สั่นแบบไหน? ถึงจะใช่พาร์กินสัน
อยู่ดีๆ ก็มีอาการมือสั่น สั่นแบบที่ไม่ใช่อากาศหนาว เพราะสำหรับประเทศไทยคงยาก สั่นขณะอยู่ในท่าพัก สั่นขณะอยู่เฉยๆ แต่อาการจะดีขึ้นเมื่อเคลื่อนไหวร่างกาย คุณเคยเป็นแบบนี้หรือไม่? ถ้าเคยเป็นอาจต้องรีบไปพบแพทย์แล้วล่ะ เพราะอาการแบบนี้อาจเป็นขั้นเริ่มต้นของโรคพาร์กินสันนั่นเอง
โรคพาร์กินสัน คืออะไร? อธิบายง่ายๆ ก็คือ โรคที่เกิดจากความเสื่อมของสมอง และระบบประสาทมักพบมากในผู้สูงอายุ และปัจจุบันยังไม่มีวิธีที่รักษาให้หายขาดได้ โรคพาร์กินสัน เป็นโรคที่พบเป็นอันดับ 2 รองจากโรคอัลไซเมอร์ ในผู้ที่มีอายุเกิน 65 ปีขึ้นไป เพราะเกิดการเสื่อมของสมอง เนื่องจากเซลล์ก้านสมองส่วนกลางมีความผิดปกติ ทำให้สารสื่อประสาทที่ชื่อว่าโดพามีน ซึ่งมีหน้าที่ควบคุมการเคลื่อนไหวของร่างกายลดลง ผู้ป่วยโรคพาร์กินสันจึงมีปัญหาเรื่องการเคลื่อนไหวที่ผิดปกติซึ่งเป็นอาการที่สำคัญของโรคนี้
แล้วอาการของโรคพาร์กินสัน เป็นอย่างไร?
สังเกตได้ง่ายๆ หากคุณมีอาการของโรคนี้ โดยระยะแรกจะมีอาการเคลื่อนไหวช้าลง ตัวแข็งเกร็ง เดินลากขา เดินซอยเท้า ไม่แกว่งแขน พูดเสียงเบา ช้าลงด้วย หน้านิ่ง ซึ่งการตรวจโรคพาร์กินสันยังต้องใช้การซักถาม และการตรวจร่างกายเป็นส่วนใหญ่ เนื่องจากการเอกซเรย์ หรือการทำ MRI เป็นเพียงการคัดกรองโรคอื่นๆ ออกไปเท่านั้น ทั้งยังมีค่าใช้จ่ายที่แพงมากอีกด้วย สภากาชาดไทยพบว่าคนไทยที่ป่วยเป็นโรคพาร์กินสัน มีจำนวน 425 คน ต่อประชากร 100,000 คน ซึ่งพบมากในแถบภาคกลางอีกด้วย
หากรู้ตัวว่าเป็นโรคพาร์กินสันเร็วขึ้น โอกาสที่จะรักษาให้หายจากโรคก็จะมีมากขึ้น จริงหรือไม่?
ขอบอกได้เลยว่าจริง เพราะหากเรารู้ตัวเร็วว่าเป็นโรคนี้ และได้รับการดูแลรักษาตั้งแต่ระยะเริ่มต้น ทั้งการเคลื่อนไหวร่างกาย รวมถึงความผิดปกติต่างๆ ไม่ว่าจะด้วยวิธีการปรับยา ควบคุมเรื่องอาหาร และการออกกำลังกาย ก็จะทำให้คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยดีขึ้นทั้งทางร่างกายและจิตใจด้วย ซึ่งการนำผู้ป่วยโรคพาร์กินสันมาพบแพทย์ตั้งแต่เนิ่นๆ เป็นสิ่งที่ควรทำมากๆ เพราะปัจจุบันนี้ มีวิธีการรักษาที่ทันสมัย ทั้งการรักษาด้วยยา หรือการผ่าตัดฝังขั้วไฟฟ้าเพื่อกระตุ้นสมองหากเป็นในระยะรุนแรงที่ใช้ยาไม่ได้ผล ก็จะช่วยให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นได้
การดูแลผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน ทำอย่างไรได้บ้าง?
1. สร้างความกระตือรือร้น คือ การทำกิจกรรมที่ผู้ป่วยชื่นชอบทำแล้วมีความสุข
2. เริ่มสร้างกำลังใจให้ตนเอง คือ ผู้ป่วยต้องมีความเชื่อมั่น เชื่อใจ ในตัวผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ ครอบครัว และเพื่อน
3. รู้จักเรียนรู้เกี่ยวกับโรคพาร์กินสันอย่างถ่องแท้ ยิ่งผู้ป่วยมีความรู้เกี่ยวกับโรคพาร์กินสันมากขึ้นเท่าใดก็จะทำให้ผู้ป่วยสามารถเข้าใจ และรู้จักที่จะรับมือกับโรคได้มากขึ้น
4. การผ่อนคลายจิตใจและออกกำลังอย่างเป็นประจำ นอกจากการรับประทานอาหารที่หลากหลายและประโยชน์ต่อสุขภาพแล้ว ผู้ป่วยยังจำเป็นต้องหล่อเลี้ยงร่างกายและจิตใจ ด้วยการพักผ่อนให้เพียงพอ หลีกเลี่ยงสภาวะความตึงเครียดอีกด้วย
5.ปรับปรับปรุงสภาพแวดล้อมภายในบ้านให้เหมาะสม โดยปรับให้เหมาะสมตามสภาพอาการและเพื่อความปลอดภัยต่อการใช้ชีวิตประจำวัน
6.พบแพทย์ตามนัดอย่างสม่ำเสมอ
จากที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ การเป็นโรคพาร์กินสัน ยังไม่มีวิธีการรักษี่หายขาด แต่หากเริ่มรักษาเร็ว และถูกวิธีก็จะสามารถใช้ชีวิตอย่างคนปกติได้ ที่สำคัญการเป็นกำลังใจให้กับผู้ป่วยโรคพาร์กินสันถือเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด
ข้อมูลเพิ่มเติม : เริ่มเล่นสล็อตออนไลน์