เกล็ดธรรมเรื่อง มโนธาตุและ มโนวิญญาณธาตุ

guest profile image guest

เกล็ดธรรมเรื่อง มโนธาตุและ มโนวิญญาณธาตุ


อุปัตติเหตุให้เกิด มโนธาตุ

          ๑. ปัญจทวาร                      ได้แก่ทวารทั้ง ๕ คือ ตา หู จมูก ลิ้น และกาย
 ๒. ปัญจารมณ์                     ได้แก่อารมณ์ทั้ง ๕ คือ รูป เสียง กลิ่น รส และ โผฏฐัพพะ
๓. หทยวัตถุ                       ได้แก่ หทยวัตถุรูป อันเป็นที่อาศัยเกิดแห่งจิตและเจตสิก
๔. มนสิการ                        มีความสนใจ
มโนธาตุ หมายถึงจิต ๓ ดวง อันได้แก่ ปัญจทวาราวัชชนจิต ๑ ดวง และ สัมปฏิจฉนจิต ๒ ดวง

 

อุปปัติเหตุให้เกิด มโนวิญญาณธาตุ

         ๑. มโนทวาร                        ได้แก่ ภวังคจิต ๑๙ ดวง
 ๒. อารมณ์ ๖                       ได้แก่ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และ ธัมมารมณ์
 ๓. หทยวัตถุ                        ได้แก่ หทยวัตถุ หรือไม่มีหทยวัตถุรูปก็ได้
๔. มนสิการ                         มีความสนใจ

         มโนวิญญาณธาตุ กล่าวเฉพาะในอเหตุกจิตนี้ ก็หมายถึงจิต ๕ ดวง อันได้แก่ สันตีรณจิต ๓ ดวง มโนทวาราวัชชนจิต ๑ ดวง และ หสิตุปปาทจิต ๑ ดวง
อนึ่ง เพื่อกันความสงสัย จิตทั้งหมดมี ๘๙ หรือ ๑๒๑ ดวงนั้น เมื่อหักทวิปัญจวิญญาณ ๑0 และ มโนธาตุ ๓
รวม ๑๓ ดวงออกแล้ว จะเหลือ ๗๖ ดวง หรือ ๑0๘ ดวง จิตที่เหลือทั้งหมดนี้เรียกว่า มโนวิญญาณธาตุทั้งนั้น
อุบัติเหตุ คือเหตุให้เกิดจิตต่างๆ ที่กล่าวมานี้ แต่ละจิตก็ต้องมีอุบัติเหตุครบทั้ง ๔ อย่าง จิตนั้นๆ จึงจะ
เกิดขึ้นได้ ถ้าขาดไปอย่างใดแม้แต่สักอย่างเดียว จิตนั้นๆ ก็จะเกิดไม่ได้เลย

 ปัญจทวาราวัชชนจิต ๑ ดวง สัมปฏิจฉนจิต ๒ ดวง รวม ๓ ดวงนี้ รู้ปัญจารมณ์ คือ รู้อารมณ์ ๕ อันได้แก่ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ
มโนทวาราวัชชนจิต ๑ ดวง สันตีรณจิต ๓ ดวง และหสิตุปาท ๑ ดวง รวมจิต ๕ ดวงนี้ รู้อารมณ์ ๖ คือ รู้ปัญจารมณ์ และธัมมารมณ์ ธรรมต่างๆ

 

แสดงอเหตุกจิต ๑๘ โดยวิถีจิต

๑. อตีตภวังค
๒. ภวังคจลนะ
๓. ภวังคุปัจเฉทะ  

ภวังคเก่า
ภวังคไหว
ภวังคขาด

รวม ๓ ดวงนี้ เป็นภวังคจิตและเป็นวิบาก

๔.ปัญจทวาราวัชชนะ

 เป็นปัญจทวาราวัชชนจิต ๑ ดวง พิจารณาอารมณ์ที่มากระทบ

 

๕. ปัญจวิญญาณ

เป็นทวิปัญจวิญญาณ ๑0 ดวง ดวงใดดวงหนึ่งตามควร
แก่การรับรู้อารมณ์ที่มากระทบนั้น

 

๖. สัมปฏิจฉนะ

เป็นสัมปฏิจฉนจิต ๒ ดวง ดวงใดดวงหนึ่งรับ
อารมณ์ที่ปัญจวิญญาณรู้แล้วนั้น ตกทอดให้แก่สันตีรณะ

 

๗. สันตีรณะ                

เป็นสันตีรณะจิต ๓ ดวง ดวงใดดวงหนึ่งไต่สวน
อารมณ์ว่าชั่วหรือด

 

๘. โวฏฐัพพนะ             

เป็นมโนทวาราวัชชนจิต ๑ ดวง ทำหน้าที่ตัดสิน
อารมณ์และกำหนดให้เป็น อกุศล กุศล หรือกิริยา

 

๙.  ชวนะ             
๑0. ชวนะ               
๑๑. ชวนะ
๑๒. ชวนะ             
๑๓. ชวนะ                
๑๔. ชวนะ                
๑๕. ชวนะ             

จิตที่เสพอารมณ์ คือ สำเร็จกิจเป็นอกุศล กุศล หรือ
กิริยา กล่าวโดยเฉพาะในอเหุตกจิตนี้ ชวนะ ก็ได้แก่
หสิตุปปาทจิต ๑ ดวง เป็นผู้เสพอารมณ์ให้สำเร็จกิจ
เป็นกิริยา

 

๑๖. ตทาลัมพณะ                   
๑๗. ตทาลัมพณะ

เป็นสันตีรณจิต ๓ ดวง ดวงใดดวงหนึ่ง
รับรู้อารมณ์ที่เหลือจากชวนะ

 

         ครบ ๑๗ แล้ว จิตก็เป็นภวังค ต่อไปใหม่อีก
วิถีจิตนี้มีแสดงโดยละเอียดในปริจเฉทที่ ๔ ในที่นี้ยกมากล่าวโดยย่อพอให้รู้เค้า เพื่อจะได้เข้าใจ อเหตุกจิต ดีขึ้นอีกบ้าง

ความคิดเห็น

ประกาศล่าสุดในบอร์ดเดียวกัน

11 ปีที่ผ่านมา
guest Icon เกร็ดธรรมน่าสนใจ 1 2 อ่าน 948 13 ปีที่ผ่านมา
13 ปีที่ผ่านมา
guest Icon ความแตกต่างระหว่างทานกับจาคะ อ่าน 1,934 13 ปีที่ผ่านมา
13 ปีที่ผ่านมา
guest Icon ทานกับจาคะ อ่าน 852 13 ปีที่ผ่านมา
13 ปีที่ผ่านมา
guest Icon การบรรลุธรรมดุจแม่ไก่กกไข่ อ่าน 896 13 ปีที่ผ่านมา
13 ปีที่ผ่านมา
burana Icon อุตุกับเตโช อ่าน 846 13 ปีที่ผ่านมา
13 ปีที่ผ่านมา
burana Icon ลำดับองค์มรรค8 1 อ่าน 984 13 ปีที่ผ่านมา
13 ปีที่ผ่านมา
guest Icon เชิญสาธุชนมาฟังธรรม อ่าน 851 13 ปีที่ผ่านมา
13 ปีที่ผ่านมา
13 ปีที่ผ่านมา
13 ปีที่ผ่านมา