตกต่างระหว่างทานกับจาคะ อ่าน 1,936 13 ปีที่ผ่านมา
13 ปีที่ผ่านมา
guest Icon ทานกับจาคะ อ่าน 853 13 ปีที่ผ่านมา
13 ปีที่ผ่านมา
guest Icon การบรรลุธรรมดุจแม่ไก่กกไข่ อ่าน 897 13 ปีที่ผ่านมา
13 ปีที่ผ่านมา
burana Icon อุตุกับเตโช อ่าน 847 13 ปีที่ผ่านมา
13 ปีที่ผ่านมา
burana Icon ลำดับองค์มรรค8 1 อ่าน 986 13 ปีที่ผ่านมา
13 ปีที่ผ่านมา
guest Icon เชิญสาธุชนมาฟังธรรม อ่าน 852 13 ปีที่ผ่านมา
13 ปีที่ผ่านมา
13 ปีที่ผ่านมา
13 ปีที่ผ่านมา